คาถา

1.บทบูชาพระรัตนตรัยี

- บาลี

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
พุทฺธํฺ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
ธมฺมํ นมสฺสามิ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สงฺฆํ นมามิ

- อ่าน

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

- แปล

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์
หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค
:พระพธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
:พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์

2. บทนมัสการพระพุทธเจ้า

นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ทวน ๓ ครั้ง)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

3.บทพระพุทธคุณ
- บาลี

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ

- อ่าน

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

- แปล

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้แจกจ่ายธรรม
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ(ความรู้และความประพฤติ)
เสด็จไปดี(คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม

- บทพระพุทธคุณ (ทำนองสรภัญญะ)

  องค์ใดพระสัมพุทธ
ตัดมูลกิเลสมาร
  หนึ่งนัยพระทัยท่าน
ราคี บ พันพัว
  องค์ใดประกอบด้วย
โปรดหมู่ประชากร
  ชี้ทางบรรเทาทุกข์
ชี้ทางพระนฤพาน
  พร้อมเบญจพิธจัก-
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล
  กำจัดน้ำใจหยาบ
สัตว์โลกได้พึ่งพิง
  ข้าฯ ขอประณตน้อม
สัมพุทธการุญ-
สุวิสุทธสันดาน
บ มิหม่นมิหมองมัว
ก็เบิกบานคือดอกบัว
สุวคนธกำจร
พระกรุณาดังสาคร
มละโอฆกันดาร
และชี้สุขเกษมศานต์
อันพ้นโศกวิโยคภัย
ษุจรัสวิมลใส
ก็เจนจบประจักษ์จริง
สันดานบาปแห่งชายหญิง
มละบาปพำเพ็ญบุญ
ศิระเกล้าบังคมคุณ
ญภาพนั้นนิรันดรฯ

4. บทพระธรรมคุณ
- บาลี

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก
อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ

- อ่าน

สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฺฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

- แปล

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้...

- บทพระธรรมคุณ (ทำนองสรภัญญะ)

  ธรรมะคือคุณากร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
  แห่งองค์พระศาสดาจารย์
สว่างกระจ่างใจมล
  ธรรมใดนับโดยมรรคผล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
  สมญาโลกอุดรพิศดาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
  อีกธรรมต้นทางครรไล
ปฏิบัติปฏิยัติเป็นสอง
  คือทางดำเนินดุจคลอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
  ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์
ด้วยจิตและกายวาจาฯ
ส่วนชอบสาคร

ส่องสัตว์สันดาน

เป็นแปดพึงยล

อันลึกโอฬาร

นามขนานขานไข

ให้ล่วงลุปอง

นบธรรมจำนง
5. บทพระสังฆคุณ

- บาลี

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย
ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ

- อ่าน

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

- แปล

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั้นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

- บทพระสังฆคุณ (ทำนองสรภัญญะ)

  สงฆ์ใดสาวกศาสดา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
  เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
ระงับและดับทุกข์ภัย
  โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร
สะอาดและปราศมัวหมอง
  เหินห่างทางข้าศึกปอง
ด้วยกายและวาจาใจ
  เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-
และเกิดพิบูลย์พูนผล
  สมญาเอารสทศพล
อเนกจะนับเหลือตรา
  ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-
นุคุณประดุจรำพัน
  ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์
อุดมดิเรกนิรัติศัย
  จงช่วยขจัดโพยภัย
จงดับและกลับเสื่อมสูญฯ
รับปฏิบัติมา

ลุทางที่อัน

ปัญญาผ่องใส

บ มิลำพอง

ศาลแด่โลกัย

มีคุณอนนต์

พกทรงคุณา-

พระไตรรัตน์อัน

 อันตรายใดใด
6.บทชยสิทธิคาถา

- บาลี

พาหํุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ คฺรีเมขลํ
อุทิตโฆรสเสนมารํ ทานาทิธมฺมวธินา ชิตฺวา
มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยสิทฺธิ นิจฺจํ

- อ่าน

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง
อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวะธินา ชิตะฺวา
มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง

- แปล

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์
ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน
มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคีรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว
ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น และด้วยเดชาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

- บทชยสิทธิคาถา (ทำนองสรภัญญะ)

   ปางเมื่อพระองค์ประระมะพุท-
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา
   ขุนมารสหัสสะพหุพา-
ขี่คีรีเมขะละประทัง
   แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์
รุมพลพหลพยุหปาน
   หวังเพื่อผจญวะระมุนิน-
พระปราบพหลพยุหะมา
   ด้วยเดชะองค์พระทศพล
ทานาธิธรรมะวิธิกูล
   ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา
ขอจงนิกรพละสยาม
   ถึงแม้จะมีอริวิเศษ
ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ
ธะวิสุทธะศาสดา
ธิ ณ โพธิบัลลังก์
หุวิชาวิชิตขลัง
คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
กละคิดจะรอนราญ
พระสมุทรทะนองมา
ทะสุชินะราชา
ระมะเลืองมะลายสูญ
สุวิมละไพบูลย์
ชนะน้อมมโนตาม
และนมามิองค์สาม
ชยะสิทธิทุกวาร
พละเดชะเทียมมาร
อริแม้นมุนินทรฯ
 





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย