พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ญาณ ๑๖ - ญาติ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ญาณ ๑๖ - ญาติ

ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป
๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณ
ครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน; ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณ
โสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีก
ชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึง
วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผล
ญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้น ๆ

ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔ ดู วิสุทธิ

ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือกำหนดรู้สิ่งนั้น ๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกจากสิ่งอื่น ๆ
ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)

ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ เช่นทรงอนุญาต
ให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อนเหมือนเดียรถีย์อื่น
และเสด็จไปห้ามพระญาติ ที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำเป็นต้น ดู พุทธจริยา

ญาติ พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านนับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้าง
ล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี
ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน), เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย