พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ชมพูพฤกษ์ - ชาติสงสาร

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ชมพูพฤกษ์ - ชาติสงสาร

ชมพูพฤกษ์ ต้นหว้า

ชยเสนะ พระราชบิดาของพระเจ้าสีหหนุ ครองนครกบิลพัสดุ์

ชราธรรม มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่

ชราภาพ ความแก่, ความชำรุดทรุดโทรม

ชลาพุชะ, ชลามพุชะ สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดียรัจฉานที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ

ชลาลัย “ที่อยู่ของน้ำ”, แม่น้ำ, ทะเล

ชโลทกวารี น้ำ

ชะตา เวลาที่ถือกำเนิดของคนและสิ่งที่สำคัญ

ชักสื่อ นำถ้อยคำหรือข่าวสาสน์ของชายและหญิง จากฝ่ายหนึ่งไปบอกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือจากทั้งสองฝ่ายให้รู้ถึงกัน เพื่อ
ให้เขาสำเร็จความประสงค์ในทางเมถุน (สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕)

ชั่งเกียจ ตราชั่งที่ไม่ซื่อตรง ทำไว้เอาเปรียบผู้อื่น

ชัชวาล รุ่งเรือง, สว่าง, โพลงขึ้น

ชัยมงคล มงคลคือความชนะ, ความชนะที่เป็นมงคล

ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์
ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา

ชาตปฐพี ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่และทราย
น้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมาก ดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟ กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔
เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้

ชาตสระ สระเกิดเอง, ที่น้ำขังอันเป็นเอง เช่น บึง, หนอง, ทะเลสาบ ฯลฯ

ชาติ การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน

ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอก
ไม้ตามสถานที่บูชา

ชาติสงสาร ความท่องเที่ยวไปด้วยความเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย