ภาพกุฏิ ที่พัก
# 1 / เนินฆ้อ / 28 ก.พ. 2554 เวลา 22:19 น.
กุฏิที่พักรุ่นแรกๆ
# 2 / เนินฆ้อ / 28 ก.พ. 2554 เวลา 22:19 น.
บริเวณศูนย์วิปัสสนาภาวนาพระพุทธบาทเนินฆ้อ
# 3 / เนินฆ้อ / 28 ก.พ. 2554 เวลา 22:21 น.
เชิญชมภาพที่เพิ่มเติมได้ที่เวบลิ้งค์นี้นะครับ
http://www.free-webboard.com/view.php?nm=asoka2552&qid=51&old=1
# 4 / เนินฆ้อ / 4 มี.ค. 2554 เวลา 21:15 น.
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบอะไร และนำอะไรมาสอน?
สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอนคือ อริยสัจทั้ง 4 ประการ
ถ้าใครศึกษาและเข้าใจอริยสัจ 4 อย่างละเอียด ถี่ถ้วน ลึกซึ้ง ดีแล้ว จะเหมือนดั่งได้ศึกษาพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ การปฏิบัติตามพุทธวัจจนะนั้นจักไม่เป็นเรือ่งยากเลย
อริยสัจทั้ง 4 ประการจึงเปรียบเหมือนหัวใจของพระพุทธเจ้า หรือหัวใจของการค้นพบของพระพุทธเจ้า
# 5 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 08:15 น.
ทิศทางและเป้าหมายในการศึกษาพระพุทธศาสนา
# 6 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 08:18 น.
เส้นทางเข้าสู่นิพพาน
# 7 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 08:19 น.
ยาก ๕ อย่าง
๑.การเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก โลกใบนี้จะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาทั้งหมด
๕ พระองค์ เกิดมาแล้ว ๔ พระองค์ คือพระพุทธเจ้า กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสัปโป
โคตโม ยังคงเหลืออีก ๑ พระองค์คือ พระศรีอริยเมตตัยพุทธเจ้า โลกบางใบมี
พระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว บางใบก็ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเลย เป็นโลกมืด
๒.การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ผู้ที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นจิตวิญญาณที่ได้รักษาศีล ๕ ไว้ดีในอดีตชาติ
๓.เกิดเป็นมนุษย์แล้วได้พบพระพุทธศาสนา คือมีโอกาสที่จะได้ฟังข้อธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเกิดในเมืองพุทธ หรือสถานที่ที่ศึกษาพุทธศาสนาได้
๔.พบพระพุทธศาสนาแล้วได้ฟังข้อธรรม คำสอนอันถูกต้องของสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนสามารถ เข้าใจนำไปปฏิบัติจริงได้
๕.ได้ลงมือปฏิบัติจริงข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนสามารถพาตนเองเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ที่สงบเย็นได้
# 8 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:49 น.
ทาง 5 เส้น
# 9 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:51 น.
บุคคล 5 จำพวก
# 10 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:52 น.
เรามาจากไหนแล้วจะไปสู่ที่ใด
# 11 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:53 น.
เรามาจากไหนแล้วจะไปสู่ที่ใด 2
# 12 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:56 น.
เหตุ ปัจจัย นิพพาน
# 13 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 18:58 น.
แผนภูมิทางออกสู่นิพพาน
# 14 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:00 น.
โอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนของพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสรุปไว้
๑.สัพพปาปัสสะอะกรณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง ละชั่ว
๒.กุศลัสสูปสัมปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำดี
๓.สะจิตตะปริโยทปะนัง การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ด้วยวิปัสสนาภาวนา
# 15 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:02 น.
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
ทางได้บุญ ๑๐ วิธี เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงต้องรู้ แบ่งออกเป็น ๓ หมวด
หมวดทาน
๑.ทาน การให้ปันสิ่งของของตนเองให้กับผู้อื่น (เพื่อสละตัวกู ของกู)
๒.ปัตติทาน การแผ่ส่วนบุญ (แบ่งความสุขที่ได้รับจากบุญให้ผู้อื่น)
๓.ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาส่วนบุญของตนเองและผู้อื่น
หมวดศีล
๔.ศีล การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ
๕.อัปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (ฝึกหัดสละความเป็นตัวตน)
๖.เวยยาวัจจะ การน้อมรับใช้ผู้อื่น (ฝึกวางตัวตนไปช่วยผู้อื่น)
หมวดภาวนา
๗.ธัมมสวนะ การฟังธรรมตามกาล
๘.ธัมมเทศนา การแสดงธรรม
๙.ภาวนา การทำสมถะภาวนา
๑๐.ทิษฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้อง ด้วยวิปัสสนาภาวนา
# 16 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:03 น.
วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
หาที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก
ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้
ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้
สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖
ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด
เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง
อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้
พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทาน
ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็น
ตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นกามฉันทะ โลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้
เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไป
ทั้งวัน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็น
อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่
สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ
สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖
ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด
เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง
อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้
พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทาน
ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็น
ตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นกามฉันทะ โลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้
เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไป
ทั้งวัน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็น
อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่
สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ
สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖
ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด
เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง
อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้
พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทาน
ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็น
ตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นกามฉันทะ โลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้
เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไป
ทั้งวัน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็น
อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่
สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ
# 17 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:06 น.
ต่อ
สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖
ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้
พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นกามฉันทะ โลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้
เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไปทั้งวัน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ
# 18 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:08 น.
ต่อ
ความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่
มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ จนทำให้ความเห็นผิดเป็นอัตตา
ตัวกู ของกู ผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไป
จากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจ
ของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตนเอง
# 19 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:09 น.
มีแต่เหตุ ปัจจัย และผล ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ว่างเปล่าไร้แก่นสาร
# 20 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:12 น.
วิธีการภาวนา อนัตตา
อนัตตา เป็นสุดยอดแห่งธรรมและคำบริกรรม ใครพิจารณาเห็นจริงจนใจยอมรับ ความสุข มรรค ผล นิพพาน จักเกิดตามมาทันที
วิธีภาวนา อนัตตา มี ๔ ขั้นตอน
๑.บริกรรม อนัตตา ตามลมหายใจเข้าออก จนชำนาญและขึ้นใจ (ขั้นฝึกสติ สมาธิ ชำระนิวรณ์ ๕ )
๒. บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ เช่นเสียง เป็นปัจจุบัน จิตรู้ที่เสียงแล้วบริกรรม อนัตตา ตามทันที อารมณ์ใหม่เกิดขึ้นเช่น เจ็บ จิตรู้ที่เจ็บ บริกรรม อนัตตา ตามทันที คิด นึก จิตรู้ที่ คิด นึก บริกรรม อนัตตา ตามทันที
(ขั้นฝึกสติให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์)
๓.บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์แล้ว สังเกต พิจารณาอารมณ์ปัจจุบันนั้นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายของการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา หรือความบังคับไม่ได้ของอารมณ์นั้นๆ จนใจยอมรับความจริง
(ขั้นฝึกหัดพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของอารมณ์)
๔. ทิ้งคำบริกรรม นั่งเฉยๆ ตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ให้เห็น เข้าใจ ยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ สะสมความเข้าใจและยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์ไว้ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส
(ขั้นเจริญวิปัสสนาภาวนาจนใจยอมรับอนัตตา)
๒
เมื่อสะสม พอกพูนความยอมรับอนัตตาจนถึงที่อัน
สมควรแล้ว ความสุข มรรคญาณ ผลญาณ และนิพพาน จักเกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติ
แม่แบบสำคัญที่จะช่วยให้เราเห็น เข้าใจ จนจิตยอมรับ อนัตตา คือ ลมหายใจ เข้า - ออก ของเราทุกคน
ถ้า สงสัยวิธีการปฏิบัติ ให้กลับมาลองฝึกหัด สังเกต พิจารณาลมหายใจของตนเองให้ดี เราจะได้พบ รู้จัก เข้าใจ และยอมรับ ความเป็น อนัตตา ได้จากแบบฝึกหัดตัวอย่าง หรือตันแบบอันสำคัญนี้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปประยุกต์ ใช้กับ อารมณ์ ความรู้สึก สัมผัส ความนึกคิดต่างๆ ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน
การ ฝึกหัดภาวนาอนัตตาทั้ง ๔ ขั้นตอนนี้ให้ฝึกหัดไปทีละขั้นตอน จนชำนาญ แล้วจักเกิดผลดีแก่ชีวิต จิตใจ เข้าถึงธรรมได้โดยง่ายและลัดสั้น ขอให้พากันเกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นอนัตตา เข้าถึงธรรม เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ทันปิดประตูอบายได้ในชาตินี้ ทุกท่านทุกคนเทอญ
เหตุผลที่อนัตตาเป็นสุดยอดแห่งธรรม
๑.ในวิปัสสนาปัญญาหรือสามัญลักษณะ ๓ พระพุทธเจ้าทรงสรุปไว้ว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา = สังขารความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
สัพเพสังขารา ทุกขา = สังขารความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้
(ต้องเปลี่ยนแปลง)
๓
สัพ เพธัมมา อนัตตา ติ = ธรรมทั้งหมดทั้งปวง(ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร) เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์
บุคคล ตัวตน เรา เขา บังคับบัญชาไม่ได้
เมื่อ พิจารณาตามสภาวธรรมและการปฏิบัติจริงแล้ว ทั้งอนิจจังและทุกขังนั้น ควบคุม บังคับบัญชาไม่ได้ จึงไปขมวดยอดรวมลงที่ อนัตตา ทั้งสิ้น
ผู้รู้อนิจจัง อาจไม่รู้ถึง ทุกขังและ อนัตตา
ผู้รู้ ทุกขัง อาจรู้ถึง อนิจจัง แต่ไม่รู้ถึงอนัตตา
ผู้ใดรู้อนัตตา ย่อมจะแทงตลอดถึง อนิจจัง
และทุกขัง
๒.ในธัมมคารวะคาถา เราจะได้สวดกันอยู่เสมอว่า
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะ ธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง
พระธรรมอันเป็นที่สุดที่รวมแห่งธรรมคือ อนัตตาธรรม ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า "อนัตตา" เป็นสุดยอดแห่งธรรม ด้วยเหตุนี้
เหตุผลที่ว่า "อนัตตา" เป็นสุดยอดแห่งคำบริกรรม
เพราะ การบริกรรมคำว่า "อนัตตา" ตามลมหายใจเข้าออกไปจนขึ้นใจดีแล้ว หลังจากนั้นก็สามารถบริกรรมคำว่า " อนัตตา"ได้จนทันปัจจุบันอารมณ์ ทุกอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด สัมผัส สติ จะได้รับการฝึกหัดและยกระดับให้เป็น สัมมาสติ คือรู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ อันเป็นหัวใจสำคัญอันดับที่ ๑ ของการทำวิปัสสนาภาวนา
หลังจากนั้นจะมีสักวันหนึ่งที่อินทรีย์มีความสม่ำเสมอ ได้สมดุลย์ เกิดฉุกใจคิดขึ้นมาด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมชาติว่า เอ!
"อนัตตา" นี้มันหมายความว่าอย่างไรหนอ ! มันเป็นอาการอย่างไร?
จากนั้นกระบวนการ สังเกต พิจารณา ค้นหาความจริง โดยธรรมชาติ จักเกิดขึ้น มาค้นหาความหมายและความเป็นจริงของ อนัตตา
หาก เป็นโชคดี บุญกุศลของผู้บริกรรมอนัตตา มาถึงเวลาอันสมควรแล้ว เขาจะ เห็นและเข้าใจ อนัตตา ซาบซึ้งใจใน อนัตตา ยอมรับ อนัตตา ด้วยใจของเขาเอง
ดวงตาเห็นธรรม จักเกิดขึ้น เปิดทางเข้าสู่
มรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน ด้วยตัวของผู้เจริญบริกรรมอนัตตาผู้นั้น
ขอให้เป็นเช่นนี้ทุกท่าน ทุกคนเถิด สาธุ
# 21 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:20 น.
ธัมมาภิคีติง
(ธรรมคุณ ๖ ประการ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.
(คืออะไร)
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;
โอปะนะยิโก, ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะ
ส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
# 22 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:22 น.
คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า
ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย
อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น
อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)
ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าสังเกต พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)
พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามสังเกต พิจารณานั้น)
อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
# 23 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:23 น.
ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"
# 24 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:28 น.
อนัตตลักขณสูตร
เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์
(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)
รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
รูป ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลพฺเภถ จ รูเป
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง
เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา จ โข ภิกขเว รูปํ อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น จ ลพฺภติ รูเป
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง
เอวํ เม รูปํ โหตุ เอวํ เม รูปํ มา อโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
เวทนา อนตฺตา
เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
เวทนา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นยิทํ เวทนา อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลพฺเภถ จ เวทนาย
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา จ โข ภิกขเว เวทนา อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตสฺมา เวทนา อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น จ ลพฺภติ เวทนาย
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวํ เม เวทนา โหตุ เอวํ เม เวทนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ส ฺ า อนตฺตา
สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
ส ฺ า จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นยิทํ ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลพฺเภถ จ ส ฺ าย
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา จ โข ภิกขเว ส ฺ า อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตสฺมา ส ฺ า อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น จ ลพฺภติ ส ฺ าย
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวํ เม ส ฺ า โหตุ เอวํ เม ส ฺ า มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
สงฺขารา อนตฺตา
สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง)
เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
สงฺขารา จ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺสํสุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นยิทํ สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺเตยฺยุ
สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ จ สงฺขาเรสุ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา จ โข ภิกขเว สงฺขารา อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตสฺมา สงฺขารา อาพาธาย สํวตฺตนฺติ
เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น จ ลพฺภติ สงฺขาราสุ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวํ เม สงฺขารา โหนฺตุ เอวํ เม สงฺขารา มา อเหสุนฺติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
วิ ฺ าณํ อนตฺตา
วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
วิ ฺ าณ ฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นยิทํ วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลพฺเภถ จ วิ ฺ าเณ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง
เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว วิ ฺ าณํ อนตฺตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตสฺมา วิ ฺ าณํ อาพาธาย สํวตฺตติ
เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
น จ ลพฺภติ วิ ฺ าเณ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง
เอวํ เม วิ ฺ าณํ โหตุ เอวํ เม วิ ฺ าณํ มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ตํ กึ ม ฺ ถ ภิกฺขเว
# 25 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2554 เวลา 19:32 น.
แจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดการอบรมของเดือนเมษายน 2554 จาก 14 - 21 เป็น
10 - 13 เมย. สนทนาธรรมทั่วไป
14 - 16 เมย. อบรมหลักสูตรลัดสั้น "เรียนรู้และปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเป็นใน 3 คืน 3 วัน"
เชิญชวนไปฉลองปีใหม่ไทยด้วยการสนทนาธรรมและปฏิบัติบูชาเป็นศิริมงคลเริ่มต้นปีใหม่กันนะครับ
แจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดการอบรมของเดือนเมษายน 2554 จาก 14 - 21 เป็น
# 26 / เนินฆ้อ / 25 มี.ค. 2554 เวลา 07:50 น.
การอบรมรุ่น กพ.54
# 27 / เนินฆ้อ / 25 มี.ค. 2554 เวลา 07:58 น.
เชิญชวนร่วมสนทนาธรรมเพื่อปรับปรุงสัมมาทิฐิได้ที่พระพุทธบาทเนินฆ้อ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทย 2554
10 - 13 เมย.54 ตลอดวัน
14 - 16 เมย.54 เวลา 14.00 - 17.30 น.
หรือทุกวันที่ 14 - 20 ของเดือน เวลา 14.00 - 17.30 น.
เจริญโลกย์จนพอดี เพื่อจะได้ซื้อโอกาสให้มีเวลาเจริญธรรมได้เต็มที่ในชาติปัจจุบันทุกท่านทุกคนเทอญ
เชิญชวนร่วมสนทนาธรรมเพื่อปรับปรุงสัมมาทิฐิได้ที่พระพุทธบาทเนินฆ้อ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทย 2554
# 28 / เนินฆ้อ / 29 มี.ค. 2554 เวลา 07:39 น.
แนะนำผู้มาใหม่
http://www.4shared.com/audio/Dv8hEw9G/014__.html
# 30 / เนินฆ้อ / 6 เม.ย. 2554 เวลา 13:49 น.
สรุปวิธีทำวิปัสสนา [url]http://www.4shared.com/audio/XK-J_weP/022___3_.html [/url]
# 31 / เนินฆ้อ / 6 เม.ย. 2554 เวลา 14:02 น.
สรุปวิธีทำวิปัสสนา
http://www.4shared.com/audio/XK-J_weP/022___3_.html
# 32 / เนินฆ้อ / 6 เม.ย. 2554 เวลา 14:05 น.
ตอบแม่ชี
[url]http://www.4shared.com/audio/8Bg3of5m/023___4____.html [/url]
[url]http://www.4shared.com/photo/QMgh11lv/100_4822_resize.html [/url]
# 33 / เนินฆ้อ / 6 เม.ย. 2554 เวลา 14:13 น.
งดการอบรม 14 - 20 พฤษภาคม 2554
เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจสำคัญ
สนใจเข้ารับการอบรมเชิญ 14 - 20 เดือนถัดไปครับ
สบถาม ที่ 089-8386213
# 34 / เนินฆ้อ / 4 พ.ค. 2554 เวลา 12:23 น.
เพิ่งจะฝึกแนบไฟล์เสียงเป็นครั้งแรก อาจขลุกขลักหน่อย ขออภัยครับการเปิดฟังก็เอาเมาส์ชี้ที่ไฟล์แนบนะครับ ถ้าเห็นรูปมือขึ้นมาชี้แทนลูกศรเคอเซอร์ก็ดับเบิ้ลคลิกเลยครับ
แสดงว่าลิงค์นั้นใช้ได้ครับ
เรื่องที่ 3 คือ
ตอบแม่ชี
[url]http://www.4shared.com/photo/QMgh11lv/100_4822_resize.html [/url]
# 34 / เนินฆ้อ / 6 เม.ย. 2554 เวลา 14:18 น.
15 พค.54
เราท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติในเวบธรรมมะและลานธรรมต่างๆมากันมากพอสมควรแล้ว ได้อ่านพระสูตรที่สำคัญๆที่ผู้รู้นำมาโพสต์ให้อ่านมาก็มาก
เรามาถือโอกาสแห่งวิสาขปุณมีปี 2554 นี้เป็นวันเริ่มการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในชีวิตประจำวันกันจริงๆจังๆเสียทีดีไหมครับ
ในกระทู้นี้จะได้สรุปทฤษฎี หรือปริยัติต่างๆดังมีในพระสูตรลงมาเป็นวิธีปฏิบัติจริงๆ โดยจะทำให้ง่ายและลัดสั้น ให้เป็นทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติจริง และเทคนิคปฏิบัติต่างๆที่ใช้ได้ผลดีมาแล้ว
สนใจก็เชิญติดตามศึกษาและทดลองปฏิบัติดูนะครับ
:e2:การปฏิบัติธรรมมีอยู่ 3 วิธี
1.สมถะนำหน้าวิปัสสนา
2.วิปัสสนานำหน้าสมถะ
3.ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
มีวิธีตรวจสอบว่าผู้ปฏิบัติแต่ละคนมีพื้นฐานการบำเพ็ญบุญบารมี หรือต้นทุนเดิมมาแล้วมากน้อยเพียงใด มีจริตนิสัยอย่างไร ควรจะเจริญการภาวนาหรือปฏิบัติธรรมโดยวิธีใหน
การตรวจสอบพื้นฐานหรือต้นทุนเดิมวิธีที่ 1 ความสามารถในการสัมผัสรู้ ชีพจร
ให้ผู้ต้องการตรวจสอบไปอยู่ในที่ๆเงียบสงบ นั่งลงบนเก้าอี้ หรือจะนั่งขัดสมาธิบนพื้นก็ได้เสร็จแล้ว ให้ตั้งใจที่จะทำตัวทำใจให้นิ่งเฉยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วกำหนดจิต คือสติ ปัญญาขึ้นมาสังเกตดูเข้าไปในร่างกายจนกว่าจะสัมผัสรู้อาการเต้นตอดของชีพจร แล้วมาเทียบดูกำค่าที่กำหนดต่อไปนี้
1.ถ้าสามารถสัมผัสรู้ชีพจรได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที แสดงว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก มีสติ สมาธิ ปัญญาสร้างสมไว้ดีแต่ครั้งอดีต สามารถจะเจริญวิปัสสนาภาวนาไปได้ทันที
2.ถ้าสัมผัสรู้ชีพจรได้ภายในเวลาเกินกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที
แสดงว่าเป็นผู้มีบุญบารมีสะสมไว้ดีปานกลาง อาจจะเจริญภาวนาไปได้ทั้ง 2 วิธี คือวิปัสสนานำหน้าสมถะ หรือสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา
3.ถ้าสัมผัสรู้ชีพจรได้ช้ากว่า 15 นาที แสดงว่า ต้องใช้ความเพียรให้มากในการปฏิบัติธรรมควรเจริญภาวนาโดยใช้สมถะนำหน้าวิปัสสนา
4.ถ้าไม่สามารถสัมผัสรู้ชีพจรได้เลยซึ่งอาจเป็นได้เพราะ 2 สาเหตุคือ
4.1 จิตใจฟุ้งซ่านมากเกินไป จิตไม่ตั้งมั่น ฐานศีลไม่ค่อยแข็งแรง
ต้องไปปรับฐานศีลมาก่อน แล้วเจริญสมาธิตามแนวสมถะภาวนามาให้มากพอสมควรแล้วจึงจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาได้
4.2 จิตมีสมาธิมากเกินไป ก็ไม่อาจสัมผัสรู้ชีพจรได้ ต้องไปทำกิจกรรมที่ลดหย่อนกำลังสมาธิลงมาให้อยู่ในระดับที่พอดีๆ เช่นการไปฝึกกำหนดอิริยาบถย่อย ฝึกพิจารณากรรมฐานต่างๆ ฝึกคิดวิตก วิจารณ์ วิจัยธรรม ผู้มีสมาธิมากเกินไปเช่นนี้ต้องภาวนาโดยทำวิปัสสนานำหน้าสมถะ
อ่านแล้วลองลงมือปฏิบัติทดสอบของเก่าที่ท่านมีอยู่กันก่อนนะครับแล้วนำผลมาสนทนากันดูในกระทู้นี้เพื่อจะได้เลือกวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับทุนเดิมที่แต่ละท่านมีอยู่
16 พค.54
.การตรวจสอบพื้นฐานหรือต้นทุนเดิมวิธีที่ 2 โดยการลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานำหน้าไปก่อน
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน เป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ตั้งแต่เริ่มแรกเลยทันที แสดงว่าบุคคลผู้นั้นมีพื้นฐานบุญบารมีเดิมที่สร้างสมไว้ดีมากมาก่อน เราจึงควรเริ่มต้นทดสอบตนเองจากจุดสูงสุดนี้ไปก่อน ถ้าหากทำไม่ได้ดีจึงค่อยลดระดับลงมาใช้เครื่องช่วยคือ สมถะภาวนา โดยลดลงมาเป็นลำดับๆดังนี้
1.ทำวิปัสสนาล้วนๆ
2.ทำวิปัสสนานำหน้าสมถะ
3.ทำวิปัสสนาควบคู่ไปกับการทำสมถะ
4.ทำสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา
5.ทำสมถะนำหน้าวิปัสสนา
การลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานำหน้าไปก่อน ทำอย่างไร
1.หลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติจริง
วิปัสสนา ต้องตามด้วยคำว่า "ภาวนา" หรือ "กรรมฐาน" จึงจะมีความหมายสมบูรณ์เพื่อการปฏิบัติจริง
วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ" กับคำว่า "ปัสสนา"
วิ มาจากคำว่า "วิเศษ" หมายถึงสิ่งพิเศษที่ไม่สามารถเห็นได้ รู้ได้ด้วยตาเนื้อธรรมดา หรือเครื่องมือใดๆ จะรู้ได้ก็ด้วย ตาปัญญา ตาใจ หรือรู้ตรงที่ใจ
สิ่งวิเศษที่มีอยู่ในกายในจิตของคนทั้งหลายก็คือ "ธรรม"หรือ "สภาวธรรม" ทั้งหลายนั่นเอง เช่น ความทุกข์ ความสุขชอบใจ ไม่ชอบใจ ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน สบาย ดีใจ เสียใจ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หอม เหม็น เป็นต้น
ปัสสนา มาจากคำว่า "ทัศนา" แปลวา ดู เห็น รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึง สัมมาทิฐิ ตาปัญญา ดวงที่ 1อันเป็นมรรคข้อที่ 1 ในมรรค 8 นั้นเลยทีเดียว
วิปัสสนาจึงมีความหมายโดยรวมว่า การเห็น ดู รู้ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิต
ที่ต้องมีคำว่า "ภาวนา" ตามมานั้น เพราะ คำว่า "ภาวนา" แปลว่าเจริญหรือทำให้เกิดมีขึ้นมา แต่คำว่า "ภาวนา"นี้เมื่อมาตามหลังคำว่า "วิปัสสนา"แล้ว กลับมีความหมายในเชิงปฏิบัติว่า การสังเกต พิจารณา อันหมายถึงตาปัญญาดวงที่ 2 ของปัญญามรรคในมรรค 8 คือ ตาปัญญา สัมมาสังกัปปะ
วิปัสสนาภาวนา จึงแปลว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา สภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต จนเห็นและรู้ธรรมตามความเป็นจริง
ส่วนวิปัสสนาที่ตามด้วยคำว่า กรรมฐาน หรือ วิปัสสนากรรมฐาน นั้นเป็นเรื่องที่ค่อยชี้แจงให้ทราบในภายหลังถ้ามีผู้สนใจอยากรู้
ความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหมดคือ
1.อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา
2.ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ (ต้องเปลี่ยนแปลง)
3.อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน กลวง ว่างเปล่า
เมื่อเห็นความจริงทั้ง 3 อย่างนี้ผู้ปฏิบัติแต่ละคนจะเห็นชัดต่างกัน บางคนชัดอนิจจัง บางคนชัดทุกขัง บางคนชัด อนัตตา เห็นชัดในข้อใดก็ได้ตามจริตนิสัยและการสร้างสมมาของแต่ละคน ที่สุดจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทานความเห็นผิด ว่าขันธ์ 5 นี้เป็นอัตตา ตัวตน ตัวกู ของกู
หรือละสักกายทิฐิได้นั่นเอง
2.วิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจริงๆ ต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งใจ (มนสิการ) ตั้งสติ ปัญญา (โยนิโส)ขึ้นมา นั่ง ยืน หรือ นอน เจริญสติปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เป็นสำคัญ (เว้นท่าเดินเพราะทำความละเอียดของจิตได้ไม่สูงสุด)
ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมแห่งธรรมมะเพื่อความหลุดพ้นซึ่งมีธรรมอื่นที่จำเป็นและหมายถึงโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการด้วย
เริ่มต้นคือ อานาปานสติและสติปัฏฐาน 4
ในร่างกายเรานี้จะมีปัจจุบันซ้อนปัจจุบันอยู่หลายชั้นโดยธรรมชาติ ใครจะสัมผัสรู้ปัจจุบันชั้นใดได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้าของสติ ปัญญา และระดับความตั้งมั่นของสมาธิของผู้ปฏิบัติแต่ละคน
ที่ระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ของสติจะปรากฏบนฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในระดับต่างๆมีเรียงลำดับลงไปจากหยาบถึงละเอียดดังนี้คือ
1.ที่สัมผัสของทวารทั้ง 5 (กาย)
2.ความรู้สึกต่างๆ (เวทนา)
3.ความนึกคิด (จิต)
4.อารมณ์ (ธรรม)
5.ลมหายใจ (กาย)
6.หัวใจเต้น (กาย)
7.ชีพจร (กาย)
8.ความสั่นสะเทือนในร่างกาย (กาย)
9.อุเบกขาที่สมบูรณ์ หรือสังขารุเปกขาญาณ (เวทนาและธรรม)
สิ่งชี้วัดว่าสติ ปัญญา ตามทันปัจจุบันอารมณ์ คือ ความนึกคิดหยุดรำงับไป เหลือแต่สภาวธรรมแสดงอยู่ตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยจนดับสนิทลง
ตราบใดที่ยังมีความนึกคิดเกิดขึ้นในจิต แสดงว่าสติ ปัญญา ตามไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ ถ้าวิเคราะห์ วิจัยดูจะพบว่าขณะที่คิดนึกอยู่นั้น จิตติดอยู่กับอดีตหรืออนาคต
วันนี้ ถ้าท่านใดได้ทดสอบตนเองด้วยชีพจร แล้วเทียบตามข้อชี้วัดที่บอกไว้แล้ว ไม่มีที่สงสัย ก็ลองมาเริ่มการทดสอบที่ 2 โดยลงมือเจริญวิปัสสนาภาวนาตรงๆทันทีเลยตามวิธีการที่แจ้ง
ลองนั่งลงตั้งใจ (มนสิการ) ตั้งสติ ปัญญา (โยนิโส)ขึ้นมา นั่ง ยืน หรือ นอน เจริญสติปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ดูสัก 30 นาทีถึง 1ชั่วโมง สังเกตดู และจดจำไว้ให้ดีว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างตลอดระยะเวลาของภาวนา
ได้ปัญหาและข้อมูลจากการสัมผัสความจริงในกายและจิตแล้วค่อยนำมาเป็นเรื่องสนทนาซักถามกันต่อไป
17 พ.ค.54 วันวิสาขะบูชา
ความเบื้องต้นที่กล่าวมาทั้งหมดในบทแรก ตอนแรกนี้ เป็นขั้นตอนแห่งการตรวจสอบ ตรวจวัด ความสามารถและต้นทุนเดิมหรือบุญบารมีที่ผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละคนได้สร้างสมมาจากอดีต ซึ่งจากวิธีการทั้ง 2 ขั้นตอนดังกล่าวแล้วนั้น จะพอช่วยให้ทราบได้ว่าใครเคยทำภาวนามาในทางใดมากมาก่อนอันหมายถึง สมถะ หรือ วิปัสสนา สิ่งใดมีมากพออยู่แล้วหรือมากเกินจะได้ลดทอนลง สิ่งใดยังมีไม่พอก็เติมเต็มเข้าไปให้พอเพียงพอดี สติหย่อนเพิ่มสติ สมาธิหย่อนเพิ่มสมาธิ ปัญญาหย่อนเพิ่มปัญญา
สมาธิ หรือวิริยะมากเกินก็ลดทอนลง ให้พอดี เมื่อปรับอัตราส่วนของเหตุ ปัจจัย คือ สติ สมาธิ ปัญญาให้ได้สัดส่วนสมดุลกันดีแล้ว การทำวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 ก็จะเป็นไปด้วยดี เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไปสู่เป้าหมายคือการทำลายความเห็นผิดและอวิชชาให้หมดสิ้นไป
วันนี้จะได้พาทุกท่านขึ้นสู่บทที่ 2 แห่งการปฏิบัติจริง
บทที่ 2 นิวรณ์ธรรม 5 สิ่งกั้นขวางความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
เรื่องของนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่นักภาวนาทั้งหลายจะต้องรู้จักและรู้วิธีการที่จะสงบมันลงหรือขุดถอนมันออกทิ้งไป เรามาทำความรู้จักกันสักหน่อยก่อนที่จะได้ลงมือชำระนิวรณ์อันเปรียบเหมือนตะกอนสิ่งสกปรกหรืออนุสัยกิเลสที่หมักดองอยู่ในขันธสันดาน
1.กามฉันทะ ความยินดี พอใจ ในสัมผัสทางทวารทั้ง 6
2.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจ ในสัมผัสทางทวารทั้ง 6
3.อุธัจจะ ความฟุ้งซ่านหรือความคิดนึกไปอย่างไม่มีทิศทาง ส่วนใหญ่มักจะเกิดตามหลัง กามฉันทะ ความยินดีในสัมผัสทั้ง 6
กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน รำคาญใจ ส่วนใหญ่มักจะเกิดตามหลัง พยาบาท ความยินร้ายในการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6
4.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว เศร้าสร้อย หงอยเหงา
มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน มึนซึม งุนงง นิวรณ์ธรรม 2 ตัวนี้มักเกิดควบคู่กันกันเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน
5.วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เพราะรู้ไม่จริง ไม่รู้ นิวรณ์ข้อนี้เป็นกิเลสตัวร้าย เปรียบได้กับแม่ของกิเลสทั้งปวง
นิวรณ์ทั้ง 5 สามารถกลบบัง ระงับ สยบ กลบไว้ได้ด้วยสมถะภาวนา แต่จะไม่หายขาดไปจากจิต เหมือนเอาขยะไปใส่ถังแล้วปิดฝาไว้
นิวรณ์ทั้ง 5 สามารถถูกขุดถอนออกทิ้งได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา อุปมาดุจการเปิดถังที่เต็มไปด้วยขยะ แล้วโกยขยะออกทิ้ง จนถังขยะมีน้ำหนักเบาลงก็ยกถังเทขยะทิ้งไป
อุปมาในเรื่องขยะนิวรณ์นี้ยังมีต่ออีกหน่อยว่า จิตใจของคนเราเปรียบเหมือนถังขยะใบใหญ่ ตลอดทุกภพชาติที่ผ่านมาจนถึงชาติปัจจุบัน ได้เอาขยะเหม็นขยะหอมอันเปรียบเหมือนขยะบุญขยะบาปใส่บรรจุอัดแน่นลงไว้ ตราบใดที่ยังไม่ได้รู้จักวิธีทำสมถะภาวนาอันเปรียบเหมือนการปิดถังขยะไว้ชั่วคราว หรือยังไม่รู้จักวิธีทำวิปัสสนาภาวนาอันเปรียบเหมือนการขุดถอน โกยเอาขยะในใจออกทิ้ง ตราบนั้นบุคคลผู้นั้น จิตใจดวงนั้นก็ยังจะต้องแบกทุกข์หนักไว้ตลอดไป
ถ้าใครมีบุญสร้างบุญกุศลไว้ถึงที่ได้ที่ เพียงพอ จนได้พบพระพุทธศาสนา ได้พบกัลยาณมิตรชี้ทางออก บอกทางไปที่ถูกต้อง คืออริยสัจ 4 มรรค 8 และ อนัตตา ตลอดจนธรรมเพื่อความหลุดพ้นทั้ง 37 ประการ อันมารวมลงเป็นการปฏิบัติที่เรียกว่าวิปัสสนาภาวนา จนสามารถเอาขยะออกจากถังใจนี้ได้จนเบาบางมากแล้ว ก็อาจทุบถังขยะนี้ทิ้งเสีย หลังจากนั้นไปก็จะไม่ต้องกลับมาทุกข์เพราะถังขยะคือขันธ์ 5 กาย ใจ และขยะ คือ กิเลส ตัณหา อัตตาทั้งปวงอีก
อุบายหรือวิธีการที่จะกลบบัง หรือขุดถอน กิเลสนิวรณ์ออกจากใจ
เอาไว้ศึกษากันในตอนต่อไปอีกทีนะครับ
วันนี้ท่านได้รู้จักนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 และอุปมาอุปมัยต่างๆบ้างพอสมควรแล้ว ลองนั่งลงขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง คอตรง หัวตั้งตรงตั้งใจ (มนสิการ) ตั้งสติ ปัญญา (โยนิโส)ขึ้นมา เจริญสติปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ดูสัก 30 นาทีถึง 1ชั่วโมง สังเกตดูให้ดี ท่านจะได้พบกับนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปมารบกวนจิตใจและสมาธิของท่าน แล้วท่านจะได้พบสิ่งสำคัญคือวิธีการดั้งเดิมที่จิตของท่านเคยอบรมมา เขาปรากฏตัวออกมาสู้กับนิวรณ์ธรรม จดจำไว้ให้ดีแล้วนำมาซักถามหรือเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้วิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย หาวิธีกการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมเฉพาะตัวของแต่ละท่านแต่ละคนต่อไปครับ
# 35 / เนินฆ้อ / 17 พ.ค. 2554 เวลา 21:39 น.
เชิญฟังคำแนะนำสำหรับผู้ใหม่ครับ
แนะนำผู้มาใหม่
http://www.4shared.com/audio/Dv8hEw9G/014__.html
แนะนำวิธีทำวิปัสสนาภาวนา
http://www.4shared.com/audio/kNJOjCR5/006_.html
http://www.4shared.com/audio/kNJOjCR5/006_.html
# 36 / เนินฆ้อ / 19 พ.ค. 2554 เวลา 13:22 น.
มาผ่อนคลายกันสักนิดกับการชมความสามารถของผู่มีสมาธิฝึกไว้ดีแล้ว
http://www.youtube.com/watch_popup?v=jJrzIdDUfT4&vq=medium
# 37 / เนินฆ้อ / 19 พ.ค. 2554 เวลา 13:26 น.
วิธีการดั้งเดิมที่จิตของท่านเคยอบรมมา เขาปรากฏตัวออกมาสู้กับนิวรณ์ธรรม จะสังเกตเห็นได้เป็น 2 ลักษณะ
1.เอาจิตหลบไปผูกอยู่กับกรรมฐานหรือคำบริกรรมต่างๆ จนลืมนิวรณ์นั้นไป เช่นเจอความฟุ้งซ่าน ใช้บริกรรม พุทโธ ๆๆๆๆๆๆๆ หนอ ดินๆๆๆๆๆๆๆ ไฟๆๆๆๆๆๆๆๆ โอมนมัสศิวะ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
จนความฟุ้งซ่านเงียบหายไป นี่แสดงว่าจิตถูกฝึกมาทางสมถะภาวนา
วิธีนี้ ความฟุ้งซ่านจะถูกกดข่มไว้ด้วยอำนาจสติและสมาธิ
2.จิตฟุ้งซ่านเกิดขึ้น สติรู้ทัน.......ปัญญาเฝ้าตามดูตามรู้ และตาม สังเกต พิจารณา ความฟุ้งซ่าน จนเห็นหรือรู้ว่าความฟุ้งซ่านนั้นดับไปจากการรับรู้ นี่แสดงว่า จิตถูกฝึกฝนมาทางวิปัสสนาภาวนา
วิธีนี้ ความฟุ้งซ่านจะถูกขุดถอนและบางเบาไปเรื่อยๆ จนหมดในวันหนึ่งข้างหน้า
3.จิตฟุ้งซ่านเกิดขึ้น เอาการคิดเหตุผลว่า จิตฟุ้งซ่านไม่ดี ทำให้ใจไม่สงบ และเหตุผลอื่นๆมาพิจารณา เพลินอยู่กับการพิจารณาจนลืมความฟุ้งซ่านหรือความฟุ้งซ่านดับไป
วิธีนี้ ความฟุ้งซ่านจะถูกกดข่มหรือกลบบังไว้ด้วยอำนาจสติ สมาธิในการคิดเหตุผล
ลองปฏิบัติจริงกันดูนะครับ ท่านเกิดวิธีใดมาสู้นิวรณ์แล้วลองมาสนทนากันดูครับ
# 38 / เนินฆ้อ / 21 พ.ค. 2554 เวลา 12:08 น.
26 พ.ค.54
มาถึงวันนี้ท่านคงได้นั่งลงเผชิญหน้าความจริงที่ปรากฏอยู่ในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์กันมาบ้างพอสมควรแล้วนะครับ จิตของท่านไปใช้สมถะสู้นิวรณ์ วิปัสสนาสู้นิวรณ์ หรือ ใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนา สู้กับนิวรณ์ธรรมเป็นอย่างไรท่านคงมีประสบการณ์จริงกันแล้วนะครับ
วันนี้เรามาทำความก้าวหน้าต่อไปในเรื่องของวิปัสสนาล้วนๆ
หลักของการเจริญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆนั้นมีไว้อย่างไร
หลักของการเจริญวิปัสสนาภาวนาล้วนๆนั้นมีไว้ว่า
วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
สำหรับผู้ใหม่ ขอให้เริ่มต้นด้วยท่านั่งก่อน เมื่อชำนาญการภาวนาในท่านั่งแล้วจึงค่อยขยายไปทำภาวนาในท่า ยืน เดิน นอน จนครบทั้ง 4 อิริยาบท
หาที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ เฝ้าตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยความ นิ่ง เฉย สงบ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย จะมีนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 หรือสภาวธรรมใดๆ เกิดขึ้นมาให้รู้ให้เห็น ก็ให้เพียง รู้ เห็น สังเกต พิจารณา อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ทันปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ตลอดเวลา เท่านี้ จะมีปฏิกิริยาตอบโต้อะไรขึ้นมาในจิตก็ให้เพียงแต่รู้และสังเกต ให้มีแต่เพียงมโนกรรมที่มีต่อสภาวธรรมต่างๆ สติให้คอยกำกับการภาวนาให้เป็นไปเพียงเท่านี้ และคอยระวังไม่ให้เกิด วจีกรรมและกายกรรมเกิดขึ้น ในขณะที่ภาวนา
งานหลักของวิปัสสนาภาวนามีเพียงเท่านี้ ตลอดระยะเวลาของการภาวนา 1 รอบของการภาวนา ท่านมีหน้าที่เพียงเท่านี้
ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก
ตัณหาความอยากขึ้นมาแทบทุกทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
ถ้าวิปัสสนาปัญญาเจริญขึ้นไปจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในทุกอารมณ์จนเป็นปกติดีแล้วหลังจากนั้น ปัญญา จะสรุปตัวของเขาเองโดยธรรมชาติ โดยรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง และเข้าไปสลายความเห็นผิดยึดผิด ทำลายมิจฉาทิฐิ อันเป็นความมืดไม่รู้บดบังใจ ให้มลายหายไป เกิดความสลัดคืนความมืดมิดหรืออวิชชา แสงสว่าง ปัญญา หรือวิชชาแรกก็จะเกิดขึ้นมาทนที่โดยธรรม ทำให้เห็นชัดอนัตตา ดวงตาเห็นธรรมอันแท้จริงเกิดขึ้น เป็นแรงส่งให้ เกิดอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน ปรากฏชัดขึ้นมาในจิต จิตเสวยนิพพาน 2 - 3 ขณะแล้วดับไป เมื่อคลายออกมาแล้วก็จะเกิดการปัจจเวก คือพิจารณาย้อนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรหมดสิ้นไป ชีวิตใหม่หลังจากนั้นจะทำอย่างไร
คำตอบจะเกิดขึ้นมาเองในจิตจนหมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กรรม เวร วิบาก อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ก็จะรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตของเจ้าของผู้ภาวนา
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมของวิปัสสนาภาวนาเมื่อเจริญไปถึงที่สุด
ถ้าไม่เป็นไปตามลำดับที่ว่านี้ ก็ลองมาพิจารณาตัวอย่างอีกวิธีหนึ่งที่มีผู้ปฏิบัติได้ผลมาแล้วดังต่อไปนี้
สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้
พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือมีอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา เป็นความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ แล้วลามเลยจนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖ ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นกามฉันทะ โลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้ เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไปทั้งวัน
เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ว่า
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้
ทนได้ ไม่ตะบอย กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ
ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ จนทำให้ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไปจากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตนเอง
26 พ.ค.54
# 39 / เนินฆ้อ / 26 พ.ค. 2554 เวลา 15:14 น.
วันนี้เรามาต่อหลักวิปัสสนาภาวนากันอีกหน่อยนะครับ เป็นอีกสำนวนการเขียนหนึ่งแต่ใจความและประเด็นเหมือนกัน
อาจได้แง่มุมแปลกใหม่ขึ้นมาบ้างครับ
๑
วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน
เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของการ การ ดู เห็น รู้ การสังเกต พิจารณา ศึกษาเข้าไปในกายและจิตเพื่อให้เห็นความจริงจนใจยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิปัสสนาภาวนา มาจากคำว่า วิ + ปัสสนา + ภาวนา
วิ มาจากคำว่า วิเศษ สิ่งวิเศษ ที่เกิดขึ้นในกายในใจของมนุษย์นั้น ไม่สามารถเห็นหรือรู้ได้ด้วยเครื่องมืออื่นๆ นอกจากตาปัญญา ตาสติ ของมนุษย์ สิ่งวิเศษนั้นคือ ความรู้สึก นึก คิด อารมณ์ธรรมหรือ สภาวธรรมต่างที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตนั่นเอง เช่น ความสุข ทุกข์ เจ็บ สบาย ร้อน หนาว หนัก เบา แข็ง อ่อน ดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง ต่างๆ
ปัสสนา มาจากคำว่า ทัศนา แปลว่า ดู เห็น หรือ รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึงตาปัญญาสัมมาทิฐินั้นเลยทีเดียว
ภาวนา แปลว่า เจริญ หรือทำให้มีขึ้น แต่คำว่าภาวนา เมื่อมาตามท้าย วิปัสสนาแล้วจะมีความหมายไปถึง การ สังเกต พิจารณา อันเป็นความหมายของตาปัญญาสัมมาสังกัปปะนั้นเอง
ดังนั้นคำว่า วิปัสสนาภาวนา จึงมีความหมายว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้
และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต จนเห็นสิ่งวิเศษคือสภาวธรรมความจริงทั้งหลายที่กำลังแสดงอยู่
เมื่อเห็น รู้ และสังเกต พิจารณาอยู่กับสภาวธรรมทั้งหลายไปไม่นานก็จะได้เข้าใจถึงธรรมดาของการทำงานของกายและจิตว่า จะมีการ
๒
กระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือทวารทั้ง ๖ นี้ตลอดเวลา โดยจะรู้ชัดเจนตรงปัจจุบันขณะหรือปัจจุบันอารมณ์ อารมณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขังเพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้
ชีวิตมีความจริงเฉพาะตรงปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น ก่อนหรือหลังจากนั้นเป็น อนาคตและอดีตซึ่งทำอะไรแก้ไขอะไรไม่ได้เลย
การกระทำหรือกรรมต่างๆจึงสำคัญที่ปัจจุบันอารมณ์เท่านั้นทั้งยังเป็นสิ่งที่จะชี้อนาคตและอดีตของจิตหรือบุคคลผู้นั้นด้วย
วิปัสสนาภาวนาจึงมีจุดรวมของงานที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ ปัจจุบันอารมณ์
การทำวิปัสสนาภาวนามีคำสรุปว่า
การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นการนำเอาปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะมาทำงานร่วมกันกับสัมมาสติ หรือเอาปัญญากับสติมาทำงานร่วมกัน
ปัญญาทำหน้าที่ ดู สังเกต สติมีหน้าที่กำกับจิตให้อยู่กับปัจจุบัน
สัมมาสมาธิเล่าอยู่ที่ใด
สมาธิ เป็นผลของการเจริญสติ เพราะถ้าสติระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี สมาธิเขาจะเกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
๓
การเจริญปัญญา สติ สมาธิ ร่วมกันอย่างนี้ก็คือการเจริญมรรคนั่นเองโดยมีสัมมาทิฐิปัญญามรรคเป็นประธานเป็นหัวหน้านำไป ถ้าสัมมาทิฐินำหน้าแล้ว มรรคที่เหลืออีก 7 ตัวเขาจะถูกดึงมาประชุมร่วมกันทำงานเองโดยธรรมชาติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเติมเข้าไปในการทำวิปัสสนาเพื่อให้เกิดความสำเร็จคือ โยนิโสมนสิการอันแปลว่าความมีสติปัญญาทำงานด้วยความตั้งใจจริง
มนสิการ แปลว่า ตั้งใจ
โยนิโส แปลว่า ฉลาดแยบคายซึ่งหมายถึงการตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาทำงาน
การทำวิปัสสนาภาวนาจึงมีคำสรุปสุดท้ายไว้ว่า
วิปัสสนาภาวนา คือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญา ขึ้นมาเฝ้าดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์
งานหลักของวิปัสสนาภาวนามีเพียงเท่านี้
สิ่งที่จะต้องรู้เสริมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้การทำวิปัสสนาภาวนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ
๑.เริ่มต้นจากท่านั่ง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรเริ่มทำวิปัสสนาภาวนาจากท่านั่งก่อน เมื่อชำนาญในการ ดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาแล้วจึงค่อยขยายไปทำในท่า ยืน เดิน นอน ให้ครบและทำวิปัสสนาภาวนาได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ และทำได้ทุกเวลาทุกโอกาสในชีวิตประจำวัน
๔
๒.เฉยและสงบนิ่ง ในการทำภาวนาแต่ละรอบ ให้มีสติกำหนดไว้ในใจว่า ข้าพเจ้าจะนั่งสงบนิ่งเฉยๆโดยไม่ทำงานอื่น นอกจากการเอาสติ ปัญญา มาเฝ้าตามดูตามรู้ ตามสังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ที่ปัจจุบันอารมณ์จนตลอดรอบการภาวนา จะเป็นรอบละ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมงหรือมากกว่าก็แล้วแต่ความสามารถที่จะทำได้ จะไม่พูด จะไม่ขยับเปลี่ยนท่าหรือทำอาการใดๆ
๓.เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดี การเฝ้าดูเฝ้าสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นข้าพเจ้าจะกระทำตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดีอันอุปมาเหมือนบุรุษที่ยืนนิ่งเฉยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเฝ้าดูเฝ้าสังเกตสิ่งของต่างๆที่ไหลผ่านมาและผ่านไปในแม่น้ำ เท่านั้น โดยจะไม่กระทำการอื่นใดอีก
ถ้าทำได้ดีตามที่กำหนดใจไว้ข้างต้นนี้ท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างรวดเร็ว
ถ้าการภาวนาวิปัสสนาเป็นไปด้วยดีจะมีอะไรเกิดขึ้น
จะได้รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาแทบทุกทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัส
๕
ของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณา มีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
ถ้าวิปัสสนาปัญญาเจริญขึ้นไปจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในทุกอารมณ์จนเป็นปกติดีแล้วหลังจากนั้น ปัญญา จะสรุปตัวของเขาเองโดยธรรมชาติ โดยรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง และเข้าไปสลายความเห็นผิดยึดผิดว่าเป็นอัตตา ตัวตน ทำลายมิจฉาทิฐิ อันเป็นความมืดบอดไม่รู้บดบังใจ ให้มลายหายไป เกิดความสลัดคืนความมืดมิดหรืออวิชชา และแล้วแสงสว่าง แห่งปัญญา หรือวิชชา ก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่โดยธรรม ทำให้เห็นชัดอนัตตา ดวงตาเห็นธรรมอันแท้จริงเกิดขึ้น เป็นแรงส่งให้ เกิดอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน ปรากฏชัดขึ้นมาในจิต จิตเสวยนิพจพาน ๒ - ๓ ขณะแล้วดับไป เมื่อคลายออกมาแล้วก็จะเกิดการปัจเวก คือพิจารณาย้อนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรหมดสิ้นไป มีอะไรคงเหลือ ชีวิตใหม่หลังจากนั้นจะทำอย่างไร
คำตอบจะเกิดขึ้นมาเองในจิตจนหมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กรรม เวร วิบาก อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ก็จะรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตของเจ้าของผู้ภาวนา
๖
อุปสรรคที่จะมากั้นขวางการทำวิปัสสนาภาวนา
๑.นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ มี
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
นิวรณ์ทั้ง ๕ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นในจิต ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ
นี่คือเคล็ดลับสำคัญในการขุดถอนกิเลส ตัณหา อัตตาและนิวรณ์ธรรมทั้งปวง
๒.ความยึดติดอยู่กับวิชาความรู้และรูปแบบ วิธีการเก่าๆที่เคยเชื่อถือศรัทธาหรือปฏิบัติมาก่อน
ข้อนี้ก็จะมาเป็นวิจิกิจฉานิวรณ์ในข้อ 1 นั่นแหละ แต่ต้องยกออกมาแสดงให้ชัดขึ้น การขุดถอนความติดยึดในความเห็นเช่นนี้ก็ต้องขุดถอนออกด้วยวิปัสสนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาตามที่สรุปไว้เช่นกัน
๓.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ขอให้สบายใจได้เลยว่า ถ้าท่านสามารถรักษาสติปัญญาให้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีนั่นคือการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ โดยธรรมชาติ เพราะปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่ง
๗
ธรรมทั้งปวง ทั้งสติปัฏฐาน ๔ หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการล้วนมารวมลงที่ปัจจุบันอารมณ์ ถ้าท่านอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดี ไม่ช้าท่านจะเข้าใจและรู้ซึ้งอริยสัจ ๔ โดยสมบูรณ์
๔.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญอานาปานสติ ก็สบายใจได้เลยเพราะตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ ลมหายใจเขาจะมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ปรากฏให้ต้องรู้ ต้องสังเกต พิจารณาสลับกับอารมณ์อื่นๆ อยู่ตลอดทางและที่สุดเมื่อความนึกคิดฟุ้งซ่านระงับไปนิวรณ์ทั้ง ๕ สงบรำงับลงไปแล้ว ท่านก็จะได้ลมหายใจนี่แหละเป็นอารมณ์ที่เด่นชัดสุดท้ายก่อนที่จิตจะเข้าถึงความสงบระดับฌาน
๕.ผู้ที่ห่วงเรื่องสมาธิไม่พอเพียงไม่เป็นสัมมาเพราะยังเข้าฌาน ๔ ไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะกระบวนการของวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นกระบวนการทำสมาธิอยู่แล้วในตัว เนื่องจากวิปัสสนาภาวนาก็ต้องพบและขุดถอนทำลายนิวรณ์ ๕ ไปตลอดระยะทางของการภาวนา โดยเฉพาะนิวรณ์ข้อที่ ๑ กามฉันทะ ข้อที่ ๒ พยาบาท ซึ่งสรุปแล้วคือ อภิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดียินร้ายนั่นเอง การสู้กับนิวรณ์ ๒ ข้อแรกนี้ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยอัตโนมัติ
วิปัสสนาภาวนาจึงเป็นการภาวนาที่เบ็ดเสร็จพร้อมในตัวทั้ง ปัญญา ศีล สติ และสมาธิ ตามมรรคมีองค์ ๘ ที่สุดของวิปัสสนาภาวนาท่านจะ
ได้เข้าถึงสัมมาสมาธิโดยสมบูรณ์เช่นกัน แต่เราไม่เรียกว่าถึงฌาน ๔ เพราะที่ๆจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่ง สงบนิ่งเฉยอยู่จนไร้ปฏิกิริยานั้นเราเรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ อันเป็นญาณวิปัสสนาภาวนา
๘
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำวิปัสสนาภาวนา
ผู้ที่ประสงค์จะเจริญวิปัสสนาภาวนาจะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าดังต่อไปนี้
๑.ตรวจสอบชำระศีล และอธิษฐานศีล จะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้ สำหรับอุบาสก อุบาสิกา
๒.ตรวจสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องและจำเป็นใช้สำหรับการทำวิปัสสนาภาวนา เช่นเรื่อง อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปัจจุบัน ฯลฯ
๓.ตรวจสอบความสามารถและต้นทุนเดิมที่ตนเองมีอยู่หรือเคยสร้างสมมาด้วย ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจรและความสั่นสะเทือนในกาย
๔.เตรียมเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ ตลอดจนประสานงานเรื่องกำหนดเวลาอบรม อาหารและที่พักให้เรียบร้อยก่อนการฝึกอบรมหรือเจริญวิปัสสนาภาวนา
เรื่องการตรวจสอบทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติต้องได้รับการอธิบายชี้แนะโดยตรงกับกัลยาณมิตรผู้ทำหน้าที่สอนหรือเป็นที่ปรึกษา
การทำวิปัสสนาภาวนานั้นจะต้องศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงจึงจะเข้าใจและสามารถศึกษาต่อไปจนจบได้ จึงขอให้ท่านที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในการทำวิปัสสนาภาวนาไปเข้ารับการอบรมโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนจึงจะได้ผลดี
หากปารถนาจะมาปฏิบัติด้วยตนเอง ก็ขอให้ได้เริ่มต้นด้วยการไปเข้ารับการอบรมจากกัลยาณมิตรหรืออาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจหลักการภาวนาและสามารถทำวิปัสสนาภาวนาได้ดีด้วยตนเองต่อหน้าผู้สอน
๙
เสียก่อน อุปมาเหมือนนักเรียนที่ไปเรียนตัวแม่อักษร สระ พยัญชนะ จนรู้วิธีผสมอักษร วิธีสะกด จนอ่านหนังสือได้ดีด้วยตนเองแล้วจึงค่อยกลับมาอ่านหนังสือ เล่าเรียนเอาด้วยตนเองที่บ้าน
ขอให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา ฝึกหัดและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากันทุกๆคนเทอญ
อโศกะ
๒๗/๕/๒๕๕๔
อีเมล์
asoka52@hotmail.com Tel. 089-8386213
# 40 / เนินฆ้อ / 29 พ.ค. 2554 เวลา 00:00 น.
เราได้ตรวจสอบต้นทุนเดิม หรือ บารมีเก่าที่เราสร้างมา ตลอดจนเรียนรู้หลักพื้นฐานที่สำคัญในการทำวิปัสสนาภาวนามาพอสมควรแล้ว
หวังว่าท่านที่สนใจจะปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจริงๆ คงได้ทดสอบตนเอง และลองนั่งเจริญวิปัสสนาภาวนาตามหลักการที่ให้ไปบ้างแล้วได้สัมผัสความจริงที่ปรากฏในกาย ในจิตใจของท่านมาบ้างแล้ว
วันนี้ เราจะกลับไปสู่ภาคปริยัติ หรือทฤษฎีที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากันส้กหน่อยในหัวข้อว่า
ความรู้พื้นฐานเพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ความรู้พื้นฐานที่สำคัญในช่วงแรกนี้มีหัวข้อสำคัญเรียงลำดับกันไปดังนี้ครับ
1.ยาก 5 อย่าง
2.ทาง 5 เส้น
3.บุคคล 5 จำพวก
4.โอวาทปาติโมกข์
5.บุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง
ความรู้พื้นฐานที่สำคัญช่วงที่ 2 เป็นความรู้เพื่อทำความเห็นโดยทฤษฎี (สัมมาทิฐิโดยปริยัติ โดยสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา)เกิดความชอบ ถูกต้องและตรงทางไปสู่พระนิพพาน
1.อริยสัจ 4 และ อนัตตลักขณะสูตร
2.สิ่งสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำไว้ในวันปฐมเทศนา
3.มรรค 8
4.สมถะ วิปัสสนา
5.อานาปานสติภาวนา
6.สติปัฏฐาน 4
ในการศึกษาเรื่องเหล่านี้จะต้องมีการดูภาพประกอบด้วย ซึ่งระยะแรกๆอาจจะต้องไปอาศัยเวบบอร์ดจาก Free webboard มาช่วยแสดงภาพด้วย จนกว่าผมจะชำนาญในการนำภาพขึ้นแสดงในกระทู้ของลานธรรมครับ
คอยติดตามตอนต่อไปนะครับ
# 41 / เนินฆ้อ / 1 มิ.ย. 2554 เวลา 23:00 น.
รูปแสดงวิเดินทางไปนิพพาน
# 42 / เนินฆ้อ / 1 มิ.ย. 2554 เวลา 23:03 น.
เชิญร่วมสร้างบุญอันกินใช้ไม่หมด
การอบรมวิปัสสนาภาวนาที่พระพุทธบาทเนินฆ้อ มีเป็นประจำทุกวันที่ 13 เย็น ถึง เช้า 21 ของทุกเดือน
เป็นโอกาสอันดีสำหรับท่านที่ประสงค์จะทำบุญสนับสนุนค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในการอบรมปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นงานสร้างปุถุชนและกัลยาณชน ให้เป็นอริยชน หรืองานสร้างพระอริยเจ้าขึ้นมาในโลก
หากการอบรมครั้งใดมีผลให้เกิดอริยบุคคลขึนมา กุศลผลบุญอันจะเกิดกับผู้มีส่วนร่วมบริจาคเงินสมทบสนับสนุนการอบรมย่อมจะเกิดดอกออกผลมากมายและมีคุณค่า
นึกอนุโมทนาเมื่อใดก็เป็นสุขแลอิ่มเอิบ เป็นบุญที่ออกดอกเบี้ยกินใช้ไม่หมดติดใจไปทุกภพชาติจนกว่าจะถึงนิพพาน
มีศรัทธาเชิญบริจาคเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย หมายเลขบัญชี 545-1-04173-3
ชื่อบัญชี วีระ สุริวงศ์ (กองทุนเผยแพร่ธรรม)
เสร็จแล้ว SMS แจ้งที่ 089 - 8386213 หรือ อีเมล์ แจ้ง ที่
asoka52@hotmail.com
เพื่ออนุโมทนาบุญต่อไปครับ
ขอให้เจริญในธรรมและปิดประตูอบายให้ทันในชาตินี้ทุกท่านทุกคนเทอญ
เชิญร่วมสร้างบุญอันกินใช้ไม่หมด
# 43 / เนินฆ้อ / 8 มิ.ย. 2554 เวลา 15:34 น.
การอบรมรุ่นนี้และรุ่นหน้า คือ 13 เย็น ถึง 21 เช้า เดือน กรกฎาคม 54 นี้ จะมี ดอกเตอร์จากอเมริกามาร่วมอบรม ท่านใดสนใจจะไปแลกเปลี่ยนธรรมมะและปฏิบัติรรมก็เชิญนะครับ
สาธุ
# 44 / เนินฆ้อ / 25 มิ.ย. 2554 เวลา 10:03 น.
ทางเข้าสู่พระพุทธบาทเนินฆ้อ ประตูเปิดสู่ความเป็นชาวพุทธแท้และนิพพาน
# 45 / เนินฆ้อ / 25 มิ.ย. 2554 เวลา 10:04 น.
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งหมดทั้งปวง
ผู้ใดปารถนาจะรู้ธรรมและได้วิธีการปฏิบัติธรรมที่ง่าย ลัดสั้น ไม่มีเรื่องต้องศึกษา จดจำมาก ไม่ยุ่งยากด้วยคำศัพท์ บาลี สันสกฤต ไม่มีอะไรให้ต้องขบคิดและสงสัย ก็จงได้มาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยเอาปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็อาจสามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง พาตนให้พ้นทุกข์เข้าถึงมรรค ผล พ้นวัฏฏะสงสารได้ทันในปัจจุบันชาตินี้
วิธีภาวนากับปัจจุบันอารมณ์
ให้ทำภาวนาในอิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน นอน ท่าใดท่าหนึ่งก็ได้
เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอยู่เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์ แล้วหลับตา ลงมือทำภาวนา
สติ จะทำหน้าที่รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม
ปัญญาสัมมาทิฐิ จะทำหน้าที่ รู้ ตามปัจจุบันอารมณ์
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะทำหน้าที่ สังเกต ปัจจุบันอารมณ์
ความรู้ทัน รู้ และสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี้ จะต้องไม่มีความคิดนึกมาเกี่ยวข้องด้วย เฝ้ารู้ และสังเกตสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละอารมณ์ไปจนอารมณ์นั้นดับไปต่อหน้าต่อตา รักษาการภาวนาตามหลักนี้ไปให้ได้นานๆ ในการภาวนาแต่ละรอบ แล้วผู้ภาวนาจะได้รู้ว่า ธรรมต่างๆตามหลักโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการเขาจะเกิดขึ้นมาเองเป็นลำดับๆโดยอัตโนมติ เริ่มต้นจาก สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิทธิบาท ๔ ต่อขึ้นไปถึง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชงค์ ๗ และ มรรค ๘ ซึ่งมีรายละเอียดที่จะแสดงให้ทราบต่อไป เชิญศึกษาและทำความเข้าใจกันด้วยตนเองทุกท่านเทอญ
ก่อนจะสนทนากันต่อไป ท่านที่อยากจะเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องปัจจุบันอารมณ์ ให้ลองทำอุปกรณ์ช่วยฝึกขึ้นมาด้วยตัวเองสักชิ้นหนึ่งนะครับ
หากระดาษแข็งขนาดประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร มาเจาะรูตรงกลางขนาดประมาณเท่าเหรียญ 10 เสร็จแล้ว เอามาใช้ในการทดลอง
การทดลอง ให้ท่านไปนั่งแถวข้างทางหลวงที่มีรถวิ่งผ่านเยอะๆ หรือริมแม่น้ำที่มีเรือหรือของไหลผ่านเยอะๆ
ยกกระดาษที่เจาะรูไว้แล้วบังหน้าของท่านให้รูที่เจาะอยู่ในระดับสายตา แล้วให้สนใจมองดู รับรู้เฉพาะสิ่งที่ผ่านมาให้เห็นที่รูที่เจาะ
ลองสังเกตดูสักระยะหนึ่งท่านจะเห็นความผ่านมาผ่านไปของรูปต่างๆ ซึ่ง จะเกิดขึ้นให้เห็นแล้วผ่านไป ดับไป อยู่ตลอดเวลา
ตอนที่ไม่มีอะไรเคลื่อนที่ผ่าน ก็จะรู้อยู่ที่รูเท่าเหรียญบาทอยู่เฉยๆ
หลังจากนั้นให้ลองนึกเปรียบเทียบดูกับการรับรู้อารมณ์ต่างๆของสติและปัญญา ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ จะคล้ายกันมาก ความเข้าใจคำว่าปัจจุบันอารมณ์ อดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ จะซึ้งขึ้นมาในใจของท่าน
ทำการบ้านกันดูแล้วมาสนทนากันต่อ ภายหลัง ดีไหมครับ
จากแบบฝึกหัดเฝ้าดูและสังเกตที่ รูกระดาษขนาดเท่าเหรียญ 10 บาทนั้น ถ้ามีสติกำหนดรู้และจิตตั้งมั่นอยู่กับการ ดู รู้ และ สังเกต สิ่งต่างๆที่เคลื่อนที่ผ่าน รู เท่าเหรียญ 10 นั้นตลอดเวลา ไม่ไปสนใจรับรู้สิ่งอื่นๆ มันจะมีลักษณะคล้ายการเจริญสมถะภาวนา แต่เป็นการไป นิ่งรู้ อยู่กับสิ่งที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันอารมณ์ก็เป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความที่สติและปัญญาไป นิงรู้ นิ่งสังเกต อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา
อารมณ์สมถะภาวนานั้น คือการเอาสติไปกำหนดรู้ หรือ นิ่งอยู่ กับสิ่งที่ นิ่ง หรือซ้ำ ๆ อยู่นานๆ เช่นการเพ่งกสิณ ดิน น้ำ แส่งสว่าง ความว่าง สีเขียว สีแดง การเพ่งอสุภะ ต่างๆ 10 อย่าง ซึ่งเป็นของนิ่ง
ถ้าเป็นสิ่งที่ซ้ำ ๆ กันอยู่ตลอดเวลา ก็เช่น คำบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ธัมโม ๆ ๆ ๆ ลมหายใจ ที่ เข้า ออก ๆ ๆ ความพัดไหวของลม ความสะบัดพลิ้วของเปลวไฟ
แบบฝึกหัด สติ ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์วิธีที่ 2 คือการเดินจงกรม โดยเอาสติไปกำหนดรู้ไว้ที่ฝ่าเท้า โดยให้รู้ทันการกระทบหรือการพ้นพื้นของฝ่าเท้า
ถ้ารู้ ก่อน การกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอนาคตอารมณ์ ถ้ารู้หลังการกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอดีตอารมณ์ ถ้ารู้พร้อมการกระทบหรือพ้นพื้น เป็น ปัจจุบันอารมณ์
ลองฝึกหัดดูนะครับ
เมื่อผ่านแบบฝึกหัดที่ 2 แล้ว ก็ลองลงมือภาวนาปัจจุบันอารมณ์ตามข้อแนะนำต่อไปนี้
นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง หลังตรง คอและหัวตั้งตรง หลับตา ตั้งใจ วาจะเอา สติ ปัญญา มาเฝ้าตามรู้ ตามสังเกต ที่ปัจจุบันอารมณ์
จากนั้นก็ให้นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องกำหนด หรือบริกรรมอะไร ในเวลาไม่ถึงครึ่งนาที ท่านจะได้พบว่า มีการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 เกิดขึ้น สับเปลี่ยนกันไปมาตลอดเวลา และดึงจิต คือ สติและปัญญา ไปรับรู้การสัมผัส(วิญาณ +สติ) จนเกิดเป็นความ รู้สึก(เวทนาทางกายและจิต) เกิดเป็นอารมณ์หรือธัมมารมณ์ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลา สิ่งใดที่รู้ขึ้นในจิต ชัดที่สุดในจิต แรงและดึงจิตไปรู้ได้มากที่สุด สิ่งนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ แต่ปัจจุบันอารมณ์นี้จะเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว ต้องมีความ สังเกต ให้ดีๆ จึงจะมีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ที่เปลี่ยนไป
ลำดับการเกิดของอารมณ์คือ สัมผัส(ผัสสะ).......รู้ (วิญญาณ)......รู้สึก(เวทนา)....อยาก ...ไม่อยาก... หรือเฉย .........นึกคิด(สังขาร มโนกรรม).......พูด(วจีกรรม).........ทำ(กายกรรม).......รับผล(วิบาก)
ลำดับการเกิดของอารมณ์ถ้าพิจารณาตามขันธ์ 5
รูปกายตั้งอยู่......ผัสสะ.......วิญญาณ....เวทนา.....สัญญา......สังขาร...มโนกรรม.....วจีกรรม.....กายกรรม...
วิบาก.....ส่งกลับวนไปให้เกิดผัสสะใหม่ หมุนวนไปไม่รู้จบ
แต่ตอนที่นั่งภาวนาปัจจุบันอารมณ์นั้นเราจะใช้สติหยุดอารมณ์ให้ถึงแค่ มโนกรรมและวจีกรรมที่พูดกับตัวเอง ไม่ลืมตา ไม่เปลี่ยนท่า ไม่ทำกายกรรม
ถ้ามีอารมณ์หรือความต้องการของจิตเกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ให้เกิดอยู่แค่ในจิต โดยให้มีสติรู้ทัน ปัญญารู้และสังเกตปัจจุบันอารมณ์แต่ละอารมณ์ ไปจนกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นในกายแลจิตนั้นจะดับไปต่อหน้าต่อตา
การภาวนาปัจจุบันอารมณ์นี้ ก็คือ การทำวิปัสสนาภาวนานั่นเอง
คำแนะนำเมื่อวานนี้คงจะเข้าใจยากไปหน่อย เอาใหม่นะครับ
เมื่อผ่านแบบฝึกหัดที่ 2 แล้ว ก็ลองลงมือภาวนาปัจจุบันอารมณ์ตามข้อแนะนำต่อไปนี้
นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง หลังตรง คอและหัวตั้งตรง หลับตา ตั้งใจ วาจะเอา สติ ปัญญา มาเฝ้าตามรู้ ตามสังเกต ที่ปัจจุบันอารมณ์
จากนั้นก็ให้นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องกำหนด หรือบริกรรมอะไร ในเวลาไม่ถึงครึ่งนาที จะมีผัสสะ อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้นในกายและจิต ให้รูและสังเกต
ดังนั้นมีอะไรเกิดขึ้นก็ให้รู้และสังเกตตามไปเรื่อยๆ เช่น หูได้ยินเสียง ก็รู้และสังเกตเสียง
จิตคิดนึกชัด ก็รู้และสังเกตความคิดนึก
กายเจ็บชัด ก็รู้และสังเกตความ ความเจ็บ
ใจเป้นทุกข์หงุดหงิด ก็รู้และสังเกตความทุกข์หงุดหงิด
ใจอยากลุกเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้หายเจ็บ ก็รู้และสังเกตความอยากลุก
ใจทนไม่ได้กับความเจ็บ ก็รู้และสังเกตความทนไม่ได้
ถึงจุดทนไม่ได้นี้เป็นตอนที่สำคัญของการภาวนาปัจจุบันอารมณ์ ผู้ภาวนาจะต้องตั้งใจใหม่ขึ้นมาว่าจะไม่ยอมขยับเปลี่ยนท่าจนกว่าอารมณ์ความรู้สึกทนไม่ได้นั้นจะดับสงบไป
จากนั้นก็ให้นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ความรู้สึกต่างๆที่จะตามมาหลังความทนไม่ได้ แต่สติปัญญาทนให้ได้จนถึงที่สุด ความทนไม่ได้นั้นจะดับไปพร้อมๆกับความทุกข์ทุรนทุราย
ทำให้ได้อย่างนี้ในทุกๆอารมณ์ นั่นคืองานของการภาวนาปัจจุบันอารมณ์
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งหมดทั้งปวง
# 46 / เนินฆ้อ / 3 ก.ค. 2554 เวลา 22:59 น.
สรุปวิธีทำวิปัสสนาภาวนา มีสั้นๆเพียงงเท่านี้
ให้ตั้งใจ (มนสิการ)เอา สติ ปัญญา มาเฝ้า รู้ เฝ้าสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) หลักภาวนามีแค่นี้ (หมายเหตุ สังเกต ไม่ใช้ความคิด สังเกตคือปัญญาสัมมาสังกัปปะ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์เป็น สัมมาสติ รู้อารมณ์ตามที่เขาเป็นจริง เป็นสัมมาทิฐิ)
หลังจากนั้น ถ้าพบกับปัจจุบันอารมณ์ที่รุนแรง เช่น อึดอัด ขัดเคือง หงุดหงิด งุ่นง่าน เจ็บ ปวด ทุกข์ทรมาน ซึ่งเป็นข้างฝ่ายทุกข์ หรือ
ปีติ ซาบซาน สบาย เบา วางเฉย นิ่ง ซึ่งเป็นฝ่าย สุขเวทนา
ให้เปลี่ยนจากการเฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต เป็น นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ ไปโดยไม่ทำอะไรอื่น จนกว่าอารมณ์ที่รุนแรงนั้นจะดับสงบไปต่อหน้าต่อตา
พอกพูนความเห็นหรือรู้ปัจจุอารมณ์ทุกอารมณ์ ดับไปต่อหน้าต่อตานี้ ให้มากขึ้น มากขึ้น ๆ ๆ ๆ และแล้วธรรมเขาจะสรุปตัวเองให้เป็นญาณ มรรค ผล นิพพาน ด้วยตัวของเขาเองครับ
# 47 / เนินฆ้อ / 6 ก.ค. 2554 เวลา 23:20 น.
การเจริญวิปัสสนาภาวนา เป็นชื่อย่อของการเจริญมรรค 8
แต่เวลาปฏิบัติจริงๆนั้นให้สนใจที่ปัจจุบันอารมณ์เพียงอย่างเดียวก็พอ
ลองดูตามรูปภาพตารางสรุปกระบวนการทำงานของมรรค 8 ดังยกมาแสดงนี้
แล้วลองเปรียบเทียบกับสภาวธรรมจริงๆที่เกิดในกายในจิต ว่าจะเป็นไปตามภาพที่แสดงนี้หรือไม่
ลองปฏิบัติจริงดูนะครับ
# 48 / เนินฆ้อ / 1 ส.ค. 2554 เวลา 18:09 น.
เมื่อมรรค 8 ทำงาน จะต้องเป็นไปดังภาพที่แสดงนี้
เมื่อมรรค 8 ทำงาน จะต้องเป็นไปดังภาพที่แสดงนี้
# 49 / เนินฆ้อ / 1 ส.ค. 2554 เวลา 18:12 น.
เชิญบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสวันแม่ด้วยการเข้ารับการอบรมวิปัสสนาภาวนา ณ ศูนย์วิปัสสนาภาวนาพระพุทธบาทเนินฆ้อ บ.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง เริ่ม 12 สค. ถึง เช้า 21 สค. 54 นี้
# 50 / เนินฆ้อ / 1 ส.ค. 2554 เวลา 18:17 น.
เชิญชมสิ่งดีๆ ที่หลายท่านอาจยังไม่มีโอกาสได้ชม ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://buddha-thushaveiheard.com/page_01.html
# 51 / เนินฆ้อ / 1 ส.ค. 2554 เวลา 18:20 น.
กำหนดการอบรมที่เปลี่ยนแปลง
อาจารย์วีระ สุริวงศ์ จะเมตตามาอบรมวิปัสสนาภาวนาให้ที่ศูนย์วิปัสสนาภาวนาพระพุทธบาทเนินฆ้อ อีกเพียง 2 ครั้งคือ
13-21 ตุลาคม 2554
13-21 ธันวาคม 2554
ดังนั้นท่านหรือกลุมที่ประสงค์จะศึกษาและอบรมวิปัสสนาภาวนาตามแนวทาง
อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา สติปัฏฐาน 4 และโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
ขอเรียนเชิญได้เลยนะครับ
ปี 2555 อาจารย์วีระจะเผยแพร่ธรรมอยู่ทางภาคเหนือ และที่จ.เชียงราย
การอบรมในภาคอื่นนั้นขึ้นอยู่กับการเชิญของคณะบุคคลที่ประสงค์จะรับการอบรม
จึงเรียนแจ้งมาให้ทุกท่านทราบครับ
# 52 / เนินฆ้อ / 15 ก.ย. 2554 เวลา 08:10 น.
ถังขยะใจ
ใจเราเปรียบเหมือนถังขยะใบมหึมา เราได้เก็บสะสมขยะ 2 ประเภทไว้ในถังขยะใจนี้ คือ
1.ขยะบุญ
2.ขยะบาป
เมื่อได้นั่งสงบดูกายสังเกตจิตใจทีไรก็เหมือนได้กลับไปเปิดดูขยะที่มีอยู่ในจิต
ใครมีขยะบุญมากก็จะพบแต่ความสะอาด สุขกาย สงบใจไม่เดือดร้อน
ใครมีขยะบาปสะสมไว้มากก็จะได้รับแต่ผลเป็นความทุกข์ เศร้าหมอง เดือดร้อนกายใจ
สมถะภาวนา จะเปรียบเหมือนการพยายามที่จะปิดฝา กลบบัง ถังขยะไว้เพื่อไม่ให้กลิ่นเหม็นหรือภาพอันไม่น่าดูเล็ดลอดออกมา
ส่วนการทำวิปัสสนาภาวนานั้น เปรียบเหมือนการหันกลับเข้าไปเผชิญหน้ากับความเป็นจริงคือขยะหรือผลบุญบาปที่มีอยู่ในใจทั้งหมดแล้วหยิบ โกยเอาขยะทั้งหลายนั้นออกทิ้ง
จนกว่าจะหมดสิ้นไปจากถังขยะ หรือเบาลงจนพอจะยกเททิ้งได้ หมดขยะก็หมดภาระ
1 อารมณ์ คือ ขยะ 1 ชิ้น ถ้าสามารถนิ่งรู้ นิ่งสังเกตมันไปโดยไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จนอารมณ์นั้นและลูกหลานที่เกิดจากอารมณ์นั้น ดับไปต่อหน้าต่อตา ขยะชิ้นนั้น หรืออุปาทานในเรื่องนั้นๆก็จะหายไปจากใจ
ไม่กลับมาเป็นภาระให้ต้องขุดคุ้ย เก็บ โกย อีก
ใครขยันนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ ไม่ช้าไม่นาน ขยะในใจเขาก็จะลดน้อย เบาบาง จนในที่สุดหมดเกลี้ยง เมื่อขยะหมดหรือใกล้จะหมด เบาพอยกได้แล้ว ก็
ทุบถังขยะ คือความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ใจกู ของกู ทิ้งไปเสีย ก็จะหมดที่จะให้ขยะค้างอยู่ หมดภาระเรื่องขยะกันเสียที
ตอนนี้ต้องอดทน มีวิริยะ อุตสาหะ มานะบากบั่น หันหน้าเข้าไปรู้กายรู้จิต ลงปัจจุบัน จนกว่าจะทำลายความเห็นผิดว่าเป็นกูเป็นเราให้ตายขาดจากใจได้ นี่เป็นเรื่องสำคัญอันดับที่ 1
เรื่องของถังขยะใจ เมื่อพิจารณาต่อไปให้ลึกซึ้งปรากฎว่า สอดคล้องและกลมกลืนกับ โอวาทปาติโมกข์ได้เป็นอย่างดียิ่งเลย
ลองพิจารณากันดูซิครับ
1.ละชั่ว คือการไม่เอาขยะบาปเติมลงไปใหม่
2.ทำดี คือการเลือกรับและใส่ลงไปเฉพาะขยะบุญ
3.ชำระจิตของตนให้ขาวรอบ คือเก็บโกยขยะทั้งบุญและบาปออกจนถังขยะเบาพอก็ยกเทขยะในใจทิ้งไปทั้งหมด
สุดท้ายทุบถังขยะใบใหญ่คือ สักกายทิฐิ หรืออัตตทิฐิ ทิ้ง แล้วเพียรเอาขยะออกจากถังขยะใบ
# 53 / เนินฆ้อ / 23 ก.ย. 2554 เวลา 08:57 น.
ในเรื่องของอุปมาว่าถังขยะใจนี้ เมื่ออุปมัยไปให้ดีก็พาให้เข้าใจต่อไปอีกว่า
ถังขยะใจของปุถุชนนั้นมีปกติเปิดรับขยะอยู่ตลอดเวลา เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่กระทบพบเห็น สัมผัส ลงสู่ใจตลอดเวลา ตอบโต้ รับผล และแบกน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นๆ ทุกวันเวลา
ต่อเมื่อได้พบกัลยาณมิตร ได้รู้จักคิด รู้จักศึกษา ได้ปัญญามาอบรม สติธรรมดาๆ ให้กลายเป็นสัมมาสติยิ่งขึ้น จึงได้ฝาถังขยะ อันหมายอุปมาเหมือน สติ มาคอยปิดเปิดถังขยะใจ ได้กุศลสัญญาว่า ต้องละชั่ว ทำดีคือมีสติปิดฝาไม่รับขยะบาป คอยจะเปิดรับแต่ขยะบุญ
ผู้ที่คอยกำกับสติให้ปิดเปิดคือ ปัญญา เหตุผล ความสามารถวินิจฉัยแยกแยะ ดี ชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ
เมื่อก้้าวหน้ามาถึงตรงนี้ก็จะได้เปลี่ยนชื่อตนเองหรือถังขยะใบนี้ว่าเป็น "กัลยาณชน"
# 54 / เนินฆ้อ / 26 ก.ย. 2554 เวลา 06:39 น.
ตอนนี้หลายท่านคงเห็นทุกข์จากการแบกรับน้ำหนักของขยะในใจได้ชัดเจนขึ้นมาบ้างแล้ว จึงเกิดนิพพิทา คือความเบื่อหน่ายอย่างอ่อนๆขึ้น นี่เข้าเค้าแล้วเดี๋ยวคงจะพบทางออกนะครับ
ขยะเต็มถังเราควรจะทำอย่างไร สามัญสำนึกคงตอบว่า "ก็เอาไปเททิ้ง" แต่ขยะในใจนี่จะเททิ้งอย่างไร?
วิธีเอาขยะในใจออกทิ้งนั้นมีหลักง่ายๆคือ
นิ่งรู้ นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ จนปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ ดับไป หมดไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆกับอารมณ์นั้นๆ
สิ่งที่ยากและต้องฝึกหัดจนกว่าจะชำนาญก็คือ ปฏิกิริยาตอบโต้กับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นตามคุณลักษณะของชีวิต คือ "ตอบสนองต่อสิ่งเร้า" นั้น เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ตรงนี้แหละกระบวนการแห่งธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะต้องถูกนำมาใช้ คือกระบวนการของสติปัฏฐาน 4 ซึ่งทั้ง 4 ฐานจะไปรวมลงที่ "วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" คือเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก
จะเอาความยินดียินร้ายในโลกออกได้อย่างไร?
จะเอาออกได้ก็ด้วยความรู้หรือความเห็นธรรมตามความเป็นจริง คือเห็นว่าปัจจุบันอารมณ์นั้นๆเขาแสดงความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาให้เห็น ทุกอารมณ์ไป
ความชัดเจนในการเห็นลักษณะทั้ง 3 นั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัด ลึกซึ้งไม่เหมือนกัน บางท่านชัด อนิจจัง บางท่านชัดทุกขัง บางท่านชัดอนัตตา แล้วเกิดนิพพิทาเบื่อหน่ายอย่างรุนแรงแล้วปล่อยวางความยึดถือหรืออุปาทานความเห็นผิดว่าอารมณ์นี้เกิดกับ กู นั้นไป
นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนเห็นถึงตรงนี้ได้นั่นคือขยะในใจชิ้นหนึ่งถูกเก็บหรือโกยทิ้งออกจากถังขยะใจ
หมั่นทำบ่อยๆ ไม่ช้าจะได้ทราบถึงความเบา โล่ง ในใจ หมั่นทำต่อไป ๆ วันที่ขยะจะหมดจากใจ จนยกถังขยะมาทุบทิ้งได้ก็จะมาถึง
# 55 / เนินฆ้อ / 1 ต.ค. 2554 เวลา 08:50 น.
ขยะบุญ เปรียบอุปมาเหมือนกับ ของหอม ของสะอาด ของเบา ของสวยของงาม เมื่อเปิดดูคราใดก็ได้รับกลับคืนมาแต่ความสุขกาย สบายใจ
ขยะบาป เปรียบอุปมาเหมือนกับ ของเหม็น ของเสีย ของบูด ของเน่า ของสกปรกเมื่อเปิดดูครั้งใดก็ได้รับแต่ความน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน น่าสะพรึงกลัว ให้กลับคืนมาแต่ความ ทุกข์ยาก เดือดร้อน รำคาญ หนักอกหนักใจ
แต่ทั้งขยะบุญ ขยะบาป มีคุณลักษณะที่สำคัญที่เหมือนกัน คือ มีน้ำหนักที่จะต้องเป็นภาระแบกหามไปจนตลอดชีวิต ติดตามไปทุกภพทุกชาติ จนกว่าจะได้พบวิชาวิปัสสนาภาวนาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงจะได้รู้จักวิธีเอาขยะทั้งบุญและบาปออกจากใจ ตลอดจนถึงวิธี ทุบทิ้งถังขยะใจทั้งสองใบ
# 56 / เนินฆ้อ / 8 ต.ค. 2554 เวลา 07:35 น.
จากอุปมาเรื่องถังขยะใจ ถ้าเราพิจารณาต่อไปจะเห็นว่า ถังขยะใจเรานี้มีฝาปิดเปิด ซึ่งอุปมาได้เป็น สติ
สำหรับปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป ฝาถังขยะใจนี้จะเปิดอ้ารับอารมณ์ บุญ บาป อยู่ตลอดเวลา ยกเว้นตอนหลับ จิตเข้าภวังค์
สำหรับกัลยาณชนคนดีนั้น ฝาถังขยะ หรือสติถูกอบรมด้วยศีลและธรรม จึงจะรู้จักปิดไม่รับชั่่วบาป เปิดรับแต่ดี บุญ
สำหรับชาวพุทธ สติจะถูกอบรมด้วย สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งจะปิดไม่รับนิวรณ์ 5 เปิด รับแต่สมาธิ ฌาณ ญาณ ปัญญา
นักสมถะ จะปิดฝาถังไม่รับขยะใหม่
นักวิปัสสนาภาวนาจะ คุ้ยเก็บขยะทั้งบุญและบาปออกทิ้ง
ที่สุดจะเหลือแต่นักวิปัสสนาภาวนา หรือชาวพุทธที่แท้จริงซึ่งจะเพียรชำระจิตของตนให้ขาวรอบด้วยวิปัสสนาภาวนา
http://www.youtube.com/watch_popup?v=jJrzIdDUfT4&vq=medium
# 57 / เนินฆ้อ / 10 ต.ค. 2554 เวลา 20:07 น.
ทำอย่างไรก็ได้ให้ความคิดนึกหยุดระงับไป ใจจะพ้นทุกข์และเป็นสุขทันที
"สัญญาคือความทรงจำเป็นขยะใจและ เป็นอุปาทานตัวการใหญ่ ทำให้เกิดความปรุงแต่ง(สังขาร)ทุกข์จึงเกิดอยู่ร่ำไป
การภาวนาคือการการหยุดความนึกคิดเสียให้ได้
จะหยุดชั่วคราวด้วย สมถะภาวนา
หรือจะหยุดถาวรด้วยวิปัสสนาภาวนา
ก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ชีวาพบสุขแท้จากธรรม..."
การโพสต์นี้ได้ถูกแก้ไขโดย อโศกะ: 8 นาทีก่อน
# 58 / เนินฆ้อ / 5 พ.ย. 2554 เวลา 22:50 น.
4.ความได้ฟังคำสอนอัน "ถูกต้อง" ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความยากข้อที่ 4 นี้ สำคัญมากตรง "คำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" เพราะถ้าไม่ได้รับคำสอนอันถูกต้องย่อมจะทำให้คนผู้นั้น หลงทาง เฉออกจากทาง เห็นผิดเป็นชอบ สำคัญผิด อ้างคำสอนผิด ปฏิบัติผิดและไม่ตรงประเด็น เสียเวลาชีวิตไปมากมายกับเรื่องที่ไม่ตรงประเด็น
ประเด็นแห่งธรรมคำสอนหรือหัวใจคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะได้ทราบเหมือนกันว่า
ทุกครั้งที่มีผู้สงสัยว่าใดคือคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จะทรงตรัสตอบเสมอว่า ธรรมใดที่เป็นเรื่องของทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (หรือสรุปลงมาได้แก่ อริยสัจ 4 และมรรค 8) นั่นคือธรรมคำสั่งสอนของเราตถาคต
เพราะฉนั้นเรื่องใดที่ไม่เกี่ยว ไม่ชี้ไป ไม่น้อมไปสู่ อริยสัจ 4 หรือมรรค 8 จึงพึงสันณิศฐานไว้ก่อนว่าไม่ใช่ธรรมหรือคำสอนที่ถูกต้องของพุทธองค์ ถ้าเราได้หลักการง่ายๆและเป็นสัจจธรรมอย่างนี้แล้วก็ย่อมจะเป็นการง่ายในการวินิจฉัยว่า
"คำสอนที่ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนรวามลงที่ อริยสัจ 4 และ มรรค 8 นี้เท่านั้นเอง"
ถ้าเราจะมีปัญญาสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่า ธรรมมะในวันแรกที่พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์หรือแม้ช่วงเวลาสุดท้าย ในโอวาทปาติโมกข์ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องอริยสัจ 4 ทั้งสิ้น
[url=http://upic.me/show/14195021]

[/url]
# 59 / เนินฆ้อ / 16 พ.ย. 2554 เวลา 22:04 น.
จักรวาลนี้มีควมยากอยู่ 5 อย่างที่กางกั้นสัตว์โลกมิให้พ้นทุกข์ นั่นคือ
1.ความเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นมาในโลก
2.ความได้เกิดเป็นมนุษย์
3.ความได้พบพระพุทธศาสนา
4.ความได้ฟังคำสอนอัน "ถูกต้อง" ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
5.ได้รับคำสอนอันถูกต้องแล้วได้น้อมนำเอาคำสอนนั้นมาใส่ใจปฏิบัติจนสามารถพาตนเองให้หลุดพ้นจากทุกข์ กิเลส ตัณหา อัตตา วัฏฏสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิด
ลองพิจารณากันดูซิครับว่า ยากทั้ง 5 ข้อนี้ ท่านได้ข้ามพ้นมาแล้วกี่ข้อ ยังคงเหลือค้างอีกกี่ข้อครับ
และก็เรียนขอความกรุณาจากท่านผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระไตรปิฎกค้นหาพระสูตรที่เกี่ยวกับความยากทั้ง 5 อย่างนี้มาเล่าสู่กันฟังนะครับ สาธุ
# 60 / เนินฆ้อ / 16 พ.ย. 2554 เวลา 22:14 น.
ในบรรดาขยะใจ หรือ อาสวะ สิ่งหมักดองอยู่ในใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรกนั้น
อวิชชาสวะ หรือขยะ "ไม่รู้" นั้น เป็นต้นเหง้าของการเกิดขยะที่เหลือทั้งหมด
การทำให้รู้ และ " รู้อย่างถูกต้อง" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ผู้ตั้งปารถนาจะทำนิพพานให้แจ้งในชาตินี้พึงสำเหนียกไว้ในใจ และทำให้ได้ก่อน
"รู้ถูกต้องสำคัญที่สุด" นี่เป็นคำพูดของพระอาจารย์รูปหนึ่งที่มาจากเมืองไตย ประเทศพม่า ท่านกล่าวว่า
เมื่อรู้ถูกต้องแล้วย่อมจะทำให้เกิดลำดับของเหตุและผลอย่างนี้
รู้ถูกต้อง ทำให้ เห็นถูกต้อง
เห็นถูกต้องจะทำให้ คิดถูกต้อง
คิดถูกต้อง ทำให้ ทำถูกต้อง
ทำถูกต้อง ก็จักได้รับผลที่ถูกต้อง
ได้รับผลที่ถูกต้องแล้วย่อมจะเป็นคนที่ถูกต้อง
เป็นคนถูกต้องแล้วย่อมจะพูดและถ่ายทอดแต่สิ่งที่ถูกต้อง
ขอให้ผู้ที่รู้คำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าจงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นๆ ในวาระโอกาสจะสิ้นปีเก่า 2524 นี้ด้วยเทอญ
# 61 / เนินฆ้อ / 7 ธ.ค. 2554 เวลา 08:10 น.
งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
"สำรวมกายใจ มานิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า กาย ใจ นี้ เป็น อัตตา ตัวกู ของกู พอกพูนความเห็นถูกต้องว่า กาย ใจ นี้ เป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกูของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส"
สำรวมกายใจ คือ ศีลมรรคทั้ง 3 ข้อ
นิ่ง คือ สมาธิมรรค อันมีสัมมาสมาธินำหน้า สัมมาวายามะหนุน
รู้ คือปัญญามรรค สัมมาทิฐิ
สังเกต คือปัญญามรรค สัมมาสังกัปปะ
ปัจจุบันอารมณ์ คือความจริง ชีวิตจริง ที่เป็นจริงอยู่เพียงชั่วพริบตาเดียว เป็นที่เกิดของสัมมาสติ คือ รู้ทัน ระลึกได้ ไม่ลืม
ปัจจุบันอารมณ์ คือที่่ตั้งทำงานแห่งสติปัฏฐานทั้ง 4
ปัจจุบันอารมณ์ คือที่รวมแห่งโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ
ละความเห็นผิด คือละอวิชชา ความไม่รู้ ความโง่เขลา มืดบอด ละความเห็นผิด คือละสักกายะทิฐิ หรือโสดาปัตติมรรค ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกสำหรับชาวพุทธที่ดีและรู้หน้าที่ทุกคน
พอกพูนความเห็นถูกต้อง คือ การพอกพูนความรู้ ความเห็น ความสัมผัสจริงและยอมรับ อนัตตา
ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส คือ สัมมาวายามะ สัมมัปปทาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5และโพชฌงค์ 7
หน้าที่ทั้งหมดนั้น คือการเจริญมรรคมีองค์ 8
ขอส่งกระทู้นี้เป็นของขวัญปีใหม่ 2555 แด่กัลยาณมิตรกัลยาณชนทุกท่าน ทั่วทุกมุมโลก ทุกชาติ ทุกภาษา
ขอให้ธรรมมะคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระพุทธบิดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจงแผ่ขยายเข้าไปสู่ดวงใจของทุกชีวิตวิญญาณในสากลโลก
ให้ผ่อนทุกข์บรรเทาโศกแก่สัตว์โลกทั้งหลายไปตราบนานแสนนานเทอญ
# 62 / เนินฆ้อ / 1 ม.ค. 2555 เวลา 03:13 น.
Keep your thoughts positive because your thoughts become your words.
Keep your words positive because your words become your behavior.
Keep your behavior positive because your behavior becomes your habits. Keep your habits positive because your habits become your values.
Keep your values positive because your values become your destiny.
จงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นคำพูด
จงระวังคำพูด เพราะคำพูดจะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะการกระทำจะกลายเป็นนิสัย
จงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นบุคลิก
จงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกลายเป็นชะตากรรม
[quote="ใบไผ่เขียว"]สัญญากับปัญญา เกี่ยวพ้นอย่างไรบ้างครับ ? :b12:[/quote]
ความรู้ครั้งแรกที่สุดของชีวิต คือปัญญา เป็นภาวนามยปัญา
หลังจากนั้น ความรู้นั้นจะกลายเป็น รู้ด้วยสัญญา ความจำหมาย หรือคิดนึก เป็นสุตตะและจินตมยปัญญา
ตัวอย่างเช่นเด็กที่เกิดมายังไม่รู้จักความร้อนของไฟ เมื่อเขาถูกไฟไม้มือครั้งแรกแล้ว ปัญญาจะเกิดกับเขา หลังจากนั้นแล้วความร้อนของไฟจะอยู่ในสัญญาของขาชั่วชีวิต
ชาวพุทธที่ยังไม่เคยสัมผัสสภาวธรรมในกายและจิตของตนเองจริงๆสักครั้งหนึ่ง เขาจะรู้ธรรมแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่เมื่อเขาได้นั่งลง หลับตา สำรวมกายใจให้สงบลงมาแล้วเอาสติปัญญา นิ่งรู้ นิ่งสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิต เขาจะได้พบกับกระบวนการทำงานของกายและจิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด อย่างสมบูรณ์แลเข้าใจกะบวนการเกิดสิ่งต่างๆและการกระทำ(กรรม)ต่างๆทีเกิดขึ้นมานกายใจทั้งหมด เมื่อเข้าใจดีแล้ว เขาจะได้รู้จักการบริหารจัดการชีวิตและใช้ชีวิตที่เหลือตอไปอย่างชาญฉลาด ด้วยปรมัตถสัญญาหรือประสบการณ์จริงที่ได้จากการเข้าไปสังเกตการณ์ การทำงานของกายและจิต
สิ่งที่เขาได้รู้ ได้พบเห็นครั้งแรกในการภาวนา คือ "ปัญญา" หลังจากนั้นสิ่งทั้งหมดที่ได้รู้คือ "สัญญา"
มีข้อแม้ที่สำคัญมากที่สุดในการเข้าไปศึกษาการทำงานขกายและจิตนั้น คือ
1.จะต้องไม่มีความเป็นเรา ไปยุ่ง ไปเกิดปฏิกิริยา ดึงดูด ผลักต้าน หรือตอบโต้กับ อาการ ความรู้สึก นึกคิด ต่างๆที่เกิดขึ้นตามกำลังแห่งเหตุปัจจัยในกายและจิต เขาจะต้องทำหน้าที่ของผู้สังเกตการณ์ที่ดี ประดุจนักชีววิทยาที่ไปซุ่มถ่ายทำชีวิตของนกแปลกๆชนิดหนึ่ง (Keep your self & your mind as the best Obsever.)
2.ต้องสนใจใฝ่รู้เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น จึงจะได้ปัญญาที่แท้จริง ถ้าหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ สิ่งที่รู้ทั้งหมดจะเป็นแค่เพียงความรู้จากสัญญา
บทส่งท้าย
สัญญาที่เก็บไว้ในสมองและจิตทั้งหมดเหมือนคำศัพท์ในดิกชันนารี ที่จะช่วยแปลบัญญัติภาษาทั้งหลายให้รู้เรื่องด้วยความคิด และแปลปรมัตถบัญญัติทั้งหลายให้รู้ที่ใจ เป็นบัญญัติภาษาของใครของมัน
# 63 / เนินฆ้อ / 25 ม.ค. 2555 เวลา 09:05 น.
สตินั้นเป็นผลของจิตที่ถูกอบรมด้วยปัญญา
สติ อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.สติธรรมดา หรือสติตามธรรมชาติ คือสติที่ถูกอบรมด้วยปัญญาตามธรรมชาติ เช่น การรู้ร้อน รู้หนาว รู้เจ็บรู้ปวด รู้สบาย รู้สุข รู้ทุกข์ ตัวอย่างเช่นเด็กทารกที่ไม่เคยรู้เรื่องความร้อนของไฟ
เมื่อเขาถูกไฟไหม้มือครั้งแรกที่สุดในชีวิต ปัญญาจะเกิดขึ้นมารู้จักความร้อนของไฟ หลังจากนั้น ความร้อนของไฟจะเป็นสัญญา ที่ถูกจดจำไว้ แล้วสติ จึงจะเกิดขึ้นมารู้ทัน ระลึกได้ ไม่ลืม ที่จะคุ้มครองตัวเองให้ระวังความร้อนจากไฟ ไม่ให้ถูกไฟไหม้มือหรือส่วนอื่นๆของร่างกายอีก
2.สัมมาสติ คือสติที่ถูกอบรมด้วยสัมมาปัญญาอันเป็นสุตตมยปัญญาก่อนโดยน้ำธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้เรื่อง อริยสัจ 4 ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
....ปัญญาสัมมาทิฐิ จะอบรมสติธรรมดาให้เป็นสัมมาสติ เบื้องแรกจะเป็นสัมมาปัญญาและสัมมาสติโดยทฤษฎีด้วย สุตตมยปัญญาเสียก่อน หลังจากนั้น จินตมยปัญญาจะมาอบรมปัญญาและสติให้เป็นสัมมายิ่งๆขึ้นไปด้วยเหตุและผล เมื่อถึงที่สุดได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อทดสอบและพิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้า สัมมาทิฐิและสัมมาสติที่สมบูรณ์เต็มร้อยจึงจะเกิดขึ้น รวมความว่า ปัญญาและสติ จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามลำดับแห่งธรรมเป็นสัมมามากขึ้นเรื่อยๆ จาก 5...10..15....20....25...50...75..จนถึงเป็นสัมมาเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในที่สุด
.....ดังนั้นการที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกเอาปัญญามรรค สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ มาเป็นมรรค 2 ข้่อแรกก่อนจึงมีนัยยะและอรรถสำคัญซ่อนอยู่เพราะ เมื่อมรรคข้อที่ 1 เป็นสัมมา มรรคข้อที่ 1 นั้นแหละจะไปเป็นผู้อบรมมรรคที่เหลืออีก 7 ข้อ ให้เป็นสัมมาตามกันไปหมด
ในที่สุดกระทู้นี้จึงเป็นการมาบอกกล่าวว่า "ขอให้เห็นและให้ความสำคัญในการเจริญปัญญาให้เป็นสัมมาปัญญานำหน้าก่อน แล้วศีล สติ สมาธิ จึงจะเป็นสัมมาตาม แล้วนำไปสู่ มรรค ผล นิพพาน ที่ถูกต้อง เรียบง่ายและเป็นไปตามธรรมในที่สุด
# 64 / เนินฆ้อ / 10 ก.พ. 2555 เวลา 06:58 น.
เมื่อยังไม่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในโลกเราจำแนกคนหรือบุคคลออกได้เพียง 2 จำพวก
แต่พอมีพระพุทธศาสนาอุบั้ติขึ้นในโลกเราจำแนกบุคคลออกได้ถึง 5 จำพวกดังต่อไปนี้
บุคคล ๕ จำพวก
๑.ปุถุชน คนชั่ว คนธรรมดา ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์ ไม่รู้จักแยกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ล่วงศีล ๕ อยู่เป็นนิจ
๒.กัลยาณชน คนดี ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล รู้จักแยกแยะดีชั่ว บาป บุญ คุณ โทษ ไม่ล่วงศีล ๕
๓.เตรียมชาวพุทธ คือผู้ที่กำลังศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาวิธีทำวิปัสสนาภาวนา วิธีเจริญมรรค ๘ จนเข้าใจแจ่มแจ้งและมีความรู้ทางทฤษฎีถึงสุดยอดคำสอนของพุทธศาสนาคือ สัพเพธัมมา อนัตตา
๔.ชาวพุทธ คือผู้ที่ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เจริญมรรค ๘ ละความเห็นผิดเป็นอัตตา พอกพูนความเห็นถูกต้องเป็นอนัตตา อยู่ทุกวันเวลานาทีที่ระลึกได้และมีโอกาส
๕.อริยบุคคล คือผู้ที่เจริญเหตุทำวิปัสสนาภาวนาจนได้รับผลถึงผลคือมรค ๔ ผล ๔ อริยบุคคลมี ๔ จำพวกคือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหันต์บุคคล
# 65 / เนินฆ้อ / 19 มี.ค. 2555 เวลา 21:10 น.
เมื่อถึงเวลาที่จะนั่งซักใจหรือชำระจิตของตนให้ขาวรอบจริงๆนั้น แทบไม่ต้องทำอะไรเลย
มีภาระกิจอยู่เพียงแค่ให้สติและปัญญาเขาได้ทำหน้าที่ตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีอะไรไปขัดข้องขัดขวางการทำงานของสติและปัญญา
วิปัสสนาภาวนานั้นมีหลักง่ายๆที่เราต้องอบรมสติของเราให้รู้แล้วสติจะได้กำกับกายใจให้อยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องตลอดเวลา
หลักของวิปัสสนาภาวนาที่จำง่ายๆคือ
"สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์" โดยไม่ต้องทำอะไรอื่น ความนิ่งรู้นั้น มี "รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ อันได้แก่สัมมาสติ"
"รู้ถึงความจริงของอารมณ์ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป" (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
ในปฏิบัติการจริงๆ สิ่งสกปรกในใจเขาจะลอยฟ่องแสดงตัวออกมาให้เห็นเป็นระยะๆตลอดการภาวนา ผู้ชำระใจก็มีเพียงหน้าที่
"รู้ทัน....และ.....รู้ถึง".....โดยไม่ต้องทำอย่างอื่น แล้วใจจะถูกซักถูกชำระเองโดยอัตโนมัติ
# 66 / เนินฆ้อ / 3 พ.ค. 2555 เวลา 19:45 น.
บรรดาหลักธรรมและความรู้ทางธรรมทั้งหมดที่เราได้จากการศึกษา สนทนา อ่าน เขียน ฟังหรือที่เรียกว่า "ปริยัติศาสนา"นั้นเปรียบเหมือนความรู้ทฤษฎีในการซักผ้า ซึ่งจะบอกว่าต้องใช้ภาชนะ อุปกรณ์อะไร ผ้าชนิดใดใช้น้ำใช้ผงซักฟอกเท่าไหร่ ขยี้หรือซักนานเพียงใด ฯลฯ
การซักผ้าครั้งแรกๆด้วยตนเองเราก็คงต้องกางตำราทำตามตำราบอกไปก่อน จนได้เห็นผลการซักจริงๆออกมา แล้วจึงมาวิเคราะห์ผลการซักนั้นว่าได้ผลดีมากน้อยเพียงไร ขาดอะไร เกินอะไร ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม ตัดลดอะไร พอซักไปกางตำราดูไป วิเคราะห์ผลไปสักหลายๆครั้ง เราจะเกิด ทักษะและประสบการณ์จริงขึ้นมา
หลังจากนั้นปัญญาจะเริ่มพลิกแพลงดัดแปลง ปรับปรุงวิธีการซักให้ดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยมีอะไรที่นอกเหนือจากตำรา
จนสามารถซักผ้าด้วยตนเองได้สะอาดที่สุด
การซักใจให้หมดจดจากขยะก็ดุจเดียวกัน ขอให้ทุกท่านอย่าได้รังเกียจทฤษฎี หรือปริยัติศาสนา ถ้าศึกษาแต่เพียงพอดีที่จะใช้กับการปฏิบัติแล้วลงมือฝึกหัดทำไปจนได้ทักษะประสบการณ์แล้วท่านจะค้นพบวิธีชำระใจอันเป็นวิธีการเฉพาะตัวของท่านด้วยตัวของท่านจนสามารถลงมือซักใจของท่านให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วได้ด้วยตนเอง
0
# 67 / เนินฆ้อ / 16 พ.ค. 2555 เวลา 20:53 น.
เส้นผม
บังภูเขา
เงา บังความจริง
เส้นผมบังภูเขา เป็นคำคมที่ซ่อนความหมายไว้ภายในคอยเตือนใจให้ฉุกคิดพิจารณา รู้ตัวขึ้นมาวิเคราะห์ตนเอง
ความเห็น(ทิฏฐิ)เป็นเหมือนเส้นผมเส้นเล็กๆ ซึ่งถ้าเป็นความเห็นถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ)จะเป็นการเปิดธรรม เปิดเผยความจริงของธรรมชาติออกมาให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้นและดึงเอาสิ่งดีๆ เช่นความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ออกมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่
ถ้าเป็นความเห็นผิด(มิจฉาทิฎฐิ)ความเห็นผิดนั้นจะกลายมาเป็นดุจเส้นผมเส้นเล็กๆที่บังธรรมอันดุจภูเขาอันยิ่งใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่เฉพาะหน้า ณ ปัจจุบันขณะของเจ้าของดวงจิตดวงนั้น
ความเห็น(ทิฏฐิ)จะผิด(มิจฉา)หรือถูกต้อง(สัมมา)นั้นเริ่มต้นมาจากไหน?
เริ่มต้นมาจากการศึกษา(สุตตมยปัญญา)ถ้าเมื่อครั้งแรกของชีวิตได้พบกัลยาณมิตรผู้รู้จริงถึงจริงถ่ายทอด อบรม ให้ความรู้ ที่ถูกต้องจริงๆตามธรรม บุคคลผู้นั้นย่อมจะเกิดความเห็นถูกต้องขึ้นในจิตเสียตั้งแต่เริ่มต้น ไม่หลงทาง ไม่เนิ่นช้า พบมรรคาแห่งการใช้ชีวิตที่ได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ให้คุ้มค่า พาตนเดินไปบนทางอันเอกตามอย่างพระบรมครูสัพพัญญูพุทธเจ้าเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน
ในตัวอย่างของจริงเมื่อครั้ง ๔๕ ปีก่อนพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเป็นมหากัลยาณมิตรของผู้คน หมู่ชนคนที่ได้พบและฟังธรรมศึกษาธรรมอันเฉียบแหลมตรงจริตจากพระองค์เพียงเรื่องเดียว สูตรเดียว หรือคาถาเดียว เมื่อน้อมพิจารณาตามเห็นจริง สัมมาทิฏฐิก็เกิดขึ้นจนทำลายความเห็นผิด(สักกายทิฐิ)ให้ขาดสะบั้นลงทันที บางองค์บางท่านก็เจริญรุดหน้าในเวลารวดเร็วจนทำให้ความยึดผิด(มานะทิฏฐิ)ขาดสะบั้นตาม
๒
ข้อสังเกตที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ตอนนั้นยังไม่มีคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือตำหรับตำราของครูบาอาจารย์มากมายเหมือนเช่นสมัยนี้ ความสับสนวุ่นวายไม่ตรงประเด็นธรรมทั้งหลายคงจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ตำราน้อยคนบรรลุธรรมมาก ตำรามากคนบรรลุธรรมน้อย อยากจะกล่าวว่าอย่างนี้หรือ หรือพูดอีกทีว่า ปริยัติยิ่งมากและวิจิตรพิสดารไปเท่าไร จำนวนผู้คนที่จะได้หลุดพ้นเข้าถึงธรรมก็ลด ลงมากเท่านั้น เป็นปฏิภาคผกผันกันมาเช่นนี้โดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
ฤาปริยัติอันมากมายวิจิตรพิสดาร ถกเถียงกันไม่รู้จักจบทั้งหลายเหล่านี้ จะมากลายเป็นเส้นผมบังภูเขา เงา บังความจริง นี่เป็นสิ่งที่เราจะได้มาวิเคราะห์วิจัยให้เกิดสติปัญญาอันชอบและถูกทางกันสักครั้งสักครา
เมื่อวิเคราะห์ดูจากพุทธประวัติเราจะได้ข้อสังเกตที่สำคัญออกมาอย่างหนึ่งว่าก่อนการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า มีสภาวธรรมที่น่าจะเป็นประโขชน์สำหรับผู้ที่หวังจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าดังนี้
๓
๑.ค่านิยมหรือแฟชั่นของผู้คนสมัยนั้นคือการแข่งขันกันค้นหาโมกขธรรมหรือความสุขที่เป็นอมตะ
๒.เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นหาธรรมด้วยคำถามที่ป้อนให้กับพระองค์เองตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ครั้งที่พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปงานแรกนาขวัญและเมื่อทรงเห็นเทวทูตทั้ง ๔ ครั้งที่เสด็จประพาสพระนครกบิลพัสดุ์ คำถามที่พระองค์ตรัสถามนายฉันนะสรุปได้ว่า ฉันนะ เราจะต้องแก่ เราจะต้องเจ็บ เราจะต้องตาย เราและยโสธราพิมพาและพระราชบิดาจะต้องเป็นอย่างนี้ละหรือ นี่คือคำถามที่สำคัญอันเป็นต้นเหตุและแรงบันดาลใจให้พระองค์ทรงค้นหาต่อไปว่า ทำอย่างไรเราจึงจักไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย?
คำถามเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ถ้าใครเริ่มต้นอย่างนี้ การค้นหาให้พบวิธีปฏิบัติที่จะทำให้หลุดพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จักไม่เป็นของยากเลยสำหรับบุคคลเหล่านั้นและจะไม่ยากเหมือนอย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับ เพราะสูตรสำเร็จสำหรับการพ้นทุกข์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธ
๔
เจ้า ได้ทรงค้นคว้าหามาพระราชทานไว้ให้พวกเราทั้งหลายแล้ว เพียงแต่พวกเราจะต้องไปศึกษาให้รู้ให้เข้าใจถึงแก่นแท้แก่นธรรมหรือหัวใจการค้นพบของพระบรมศาสดา แล้ววิธีการที่จะค้นหาให้พบโมกขธรรมย่อมจักเกิดตามมาเป็นวิธีการเฉพาะตน ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนได้สร้างสมมา
(มีต่อ)
# 68 / เนินฆ้อ / 23 พ.ค. 2555 เวลา 20:45 น.
[url=http://upic.me/show/14194543]

[/url]
ความสามารถในการปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในจิตมนุษย์ทุกคน
สัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้ให้มากับมนุษย์ทุกคนอย่างเสมอเหมือนกันหมด ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความสังเกตดีมีสติปัญญาเฉียบแหลมเขาก็สามารถจะนำเอาค้นเอาของดีที่ธรรมชาติให้มามาใช้ประโยชน์ได้ เจ้าชายสิทธัตถะก็เช่นกัน จากคำถามที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจักไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย? ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเหตุให้พระองค์เสด็จหนีออกผนวชเพื่อค้นหาคำตอบ เมื่อแรกพระองค์ก็ทำตามอย่างแฟชั่นของคนยุคสมัยนั้นคือแสวงหาอมตะธรรมด้วยการไปศึกษาวิชากับฤาษีที่เก่งที่สุดของยุคนั้น ทรงลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ความ
จริงด้วยตนเองแล้วตามวิธีการทางสมถภาวนา
๕
ของฤาษีทั้งหลาย ทรมาณพระวรกายอย่างยิ่งยวดเพื่อค้นหาคำตอบที่เหนือกว่า ก็มิได้รับคำตอบ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงทิ้งบัญญัติคือเรื่องราวความรู้ วิธีการปฏิบัติตามอย่างแฟชั่นสมัยนั้นกลับมาใช้ความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ คือสัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ปลุกสติปัญญาสมาธิขึ้นมาสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิตเพื่อจะศึกษากระบวนการทำงานของกายและจิตว่ามาเกี่ยวข้องกับการเกิด แก่ เจ็บตายอย่างไร อะไรเป็นเหตุเป็นผล เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นหาคำตอบให้ได้ว่า
ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย
ในที่สุดพระองค์ก็ทรงได้รับคำตอบและได้ผลพลอยได้จากการค้นหาของพระองค์ คืออรหัตมรรคอรหัตผลและนิพพานอมตะสุข คำตอบที่พระองค์ทรงได้รับนั้นพระองค์ได้ทรงสรุปไว้เป็นหัวใจและขอบเขตแห่งธรรมดังความในปฐมเทศนาอันสรุปได้ว่า
๑.ให้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ข้างแล้วเดินตามทางสายกลางอันมีอยู่ ๘ ข้อ
๒.สิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบคือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์ควรกำหนดรู้ พระองค์ได้ทรงเพียรกำหนดรู้ และพระองค์ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ พระองค์ได้เพียรละ และทรงละได้แล้ว นิโรธควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทรงเพียรทำให้แจ้ง และทรงทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคควรเจริญ พระองค์ได้ทรงเพียรเจริญและเจริญได้แล้ว หมดสิ้นแล้วเหตุแห่งทุกข์ หมดสิ้นแล้วปัญหา พระองค์ทรงได้รับคำตอบโดยสมบูรณ์แล้วจึงได้ตรัสบอกกับปัญจวัคคีย์ทั้งหลายว่า เราอาจหาญที่จะบรรลือสีหนาทประกาศธรรมนี้ต่อสัตว์โลกทั้งหลายได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ข้อสังเกตคือวิธีปฏิบัติภาวนาของพระองค์
พระองค์ได้ทรงใช้วิธีธรรมชาติคือปล่อยให้กระบวนการทำงานของสติปัญญาและปฏิกิริยาภายในกายและจิตดำเนินไปตามธรรมชาติ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว สติ ปัญญาก็จะทำหน้าที่ รู้ทัน ดู สังเกต พิจารณา ค้นหาความจริงลึกเข้าไปๆโดยไม่ให้มีปฏิกิริยาใดๆมาทำให้พระองค์ละความเพียรในการสังเกตการณ์ คำตอบโดยธรรมชาติจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ จนถึงที่สุดของปฏิกิริยาชีวิต
พระองค์ก็ได้ทรงค้นพบ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งความเวียนว่ายตายเกิด
หลังจากการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์จนทรงได้รับพระนามว่า สัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาได้ทรงใช้เวลาชีวิตที่เหลืออยู่ตลอด ๔๕ พรรษา เมตตาโปรดแสดงธรรม สั่งสอนธรรมแก่ชาวโลก
ด้วยพระปรีชาญาณอันเลิศของพระบรมครูการสอนของพระองค์จึงมีประสิทธิภาพสูงมาก การแสดงธรรมครั้งหนึ่งๆนั้นทำให้ผู้คนเกิดดวงตาเห็นธรรมและบรรลุธรรมได้ความเป็นอริยบุคคลจำนวนมากมาย พระธรรมแต่ละบทแต่ละเรื่อง คาถาแต่ละบาท พุทธวัจนะแต่ละคำล้วนทำให้ผู้คนบรรลุธรรมได้ทั้งสิ้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว คำสอนทั้งหมดนั้นจึงถูกรวบรวมบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อันทำให้เกิดความสะดวกในการค้นคว้าศึกษาธรรมของคนรุ่นหลัง แต่ความสะดวกนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เส้นผมบังภูเขา เงาบังความจริงขึ้นมา อะไรคือเส้นผม อะไรคือเงา ขอให้เฝ้าติดตามกันต่อไปครับ
# 69 / เนินฆ้อ / 26 พ.ค. 2555 เวลา 07:23 น.
[url=http://upic.me/show/14563548]

[/url]
ท่านอัญญาโกณฑัณยะ และปัญจวัคคีย์ที่เหลืออีก ๔ รูปบรรลุธรรมจนถึงความเป็นพระอรหันต์ด้วยความรู้ภาคปริยัติเพียง 2 เรื่อง คือ อริยสัจ ๔ จากปฐมเทศนา และอนัตตลักขณสูตร
ชฎิลดาบส ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร บรรลุธรรมจนถึงพระอรหันต์ด้วยอาทิตตปริยายสูตร
ท่านอุปติสสะและโกลิตตะ คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะอรรคสาวก บรรลุธรรมเป็นโสดาบันทันทีด้วยคาถา เยธฺมมาหุปพฺพวา เตสฺเหตํ ตถาคตา เตสฺญจโย นิโรโธจ เอวํวาที มหาสมโณธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุเหล่านั้น และวิธีดับเหตุเหล่านั้น
นี่คือวาทะของพระมหาสมณะ แล้วเมื่อทำความเพียรต่ออีก ๗ วัน ๑๕ วันก็ได้บรรลุธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์
ท่านองคุลีมาลวางดาบเปื้อนเลือดลงฟังอริยสัจจธรรมก็ได้บรรลุธรรมโดยลำดับ
ท่านพาหิยะ ได้ฟังข้อธรรมเรื่องอนัตตา คือสรุปว่า เมื่อไม่มีพาหิยะ(หรือเรา หรืออัตตาหรือ
๙
กู)ในที่ใดๆ ก็ย่อมไม่มีอะไร เพียงแค่นั้นก็บรรลุธรรมโดยลำดับจนถึงความเป็นพระอรหันต์
แต่ท่านโพธิละผู้ท่องจำข้อธรรมเก่งจนถูกเปรียบว่าเหมือนพระไตรปิฎกเดินได้ กลับเนิ่นช้า
คำสอนของท่านสมัยเป็นภิกษุปุถุชนเพียง ๑ ๒ สูตรหรือคาถา พุทธภาษิตเพียงไม่กี่ประโยค ก็ทำให้ลูกศิษย์ของท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ไปเป็นจำนวนมาก แต่ตัวท่านเองกลับบรรลุธรรมช้าจนพระพุทธบิดาต้องมาทรมาณมานะทิฏฐิของท่าน จนเป็นเหตุให้ท่านได้ไปขอเรียนธรรมมจากอรหันต์สามเณรน้อย จึงได้บรรลุธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ ข้อธรรมของสามเณรน้อยก็เป็นแค่ปริศนาธรรมเรื่องจอมปลวกมีรู ๖ รู ปิดเสีย ๕ รูแล้วคอยจับตัวเหี้ยที่อยู่ในจอมปลวกที่รูที่ ๖ เพียงเท่านนี้ ท่านโพธิละใช้ปัญญาและสติพิจารณาตีความแตก ก็ได้บรรลุธรรม
หลายท่านอาจนึกค้านในใจว่า ก็ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้บำเพ็ญบารมีมาหลายกัปป์หลายกัลป์หลายอสงขัย จึงเป็นเหตุให้บรรลุธรรมเร็ว ก็เลยอยากจะให้ทุกท่านได้ลองฉุกคิดว่ามนุษย์ทุกคน จิตวิญญาณทุกดวงล้วนได้เวียนว่ายตายเกิด
๑๐
ในภพภูมิทั้ง ๓๑ ภพภูมิบำเพ็ญบารมี กุศลอกุศลกันมานับชาติไม่ถ้วนเช่นกัน จะไม่มีปูมหลังพอที่จะหนุนสติปัญญาในชาตินี้ให้ได้ฟังธรรมศึกษาธรรมอย่างจริงจังและลึกซึ้งเพียงสูตรเดียว คาถาเดียว ภาษิตเดียว หรือ สองสาม แล้วมีปัญญา สติ สมาธิ พิจารณาตาม จนเกิดดวงตาเห็นธรรมได้
แต่เท่าที่สังเกตการณ์มานานในลานธรรมทั้งหลาย มีผู้รู้มากมายที่เชี่ยวชาญในการอ้างคัมภีร์พระไตรปิฎกเกือบจะเหมือนท่านโพธิละเถระในครั้งพุทธกาล ฟังการปุจฉาวิสัสชนาธรรมกันแล้วเหมือนพระอริยเจ้ามาสนทนากัน อันน่าจะเป็นเครื่องหมายบอกว่ามีพระอริยเจ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยก่อนๆเพราะการศึกษาธรรมสมัยนี้ง่ายมากเมื่อมีสื่อหนังสือ เอกสาร แถบเสียง ทีวี วิดิโอ อินเตอร์เนท คอยอำนวยความสะดวกให้ในการศึกษาธรรม ฟังธรรม
แต่ทำไมจำนวนพระอริยเจ้ากลับลดน้อยถอยลงไปทุกทีจะหาให้ได้กราบไหว้สักทีก็แสนยาก เป็นเพราะอะไรหนอ อะไรมาเป็นเงา อะไรมาเป็นเส้นผมปิ ดบังตาคนในสมัยปัจจุบัน?
พูดมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจเริ่มนึกค้านว่า
๑๑
ผู้เขียนกำลังต่อต้านการศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆหรือเปล่า ขอกราบเรียนว่าอาจเคยมีจิตต่อต้านเมื่อครั้งใหม่ๆ แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมไปพิสูจน์ความจริงไปนานๆ ได้ย้อนวิเคราะห์ สังเกตการณ์จึงได้ข้อคิดสะกิดใจว่า
ปริยัติทั้งหลายทั้งในและนอกคัมภีร์นั้นดีแน่ แต่พึงควรเลือกเฟ้นศึกษาเจาะลึกเฉพาะสูตรหรือคาถา ภาษิต ที่ประทับใจ โดนใจจริงๆ สักเพียง ๑ หรือ สองสาม จนได้หลักปฏิบัติเฉพาะตน นำมาค้นคว้าทดลอง พิสูจน์หาความจริงด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก็น่าจะเป็นที่หวังว่าจะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม
อย่าเอามากมายเกินไปจนสับสนอย่าลืมว่า ๑ สูตรก็เหมาะกับ ๑ คนหรือ ๑ กลุ่มชนที่จริตนิสัยคล้ายคลึงกัน ถ้าเรารับมาหลายๆสูตรโดยไม่ทำความลึกซึ้งถึงแก่นในแต่ละสูตร ปริยัติทั้งหลายที่รู้มานั่นแหละจะขัดกันเองให้เกิดวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรม
ก่อนที่เราจะสนทนากันต่อไปขอกราบเรียนว่า กระทู้นี้เป็นเพียงความรู้เพื่อกระตุ้นต่อมสัมปชัญญะ คือสติ ปัญญา และความสามารถตาม
๑๒
ธรรมชาติของมนุษย์ให้ลุกตื่นขึ้นมาทำงานได้โดยไร้สิ่งกีดขวาง มิใช่ความรู้เพื่อจดจำไปเป็นหลักปฏิบัติอย่างไร ท่านผู้อ่านต้องไปใช้วิจรณญาณหลังการถูกกระตุ้นแล้วค้นหาวิธีการปฏิบัติเฉพาะตัวเอาเอง
เราได้กล่าวถึงมุมมองทางด้านความจริง เส้นผมและเงาผสมปนกันมาพอสมควรแล้ว บัดนี้เราควรจะได้เจาะลึกลงไปในแง่มุมมด้านความจริงที่ถูกปิดบังกันดูบ้างนะครับ
ความจริงที่ถูกปิดบังอันแรกก็คือ
สติ ปัญญา และความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์
มนุษย์และสัตว์โลกทุกชีวิตจะมีความสามารถตอบโต้และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกายและชีวิตจิตใจโดยอัตโนมัติด้วยสัญชาติญาณแห่งการเอาชีวิตรอด (Survival for fited)สัญชาตญาณนี้จะระดมเอา สติ ปัญญา สมาธิ
จิตสำนึก จิตใต้สำนึกและความสามารถทั้งหมดที่ธรรมชาติประทานมาให้ออกมาแก้ไขปัญหาของแต่ละคนแต่ละชีวิต ตัวอย่างที่พื้นๆง่ายๆเช่นสมมุติว่าบุคคลผู้หนึ่งไปนั่งอยู่ข้างเตาไฟที่เป็นเตาถ่าน
๑๓
บังเอิญ ถ่านไฟแตกกระเด็นมาตกลงที่หน้าตักของเขา ปฏิกิริยาการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของเขาจะทำให้เกิดการปัดหรือสะบัดเอาก้อนถ่านไฟออกไปให้พ้นตัวโดยเร็วที่สุดโดยไม่มีการคอยไปนึกถึงหลักทฤษฎี วิธีการปฏิบัติใดๆในการที่จะเอาก้อนถ่านไฟที่ลุกแดงออกจากตัว ความข้อนี้ขอให้ทุกท่านสังเกตให้ดี พิจารณาให้ลึกซึ้งโดยนึกเทียบจากกับความเป็นจริง แล้วจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมากกับการปฏิบัติธรรม
ถ้าบุคคลผู้นี้ไม่เคยศึกษาความรู้อะไรมาก่อนเกี่ยวกับเรื่องการดับไฟหรือแก้ปัญหาการถูกลูกไฟตกใส่ตัว ปฏิกิริยาการแก้ไขปัญหาของเขาจะเกิดขึ้นและเป็นไปโดยธรรมชาติโดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าบุคคลผู้นี้ถูกสอนมาโดยหลักทฤษฎีว่าถ้ามีลูกไฟเหมือนอย่างก้อนถ่านไฟลุกแดงมากตกใส่ตัวคุณจะต้องทำอย่างนี้ ข้อ 1 2 3 4
เมื่อคนผู้นี้ถูกก้อนถ่านไฟร้อนแดงตกใส่ตัวเขา ความคิดตามหลักทฤษฎีที่เขาเรียนรู้มาจะเกิดขึ้นมาก่อนแล้วเขาก็ปฏิบัติการแก้ไขไปตามหลักทฤษฎีอันนั้นจนจบ สิ่งที่จะได้เป็นข้อสังเกตจากตัวอย่างนี้ก็คือ ปฏิกิริยาในการดับไฟ หรือเอาก้อนไฟร้อนออกจากตัวของเขาจะเชื่องช้าไปมากกว่าปฏิกิริยาการตอบโต้แก้ไขโดยธรรมชาติดังตัวอย่างแรกที่ยกมา
เรื่องนี้ท่านอ่านแล้วอาจดูงงว่าผู้เขียนต้องการให้รู้อะไร? ผู้เขียนต้องการให้ท่านเกิด
สิ่งที่ว่าความรู้ ความเห็นและความคิดที่ถูกต้องตามธรรมขึ้นมาในใจของท่านเอง อย่างที่ฝรั่งเขาเรียกว่า ไอเดีย ทางไทยเราว่า ปิ้ง หรือ แว๊ปขึ้นมาในจิตค้นพบวิธีการด้วยตนเอง
# 70 / เนินฆ้อ / 30 พ.ค. 2555 เวลา 07:21 น.
การปฏิบัติธรรมแบบไร้กระบวนท่า
ทุกๆท่านที่กำลังมาศึกษาหาความรู้ สนทนาธรรม พิสูจน์ธรรม ทดสอบธรรม วิเคราะห์วิจัยธรรม และปฏิบัติธรรมกันอยู่ทุกวันนี้คงจะมีความเห็น รูปแบบ วิธีการปฏิบัติไปตามแนวทางที่ตนเองเชื่อถือศรัทธาและเห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับตนเองในขณะนี้ แต่ท่านทั้งหลายทราบไหมว่า เมื่อเกิดความยึดถือในรูปแบบวิธีการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้ว รูปแบบวิธีการเหล่านั้นจะไปปิดกั้นรูปแบบวิธีการโดยธรรมชาติที่ธรรมชาติได้สร้างสรรให้มาไว้กับชีวิตมนุษย์ทุกคน
๑๕
รูปแบบหรือวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดก็คือวิธีการตามที่ธรรมชาติให้มาหรือวิธีการที่ใกล้เคียงกับวิธีที่ธรรมชาติให้มา
วิธีการที่ธรรมชาติให้มานั้นเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและเป็นไปเองโดยธรรมชาติอย่างเป็นอัตโนมัติ ที่เราเรียกกันว่า สัญชาติญาณ
มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายนั้นต่างก็มีสัญชาติญาณในการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ สิ่งขัดข้องและปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาทำงานเองโดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่างเรื่องก้อนถ่านไฟแดงตกลงใส่ตัวคน ที่ยกมาให้ดูแล้วข้างต้น
ถ้าเราสามารถที่จะจัดการให้ร่างกายและจิตใจได้อยู่ในท่าทางและสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม เราสามารถจะปลุกเอาสัญชาติญาณโดยธรรมชาติของกายและจิตนี้ขึ้นมาเป็นวิธีปฏิบัติธรรมโดยธรรมชาติได้
ท่าทางและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั้นเป็นอย่างไร?
ท่าทางที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมแบบธรรมชาตินั้นก็คือ การนั่งขัดสมาธิเฉยๆ โดย
เมื่อนั่งลงแล้วหลังจากนั้นก็ปล่อยให้
๑๖
กระบวนการทางธรรมชาติในกายและจิตเขาทำงานไปตามหน้าที่ของเขา อายตนะหรืออวัยวะสำหรับรับการสัมผัสทั้ง 6 ก็เปิดกว้างให้ทำงาน
ปัญญา สติ สมาธิ ก็ให้เขาได้ทำงานตามหน้าที่โดยธรรมชาติไปอย่างอิสระเสรี โดยมิให้มีความเห็นหรือรูปแบบ วิธีปฏิบัติใดไปกำหนดกฎเกณฑ์ไว้
หน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็มีเพียงรักษากายใจให้สงบนิ่งเฉยให้ได้ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติที่กำหนดไว้
อาจเป็นครั้งละ ประมาณ 1 ชั่วโมงหรือมากกว่าแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคล
ลองทำกันดูนะครับ หลังจากจัดการให้ร่างกายจิตใจได้อยู่ในท่าที่ถูกต้องแล้ว สำหรับผู้ใหม่ สิ่งแวดล้อมก็พึงควรให้เป็นที่สงบปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ แต่ถ้าชำนาญแล้ว จะไปนั่งปฏิบัติในสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ได้ เพราะยิ่งมีสิ่งกระทบสัมผัส มีสิ่งขัดขวางมากเท่าไหร่ ผู้ปฏิบัติก็จะได้เห็นได้รู้กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของกายและจิตมากเท่านั้น
เท่าที่กล่าวมาหลายท่านก็อาจคิดว่า นี่ก็คือวิธีการหรือกระบวนท่าอย่างหนึ่งนั่นเอง ถูกต้อง
อยู่นะครับเพราะเมื่อแรกเริ่มหรือสำหรับผู้ใหม่ก็
๑๗
อาจจำเป็นต้องมีการกำกับเบื้องต้นนิดหนึ่ง แต่พอได้ลงมือทำไปไม่ช้าก็จะเรียนรู้ด้วยตนเองว่า การปฏิบัติธรรมแบบไร้กระบวนท่านั้นควรจะเป็นอย่างไร?
คำถามที่ป้อนให้กับตนเองเป็นดุจกุญแจไขระหัสแห่งธรรมชาติ
ท่านที่ได้เคยศึกษาพุทธประวัติและประวัติการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า อรรคสาวก มหาสาวก และปกติสาวกทั้งหลายถ้าสังเกตให้ดีจะได้พบว่าปริศนาหรือคำถามหรือข้อความบางประโยค เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ไปปลุกสัญชาติญาณแห่งการอยากรู้อยากเห็น สัญชาติญาณแห่งการแก้ไขปัญหาโดยธรรมชาติของชีวิตให้ลุกขึ้นมาทำงาน
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไม ๆ ๆ ๆ เพราะเหตุอะไร? เราจึงต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำอย่างไร?จึงจะไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ทรงถามย้ำและค้นหาคำตอบด้วยพระองค์เองจนเป็นเหตุให้ต้องเสด็จหนีออกบวชค้นหาคำตอบ
๑๘
เบื้องแรกพระองค์ทรงค้นหาคำตอบจากผู้รู้ผู้สามารถที่เก่งกาจที่สุดแห่งยุคสมัย อันได้แก่ท่านฤาษีอาฬารดาบสและอุทกดาบส ทรงได้รูปแบบและวิธีการปฏิบัติมาทำจนถึงที่สุดแล้วแต่ก็ยังมิได้รับคำตอบ ทรงค้นคว้าทดลองต่อไปตามหลักทฤษฎีของฤาษีสมัยนั้นว่าถ้าทรมาณกายจนถึงที่สุดก็จะได้พบคำตอบ ทรงทำตามความเห็นนั้นอย่างอุกฤษ แต่ก็มิได้รับคำตอบเช่นกัน
เมื่อไม่ได้รับคำตอบโดยรูปแบบและวิธีปฏิบัติใดๆอันมีอยู่ทั้งหมด พระองค์จึงได้ทรงกลับมาสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของสัญชาติญาณแห่งการแก้ปัญหาของมนุษย์กระบวนการการปฏิบัติธรรมแบบไร้กระบวนท่าจึงเกิดขึ้นกับพระองค์ในคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปฐมยามจนมาสิ้นสุดยุติลงในเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งตรงกับวันวิสาขะปุณมีเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช
ช่วงเวลาแห่งการบรรลุธรรมของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นสิ่งที่เราควรจะมาทำการวิเคราะห์วิจัยกันให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้วเราจะได้
พบว่า การปฏิบัติธรรมโดยธรรมชาติอย่างไร้
๑๙
กระบวนท่านั้นเป็นอย่างไร?
# 71 / เนินฆ้อ / 16 มิ.ย. 2555 เวลา 06:38 น.
ลอกเลียนแบบพระบิดา
เราลองมาวิเคราะห์ วิจัยกันดูว่าเจ้าชายสิทธัตถะใช้วิธีไหนในการเจริญธรรมก่อนการบรรลุธรรม?
หัวค่ำของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากทรงปูลาดอาสนะด้วยหญ้าที่นายโสตถิยะถวายแล้ว ทรงประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แล้วทรงตั้งปณิธานว่า แม้เลือดเนื้อในกายจะแห้งไป หากไม่พบโมกขธรรม พระองค์จะไม่ทรงลุกจากที่นั่ง
(นี่คือข้อที่ ๑ ของวิธีปฏิบัติ คือ มนสิการ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว เอาจริง ทำจริง)
หลังจากนั้นพระองค์คงจะหลับพระเนตรลงแล้วทรงปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ สติ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาดู รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สังเกต พิจารณาธรรมชาติเหล่านั้นไปจนสุดสาย (นี่คือวิธีที่ ๒)ท้ายที่สุดพระองค์ก็ได้ทรงพบความจริงโดยสรุปว่าทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งที่ทำให้เกิดจิตสังขารหมุนวนคือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา เมื่อความเห็นผิดนี้สงบไป สภาวอนัตตาก็ปรากฏ
๒๐
ขึ้นมาแทนโดยเด่นชัด ที่สภาวอนัตตา จิตสังขาร ความคิด หรือมโนกรรมก็สงบลง เป็นสังขารุเปกขาญาณ จิตเข้าถึงฌาณที่ ๔ อันเป็นบาทฐานแห่งอิทธิวิธี จนทำให้เกิดบุพเพนิวาสานุสติญาณ อตีตัง อนาคตังสญาณ ล่วงรู้อนาคต อดีต จุตูปปาญาณ รู้การเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์โลกทั้งหลาย ซึ่งยิ่งเป็นการรับรอง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนได้ผลสรุปว่า ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับ ผลก็ดับ หลังจากนั้นอาสวักขยญาณก็เกิดขึ้นกับพระองค์ ทรงทำให้เกิดมรรคทั้ง ๔ มรรค ต่อเนื่องกันไปในคราวเดียวได้ทันที ด้วยเป็นวิสัยแห่งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ความเป็นเจ้าชายสิทธัตถะหมดสิ้นไป ทรงได้สมญานามใหม่ว่า สัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ตามอย่างพระโมคคัลลาและพระสารีบุตร
ท่านอุปติสสะปริพาชก ได้ฟังคำสรุปของพระอัสชิว่า
ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุนั้นและวิธีดับเหตุนั้น นี่คือพระวาจาของพระมหาสมณะเจ้า
๒๑
ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ได้ยินแค่สัจธรรมสั้นๆข้อนี้ หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นในใจของท่านอุปติสสะ จนทำให้ละความเห็นผิดบรรลุธรรมเป็นโสดาบัน ต่อจากนั้นทันที นี่ก็น่าวิเคราะห์วิจัยเพื่อจะได้เป็นตัวอย่างวิธีปฏิบัติธรรมโดยธรรมชาติ
การบรรลุธรรมของอัครสาวก มหาสาวก กับการบรรลุธรรมของปกติสาวกนั้นมีความแตกต่างกันในขั้นตอนของการดับสลายของสังโยชน์ หลวงปู่ครูบา เคยเล่าให้ฟังว่า อัครสาวก คือพระโมคคัลลาและพระสารีบุตรและพระมหาสาวก คือพระสาวกที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในพระสูตรในครั้งพุทธกาลอย่างเช่น พระอานนท์ พระพาหิยะ พระมหากัสสปะ พระองคุลีมาลเป็นต้น ท่านเหล่านี้ เมื่อพิจารณาธรรมจนถึงที่สุดแล้ว
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ในพระพุทธพระธรรม จะดับไปก่อน ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธเจ้า แล้ว สักกายทิฏฐิ จึงดับตามมา เกิดโสดาปัตติมรรค เข้าถึงโสดาปัตติผล หลังจากนั้นเมื่อทำความเพียรหรือเจริญปัญญาต่อไปอีก มรรคอีกสามมรรคคือ สกิทาคามีมรรค อนาคามี
มรรค อรหัตมรรคจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้ง
๒๒
ที่ 2 สรุปคือ พระอัครสาวกกับพระมหาสาวก อริยมรรค 4 มรรคจะเกิดขึ้นเป็น 2 ตอน คือบรรลุโสดาปัตติมรรคก่อน เป็นครั้งแรก แล้วบรรลุอีกสามมรรคพร้อมๆกันเป็นครั้งที่ 2
ส่วนปกติสาวกได้แก่พระอรหันต์เจ้าองค์อื่นๆที่ไม่มีชื่อกล่าวไว้ รวมถึงเราท่านทั้งหลายในปัจจุบันนี้ การบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นเป็นลำดับเป็นครั้งๆไปรวม 4 ครั้ง ช้าหรือเร็ว ห่างหรือถี่นั้นขึ้นอยู่กับ สติ ปัญญา บารมี ที่แต่ละท่านแต่ละองค์ได้กระทำมา บางองค์บางท่านบรรลุโสดาบันก่อนหลายปี แล้วจึงค่อยมาบรรลุสกิทาคา อนาคา และอรหันต์ บางองค์บางท่านก็เป็นเพียงแค่พระโสดาบันในชาตินี้แล้วรอไปบรรลุธรรมที่เหลือในชั้นสวรรค์หรือชั้นพรหม
สำหรับท่านโมคคัลลาและสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาถ้าเรามาพิจารณาตามธรรม ตามกฎของ เหตุและผล การบรรลุโสดาบันของท่านน่าจะเกิดขึ้นจากการที่หลังจากได้ฟังคำพูดของท่านอัสชิและแม้คำพูดที่ท่านอุปติสสะนำไปถ่ายทอดต่อท่านโกลิตตะ เป็นธรรมะชั้นยอด
เป็นสรุปธรรมว่า เยธัมมา เหตุปัปภวา.......... .ทุก
๒๓
สิ่งเกิดแต่เหตุ....ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ท่านทั้งสองได้ใช้ปัญญาน้อมพิจารณาตามด้วยเหตุและผล ได้เห็นจริงเกิดศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธเจ้าจนเป็นเหตุส่งให้ วิจิกิจฉาดับลงทันที
# 72 / เนินฆ้อ / 30 มิ.ย. 2555 เวลา 06:44 น.
อีก 1 เรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน ปี 2555 นี้นะครับ ลองฟังดูครับ
http://www.mediafire.com/download.php?h0co0mcohey2lju
# 74 / เนินฆ้อ / 2 ส.ค. 2555 เวลา 17:25 น.
ของฝากเนื่องในโอกาสวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาปี 2555 เชิญฟังกันดูนะครับ
http://www.mediafire.com/download.php?rfshwtc921bta38
# 74 / เนินฆ้อ / 2 ส.ค. 2555 เวลา 17:21 น.
ออกพรรษาแล้ว คงอิ่มบุญกันเต็มที่นะครับ
มีกระทู้ใหม่ที่น่าสนใจจึงนำมาแบ่งปันสู่กันอ่านนะครับ
คำว่า "ปกติ"....ศีล...มั่นคงไม่หวั่นไหว...เป็นกลาง...สมดุลย์....พอดี...สะเทิน....หมดปฏิกิริยา.....หมดกรรม....กลับคืนสู่ธรรมชาติ.......สลัดคืน....เป็นสูญ....อนัตตา.....สัจจัง.......อสังขตัง....ปรมัตถัง.... ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีความหมายโดยธรรม เป็นอันเดียวกัน
ทุกท่านลองนึกสังเกตพิจารณาให้ดีๆ มิทราบว่าจะพอเข้าใจกันได้หรือเปล่านะครับ
ถ้าสังเกตจากเวทนา ความรู้สึก ลำดับขั้นของธรรมที่จะเกิดขึ้นหลังจากผัสสะ ก็คือเวทนา 3 อันใดอันหนึ่งคือ---
-ทางกาย......ทุกขเวทนา.....สุขเวทนา......อุเบกขาเวทนา.......ปกติ(ศีล)
-ทางใจ....โทมนัส (ยินร้าย)....โสมนัส (ยินดี)....อุเบกขา (วางเฉย)....ปกติ(ศีล)
ลองนำไปพิจารณากันดูในตอนแรกเท่านี้ก่อนนะครับแล้วค่อยมาวิตกวิจารณ์กันดูว่า คำว่า"ปกติ"นี้มีความหมายโดยธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งนัก
# 75 / เนินฆ้อ / 6 พ.ย. 2555 เวลา 07:10 น.
ปกติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุ ดับได้เพราะเหตุดับไป ไม่ได้อาศัยอยู่อย่างเดียวดาย แต่พึ่งพา จึงเป็น "ปกติ" อยู่ได้
ตรงนี้น้องบูอาจต้องกลับไปพิจารณาใหม่อีกทีนะครับ
คำว่า "ปกติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุ" .....
กับคำว่า "ปกติเกิดขึ้นได้เพราะหมดเหตุ"
นั้นต่างกันมากในความละเอียดโดยธรรม
ปกติ เป็นความหมดไปไม่มีความเห็นผิด "สักกายทิฏฐิ"และ ความยึดผิด"มานะทิฏฐิ อย่างชนิดชั่วคราว หรืออย่างชนิดถาวร มีต่างกัน 2 ระดับ
การกระทำ (กรรม)ทั้งหลายจักเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุ คืออัตตา หรือสักกายทิฏฐิ และมานะทิฏฐิ ตอบโต้กับผัสสะของทวารทั้ง 6
หากปัจจัย ที่เข้ามาทางทวารทั้ง 6 แล้วไม่มีเหตุรองรับ จะชั่วคราว หรือถาวรก็ตาม กรรมย่อมจักไม่เกิด
อุปมาเหมือนการปรบมือสองข้างเข้าด้วยกัน ย่อมมีเสียงเกิดขึ้น.....
เสียงเปรียบเหมือน มโนกรรม
มือสองข้างๆหนึ่งเป็นเหตุ ข้างหนึ่งเป็นปัจจัย หากเอาเหตุ คือมือข้างหนึ่งออก การปรบลงมาของมือข้างปัจจัยข้างเดียวย่อมไม่เกิดเสียง
เปรียบได้กับความหมดปฏิกิริยา....ความไม่ปรุงแต่ง....อสังขตัง...ชั่วคราวหรือถาวรแล้วแต่ประเภทของบุคคล
ประเภทของบุคคลมี 5
1.ปุถุชน
2.กัลยาณชน
3.เตรียมชาวพุทธ
4.ชาวพุทธ....(เตรียมโสดาบัน หรือเตรียมอริยชน)
5. อริยชน...แบ่งออกเป็น 4 จำพวก
5.1 โสดาบันบุคคล
5.2 สกิทาคามีบุคคล
5.3 อนาคามีบุคคล
5.4 อรหันตบุคคล
# 76 / เนินฆ้อ / 6 พ.ย. 2555 เวลา 21:44 น.