"นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๑๑. "บุพกรรมของปุริโสเปรต ๑,๐๐๐ ตน/ช้างสารใหญ่"

 วิริยะ12  

 "นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๑๑. "บุพกรรมของปุริโสเปรต ๑,๐๐๐ ตน/ช้างสารใหญ่"
โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร

ตอนที่ ๑๑. "บุพกรรมของปุริโสเปรต ๑,๐๐๐ ตน/ช้างสารใหญ่

"บุพกรรมของปุริโส เปรต ๑,๐๐๐ ตน/นักเลงทั้งหลาย"


.. ต่อแต่นั้นนายพรานก็เลย กราบเล่าเหตุการณ์ให้พระพุทธเจ้าฟัง

ข้าแต่พระองค์เจ้า ผู้เป็นโลกวิทูรู้แจ้งโลกทั้งสาม "ข้าพระองค์เดินผ่านทางมานะ (แสดงแต่ปลายทางมานะ) มาพบเปรตทั้งหลายประมาณ ๑,๐๐๐ ตน ชายล้วน ๆ ถือตะบองเหล็ก ตีศรีษะกันอยู่เหมือนคนเมา ๗ วัน ๗ คืน วันที่ ๘ หยุดตีกัน กินข้าวปลาอาหารอิ่มหนำสำราญนี่เป็นเพราะบุพกรรมอะไรหนอ พระเจ้าข้า"

ดูก่อนอุบาสก เปรตทั้งหลายเหล่านี้ "แต่ปางก่อนโน้น ครั้งศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสโปโน่้น เป็นคนชาวบ้านชาวเมืองนะ เป็นนักเลง ชนไก่ แข่งม้า กัดปลา นั่นแหละ กินสุราเมรัย" อยู่เป็นนิจ ครั้นดับจิตแล้ว "ไปตกโลหกุมภีนรกแสนปี พ้นจากนั้นเศษกรรมยังไม่สิ้น มาเกิดเป็นเปรต ทำบาปหยาบช้าลามกอย่างนั้น นั่นแหละ โทษกินสุราเมรัย โทษชนนก ชนไก่ กัดปลา แข่งม้า ทุกอย่าง" นั่นแหละ กรรมชั่วช้าลามกติดตามให้ผลเป็นอย่างนั้น

ที่นี้ ที่มีข้าวปลาอาหารกินอิ่มนั้น "วันหนึ่งเป็นวัน ๘ ค่ำ พระราชาตั้งกฎหมายขึ้น ถ้าใครไม่เลิกละทำบาปหยาบช้าวัน ๘ ค่ำ ๑๔ , ๑๕ ค่ำ นั้นจะตัดคอทิ้งไม่เอาไว้ รกโลกรกสงสาร" ประพฤติทางไม่ดี "นักเลงทั้งหลายเหล่านั้น ก็กลัวโทษอาญา เลยพากันเข้าวัด เจริญสมณธรรมบำเพ็ญทาน นั่นแหละ ผลการทำดีเท่านั้นแหละก็ติดตามให้ผลเป็นสุขชั่วระยะ" แก้กันอย่างนั้น บาปกับบุญ ..

"บุพกรรมของช้างสารใหญ่/นักกินสินบน"

.. ต่อแต่นั้น ข้าพระองค์ก็เดินทางผ่านมาอีก "มาพบกุญชรช้างสารใหญ่ กินแต่หนามไผ่หนามหวาย ยอกปากยอกลิ้น(หนามแทงลิ้นแทงปาก) อยู่เป็นทุกข์หลายปีแล้ว นี่เป็นเพราะกรรมอันใดหนอ พระเจ้าขา"

ดูก่อนอุบาสก "ช้างสารใหญ่ตัวนี้ ในศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปโน้น เป็นตุลาการพิพากษา ตัดสินไม่ยุติธรรม เห็นแก่สินจ้างสินบน ทางใดให้เงินหลายถึงผิดก็ให้เป็นชนะ ทางใดให้เงินน้อยถึงถูกก็ให้เป็นแพ้" นั่นแหละไม่ยุติธรรม

กินแต่สินจ้างสินบน "ตายจากนั้นแล้วไปตกมหาตาปนะนรกแสนปี" พ้นจากนั้นมา "เศษกรรมยังไม่สิ้นมาเสวยวิบากกรรมชั่ว ยอกปากยอกลิ้นเลือดอาบหน้าอยู่เป็นนิจ" นี่แหละโทษทำไม่ดี ..

(มีต่อ ตอนที่ ๑๒. "บุพกรรมของหญิงเปรต ๕๐๐ ตน/งูเหลือมใหญ่/พระราชา) 


5,588







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย