พจนานุกรมพุทธศาสน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

หมวด กัปปิยภูมิ -กัมมวัฏฏ์


กัปปิยภูมิ -กัมมวัฏฏ์

กัปปิยภูมิ ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กับปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้
รู้กันแต่แรกสร้างว่า จะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า “กปฺปิยภูมึ กโรม” แปลว่าเรา
ทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดี
เขาสร้างถวายเป็นกัปปิย ภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวด
ประกาศด้วยญัตติ ทุติยกรรม ๑

กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา อาการที่ต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

กัปปิละ ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์ เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ

กัมปิลละ ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ

กัมพล ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เช่นสักหลาด

กัมโพชะ แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อทวารกะ บัดนี้อยู่ในประเทศอาฟกานิสถาน

กัมมขันธกะ ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์ จุลลวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคหกรรม ๕ ประเภท

กัมมลักขณะ การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งใน
สังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่น ๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน
เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วย
ติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัต
ถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม

กัมมวัฏฏ์ วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ
ดู ไตรวัฏฏ์




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย