คลังแสงแห่งธรรม
สมาธิ

สมาธิ : เรื่องที่ ๑๑ : วิธีเจริญฌาน ๔ ( ๒ )
โดย : พระอริยคุณาธาร สำนักปฏิบัติธรรมเขาสวนกวาง


วิธีการเจริญฌาน ซึ่งเป็นการอบรมจิตนั้น ท่านมิได้จำกัดกาลเวลาและอิริยาบถ คือให้ทำ ได้ทุกเมื่อ และทุกอิริยาบถ คือยืน เดิน นั่ง นอน แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีวิธีการจำเพาะกาลและ อิริยาบถอยู่ด้วย ซึ่งเราจำต้องศึกษาให้รู้ไว้ เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีนั้นๆ

๑. วิธีการเกี่ยวกับเวลา ชีวิตของคนเราเนื่องอยู่กับเวลา คือชีวิตจะต้องผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไปทุกระยะวินาที สิ่งที่ผ่านมาสัมผัสเข้ากับ ตา หู จมูกลิ้น กาย และใจของเรานั้น ท่านเรียกว่า อารมณ์ เป็นสิ่งที่มี อยู่เต็มโลกและจะต้องประกอบกับชีวิตของเราเสมอไปเวลาที่สิ่งเหล่านี้ ผ่านมาสัมผัสทวาร คือ ตา หู ฯลฯ ของเรานั่นแหละ เป็นเวลาที่สำคัญที่สุด ถ้านายประตู คือ สติ เป็นผู้รอบคอบระมัดระวังดี ก็ไม่เกิดโทษ แต่ถ้านายประตูเผลอ ไม่ระมัดระวังให้ดี ก็จะ เกิดโทษขึ้นได้ โทษที่เกิดขึ้น ก็มีทั้งอย่างอ่อนๆ และอย่างร้ายแรง ทำให้จิตผู้เป็นเจ้าของเสีย คุณภาพไป ถ้าอารมณ์ที่ผ่านมาสัมผัส เป็นสิ่งที่จะนำใจไปทางบุญกุศล ย่อมทำใจใให้เกิดมี คุณภาพดีขึ้นเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงกำหนดวิธีการเกี่ยวกับเวลาไว้ มีทั้งวิธีการแก้วิธีการป้องกัน และวิธีการส่งเสริม

วิธีการแก้

๑) รีบปฏิบัติการที่ตรงกันข้ามกับโทษนั้นทันที เช่นความกำหนัดเกิดขึ้น เพราะเหตุเห็นหรือ นึกคิดอารมณ์ที่สวยงาม เป็นต้น ก็รีบสลัดอารมณ์นั้นเสีย แล้วคิดถึงสิ่งไม่สวยไม่งาม หรือรีบ สงบใจให้ได้ ถึงขั้นเอกัคคตา ความกำหนัดก็จะสงบไป ฯลฯ ๒) รีบเปลี่ยนอิริยาบถทันที เช่นนั่งอยู่ เกิดอารมณ์ขุ่นหมองขึ้นในใจโดยเหตุใดเหตุหนึ่ง พึงลุก ยืนหรือเดินเสีย อารมณ์เช่นนั้นก็จะสงบไป ๓) รีบทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งทันที เช่นอยู่ว่างๆ ความรู้สึกฝ่ายต่ำเกิดขึ้นพึงรีบทำกิจ การงงาน อย่างใดอย่างหนึ่งเสีย ใส่ใจอยู่กับกิจที่ทำนั้น ความรู้สึกฝ่ายต่ำก็จะตกไปจากจิตทันที

วิธีการป้องกัน

สำรวมอินทรีย์ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ( อินทรียสังวร ) ด้วยการ...
๑) ทำสติควบคุมอินทรีย์เสมอทุกขณะไป ( = สติสังวร )
๒) ทำความรู้เท่าอารมณ์ให้ทันท่วงที ( = ญาณสังวร )
๓) ทำความอดทนต่อารมณ์ที่สัมผัส ( = ขันติสังวร )
๔) ทำความพากเพียรละกิเลสล่วงหน้าไว้ ( = วิริยสังวร )

วิธีการส่งเสริม

๑) รีบประคับประคองความรู้สึกฝ่ายสูง ให้ดำเนินไป จนสุดกระแสของมัน ถ้าสามารถต่อ กระแสความรู้สึกนั้น ให้สูงยิ่งๆขึ้นได้ ก็ให้รีบทำทันที อย่าละโอกาส
๒) รีบทำกิจตามความคิดฝ่ายสูงที่เกิดขึ้นนั้น ให้สำเร็จไปโดยเร็ว อย่าผัดเวลาไป เพราะจิต เป็นธรรมชาติกลับกลอกไว อาจละทิ้งความคิดที่ดีนั้นในภายหลังได้
๓) รีบทำความพากเพียรอบรมจิต ในเวลาที่จิตปลอดโปร่ง จะได้ผลดีรวดเร็วเพราะเวลา เช่นนั้น ท่านว่าเป็นเวลามารให้โอกาส ถ้าปล่อยให้เวลาเช่นนั้นผ่านไปเปล่าๆ จะเสียใจภายหลัง
๔) รีบทำความพากเพียรให้ก้าวหน้าเรื่อยไป ในเมื่อได้สมาธิขั้นต้นๆแล้ว อย่าวางใจและทอด ธุระเสีย และพึงระมัดระวังอันตรายของสมาธิด้วย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย