พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด อกุศล - อกุศลวิตก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


อกุศล - อกุศลวิตก

อกุศล บาป, ชั่ว, ไม่ฉลาด, ความชั่ว, กรรมชั่ว

อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป, การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจาก อกุศลมูล ดู กรรม

อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔. มุสาวาท พูดเท็จ ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ

อกุศลจิตตุบาท จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว

อกุศลเจตนา เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว

อกุศลเจตสิก เจตสิกอันเป็นอกุศลได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่างแยกเป็น
ก. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ โมหะ อหิริกะ (ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ (ไม่กลับบาป) อุทธัจจะ
ข. ปกิณณก อกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรี่ยรายไป) ๑๐ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา (ริษยา) มัจฉริยะ กุกกุจจะ (เดือดร้อนใจ) ถีนะ (หดหู่) มิทธะ (ง่วงงุน) วิจิกิจฉา

อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว

อกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล, ต้นเหตุของความชั่วมี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ

อกุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นอกุศล,ความนึกคิดที่ไม่ดี มี ๓ อย่าง คือ
๑. กามวิตก คิดแส่ไปในทางกาม หาทางปรนปรือตน
๒. พยาบาทวิตก คิดในทางพยาบาท
๓. วิหิงสาวิตก คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย