การรักษาจิตเป็น "ศีลธรรม" : ท่านพ่อลี ธัมมธโร

 จำปาพร  

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

...

ถ้าจะกล่าวโดย"สิกขาบท"โดย"พยัญชนะ" ก็ตาม
บัญญัติลงในศีล ๕,๘,๑๐,๒๒๗ "ต่างๆกัน"
ถ้าจะกล่าวโดย "ความมุ่งหมาย" ก็ "เหมือนกัน"
คือ รวมที่ "รักษากายวาจา"

ถ้าจะเพิ่มให้เป็น "ศีลธรรม" ขึ้นก็ต้อง "รักษาจิต"
ด้วยศีล ๕,๘,๑๐,๒๒๗ ก็ดี ถ้ารักษากันเพียงกายวาจา
ก็ไม่ใช่ศีลธรรม เป็น "พาหิรศีล" (ศีลภายนอก)
คือ กันมนุษย์ไม่ให้เป็นสัตว์
หรือลอกคราบสัตว์ให้มาเป็นคนเท่านั้น

ถ้าเรารักษาจิตด้วยก็เท่ากับได้ทำคนให้เป็นเทวดา
คือ พุทธศาสนาของเราต้องมี "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์"
จึงจะเป็น "รัตนตรัย" ซึ่งเกี่ยวถึงศีลธรรมด้วย

ศีล ๒ ประการนี้มีเวลาทำได้ทุกคนแต่อาจทำได้บางขณะ
ถึงจะทำได้แค่ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้นก็ยังดี
ไม่มีการล่วงในกรรมบถ ๑๐ ถ้าใครมี
ก็เปรียบเหมือนได้ลอกคราบจากคนมาเป็นเทพยดา

ถ้าเรารักษาให้ยิ่งกว่านี้ คือ
พร้อมทั้ง "กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม"ด้วยก็ยิ่งดี
แต่ "มโนกรรม" นี้ เรา "มโนกรรม ๑" เท่านั้น
คือ ไม่ให้ตกไปใน "กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก"
ทั้ง ๓ นี้ให้เป็นตัวมโนกรรม ๑ เป็นลักษณะมโนกรรม
คือ จิตเป็นสมาธิได้อารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตารมณ์)

...

คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน, พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.
โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒. หน้า ๑๗๐-๑๗๑

5,576







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย