พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด สังฆนวกะ - สังฆสามัคคี

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


สังฆนวกะ - สังฆสามัคคี

สังฆนวกะ ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ คือบวชภายหลังภิกษุทั้งหมดในชุมนุมสงฆ์นั้น

สังฆภัต อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน

สังฆเภท ความแตกแห่งสงฆ์,การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕ ), กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถปวารณา และทำสังฆกรรมด้วยกัน

สังฆเภทขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๗ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์และเรื่องควรทราบเกี่ยวกับสังฆเภท สังฆสามัคคี

สังฆมิตตา พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็นภิกษุณีและไปประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกาทวีป พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิไปถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย

สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือจะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน เทียบ สังฆเภท

สังฆสัมมุขตา ความเป็นต่อหน้าสงฆ์หมายความว่า การระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุผู้เข้าประชุมมีจำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน

สังฆสามัคคี ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย