พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ญัตติ - ญาณ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ญัตติ - ญาณ

ญัตติ คำเผดียงสงฆ์, การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัด

ญัตติกรรม กรรมอันกระทำด้วยตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือ ประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจร่วมกันเรียกว่าเผดียง
สงฆ์อย่างเดียว ไม่ต้องขอมติ เช่น อุโบสถ และปวารณา เป็นต้น

ญัตติจตุตถกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่สังฆกรรมที่สำคัญมีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวด
อนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่

ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่า สีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้น
เข้าหมู่ยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์นั้น; พระราธะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

ญัตติทุติยกรรม การมีญัตติเป็นที่สอง หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา
หนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้; ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต ๒. อนาค
ตังสญาณ
ญานในส่วนอนาคต ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน; อีกหมวดหนึ่งได้แก่ ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้
อริยสัจแต่ละอย่าง ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ; อีกหมวดหนึ่ง
ได้แก่ วิชชา ๓




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย