พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ปัจจัยปริคคหญาณ - ปัจฉิมทัสสนะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ปัจจัยปริคคหญาณ - ปัจฉิมทัสสนะ

ปัจจัยปริคคหญาณ
ดู นามรูปัจจัย ปริคคหญาณ

ปัจจัยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย, พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจับ ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)

ปัจจามิตร ข้าศึก, ศัตรู

ปัจจุทธรณ์ ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น อธิษฐานสบงคือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง, ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า "อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ" (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏิ เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)

ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุ หรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นต้น (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

ปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น ดู พุทธะ

ปัจฉาสมณะ พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (คู่กับปุเรสมณะพระนำหน้า)

ปัจฉาภัต ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหารหมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว

ปัจฉิมกิจ ธุระที่พึงทำภายหลัง, กิจที่พึงทำตอนท้าย เช่น ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ ได้แก่ วัดเงาแดด, บอกประมาณแห่งฤดู, บอกส่วนแห่งวัน, บอกสังคีติ (บอกรวบหรือบอกประมวล เช่น วัดที่บวช อุปัชฌาย์กรรมวาจาจารย์ และจำนวนสงฆ์ เป็นต้น) บอกนิสัย ๔ และบอกอกรณียกิจ๔ (ที่รวมเรียกอนุศาสน์)

ปัจฉิมชาติ ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้าย ไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีกเพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว

ปัจฉิมทัสสนะ ดูครั้งสุดท้าย, เห็นครั้งสุดท้าย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย