การฉันเป็นหมู่คณะ - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว


<
นัยของพระธรรมเทศนา เกี่ยวกับคณะโภชนา
หรือคณโภชน์ พูดเป็นคำตามพระวินัยเรียกว่า คณโภชน์
ซึ่งคำว่าคณะโภชนี้เราจะเป็นปรากฎอยู่ในเรื่องอานิสงค์
อานิสงค์จำพรรษา อานิสงค์ได้กรานกฐิน
คำว่า คณะโภชชน คือ ปรัมปรโภชน์ คณะโภชน
เป็นข้อปฏิบัติที่ ปฏิบัติในสมัย สมัยที่ท่านกล่าวไว้ทั้งหมด
ที่ยกเว้น ยกเว้นในสมัยทั้งหมดคือ
๑ ในสมัยเป็นไข้ คิลานสมโย
๒ ในสมัยถวายจีวร ที่เขาถวายจีวรในเทศกาล นิมนต์พระไปด้วย
แล้วก็จะถวายผ้าก็นิมนต์พระไปฉันเป็นคณะได้
๓ ฤดูทำจีวร จีวรการสมโย ทำจีวรต้องช่วยกันทำต้องรีบเร่ง
ก็นิมนต์ฉันเป็นคณะได้
๔ เวลาเดินทางไกล เดินทางไกลนี้ไปบนรถไปบนเรือ
เดินทางไกลทางเท้าหรือทางเรือ หรือทางรถ
เดินทางไกลเดินทางเรือ
แล้วก็อันที่หกนี้ หมู่มาก หมู่มากนี้ก็ฉัน
ฉันแบบที่เราฉัน (ที่วัดป่ามหาไชย) จะไม่พอฉันนะ
ถ้าอาหารน้อย อาหารมีน้อย เช่นมีอาหารสัก ๑ อย่าง
มีข้าว ถ้าจะตักใส่บาตรนิ เจอถ้าจะแบ่งกันก็แบ่งไม่พอแหละ
อย่างนี้ก็ให้ฉันเป็นวงเป็นคณะได้ จะได้ค่อย ๆ แบ่งกันฉัน
ถ้าไม่งั้นเจอหัวหน้าบิเอาครึ่งหนึ่งแล้วอีกหาง ๆ ไม่มี
อย่างนี้ก็อดก็จะเปลืองถ้าฉันในบาตรนี้จะเปลือง
ถ้าฉันสำรับนี้จะประหยัดเข้าไปอีก
อันนี้เรียกว่ามีหมู่มากให้ฉันเป็นคณะได้
แล้วอันสุดท้ายก็คือ พัดที่สมณะด้วยกัน
ในข้อนี้จะเห็นได้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ทรงมีไมตรี มีไมตรีจิตกับนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
ปริพาชกเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
ไปนิมนต์พระพระก็ไม่กล้ารับ ปริพาชกจึงไปนิมนต์
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ยังกล่าวในลักษณะว่า
พระพุทธเจ้าก็เป็นบรรพชิต ตัวเขาเองก็เป็นบรรพชิต
จะนิมนต์ไปเพื่อถวายอาหารบ้างไม่ได้รึ ?
ลักษณะนี้ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธ
ก็จะเป็นการผิดน้ำใจ ผิดน้ำใจต่อกัน ทั้ง ๆ ที่ปริพาชกเหล่านี้
แม้จะไม่ได้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ความศรัทธาความเลื่อมใส
จะมีอยู่บ้างเล็กน้อย หมายถึงขั้นว่ายอมเข้ามาเป็นศิษย์
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ยังอยู่ในลักษณะมีคำสอนเป็นของตัวเอง
มีแนวทางเป็นของตัวเอง เรียกว่าไม่ยอมแหละที่จะเข้ากับพระพุทธเจ้า
แต่ด้วยความที่เชื่อในข้อวัตรปฏิบัติ ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รักสงบ
เป็นผู้มีเมตตา เป็นผู้มีความปราถนาดีต่อทุก ๆ คน
เป็นคนที่ไม่สยิวหน้า เรียกว่าไม่รังเกลียดเดียจฉัน
วรรณะต่าง ๆ ลัทธิต่าง ๆ แต่ประการใด
ที่รังเกลียดอยู่ก็คือรังเกลียดทุจริตแหละ อะไรที่เป็นทุจริตหนะ
พระพุทธเจ้ารังเกลียด แต่ที่ไม่เป็นทุจริตพระพุทธเจ้าก็ไม่รังเกลียด
แสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่อยู่ร่วมกัน อยู่ร่วมกันในสังคม
อยู่ร่วมกันในโลกเรียกว่าพระพุทธศาสนานี้เกิดขึ้นมา
อยู่ในทามกลางลัทธิต่าง ๆ อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นครูทั้ง ๖
หรือลัทธิอื่น ๆ พวกโยคี โยคะ ที่เป็นฤาษีตาปสินี ตามป่าตามเขา
มีมากมายในยุคนั้น เรียกว่าเป็นยุครุ่งเรือง รุ่งเรืองเรื่องนักปราชญ์
เรื่องบัณฑิต ในยุคที่พระพุทธเจ้าเกิดนินะ ไม่ได้หมายถึงว่า
มีแต่คนโง่ ๆ มีแต่คนไม่รู้เรื่องนะ ยุคที่พระพุทธเจ้ามาเกิด (ประสูติ)
มาเกิดในทามกลางนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทั้งนั้นเลย
เพราะครูทั้ง ๖ นี้ก็เป็นศาสดามีอยู่ทั้ง ๖ ท่าน
หรือ ๖ สำนักใหญ่ ๆ นิ ไม่ใช่ธรรมดาด้วย เป็นคนที่พากันแสวงหาแนวทาง
เพื่อที่จะระงับดับทุกข์ ดับทุกข์
บางประเภทก็แบบดับทุกข์ทรมานตน
บางประเภทก็ดับทุกข์บำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฎ์
เช่นไม่นุ่งผ้า ไม่อาบน้ำ ถือสัจจะ กินเหมือนสนุก กินเหมือนวัว
ลักษณะอย่างนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพรหมจรรย์ที่เขาประกาศขึ้นมา
เป็นข้อปฏิบัติสำหรับสำนักของตนของตน ถ้าใครศรัทธาเลื่อมใส
ก็ไปเป็นลูกศิษย์ ถึงมีสำนักนั้น ๆ ถึงมีอยู่ทั้งหมด ๖ ครูใหญ่ ๆ
ฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นนิ
ถือว่าเป็นศาสดาหนุ่ม เป็นที่กล่าวขวัญ สะเทือนเลือนลั่นไปทั่วชมพูทวีปเลยทีเดียว
ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะว่าพระพุทธเจ้า เสด็จออกจากศากยตระกูล
เป็นเจ้าศากย เป็นลูกของศากยะ เสด็จออกจากศากยตระกูล สละราชสมบัติ
สละทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเป็นวรรณะในยุคนั้นก็ต้องถือว่าเป็นวรรณะกษัตริย์
ที่สูงส่ง เป็นที่เกรงขามของศาสดาอื่น ๆ แต่พอมาประกาศพระพุทธศาสนา
ก็คือประกาศพรหมจรรย์ พอศาสดาเหล่านั้นท่านบอกว่าของท่านก็เป็นพรหมจรรย์
เช่นการอดอาหารก็เป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง
การไม่อาบน้ำก็เป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่งของเขา
การไม่กินเนื้อสัตว์ก็เป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่งของเขา
หรือการลงล้างบาปในแม่น้ำก็ถือว่าเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่งของเขา
ซึ่งเขาเชื่อนับถือกันมาอย่างนั้น
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าเมื่อมาอุปบัติขึ้น พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า
มีความแตกต่างจากข้อปฏิบัติของศาสดาทั้ง ๖ แต่บางศาสดาก็เข้ากันได้
คำสอนบางข้อเข้ากันได้ บางข้อก็เข้ากันไม่ได้หรือตรงกันข้ามเลย
ลักษณะอย่างนี้ พอมาประกาศพรหมจรรย์อันนี้แหละ
จึงมีผู้เข้ามาศึกษาค้นคว้าประพฤติตามปฏิบัติตามมากมาย
ขยายวงกว้างออกไป เรียกว่าเป็นที่ยอมรับ ครูทั้ง ๖ นั้นก็เป็นที่ยอมรับ
ที่ยอมรับว่าเป็นคนเก่งจริง เป็นคนรู้จริง
เป็นคนตรัสรู้จริงเป็นพระพุทธเจ้าจริง แต่ทว่าทำไมถึงไม่เข้ามาหาพระพุทธเจ้าละ
เพราะว่าทิฐิมานะว่าตนเองสอนมาอย่างนั้น
ว่าตนเองอายุมากแล้ว คำสอนที่สอนผิดก็ให้มันผิดอยู่อย่างนั้นแหละ
ทั้งรู้ว่ามันผิดแต่ก็มีทิฐิว่าตนเองเป็นครูเป็นอาจารย์เขา
เขาเคารพนับถือก็เลยยืนยันคำสอนว่า เป็นคำสอนที่ถูก
คำสอนของพระพุทธเจ้าหรือศาสดาองค์ใหม่นี้
หาคำมาโต้แย้ง หาคำมาคัดค้านอันไหนที่พอคัดค้านได้ก็คัดค้าน
อันไหนที่คัดค้านไม่ได้ก็พูดกลบเกลือนไปทำนองนี้
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ายุคที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วางรากฐานพระพุทธศาสนานิไม่ใช่ของง่าย ทั้งจะเผยแผ่
ทั้งจะบัญญัติข้อพระวินัยเพื่อควบคุมพระสาวกต้น ๆ ก็ไม่มีผู้ใดที่จะ
ประพฤติปฏิบัติไปในแนวทางที่จะก่อให้เกิดกิเลสตัณหาอุปาทานหรอก
ต่างคนต่างมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปลดเปลื้องกิเลส ปลดเปลื้องตัณหา
ปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว พอพระพุทธเจ้าตรัสแสดง
ท่านเหล่านั้นก็มุ่งมั่นตั้งใจประพฤติปฏิบัติตาม แล้วก็ประสบผลสำเร็จ
ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในยุคต้น ๆ ที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้วางหลักพระวินัย
พระองค์ก็ทรงแนะนำพร่ำสอนแต่ธรรมะนั้นแหละ เพราะธรรมะ
ผู้ที่มุ่งมั่นกับธรรมะปฏิบัติเพื่อลดละกิเลสตัณหาอุปาทานนิ
เขาจะไม่ทำในสิ่งที่เป็นบาปแต่ประการใด อันไหนที่มันเป็นบาป
สิ่งที่มันเป็นบาปทั้งหลายทั้งปวงเรียกได้ว่าพยายามที่จะหลีกหนี
ที่จะเว้นโดยปกติอยู่แล้ว พอมาประพฤติปฏิบัติทางจิตใจ
เกิดสมาธิเกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัส
ก็เกิดความสว่างไสวขึ้นมา ฉะนั้นเรื่องข้อปฏิบัตผิดก็ไม่มีเลยแหละ
เพราะว่าไม่มีในใจอยู่แล้ว แต่พอต่อมาเมื่อมีข้อปฏิบัติอันใดที่มัน
เป็นข้อปฏิบัติผิดที่กระทบต่อความศรัทธาต่อความเลื่อมใส
เป็นจุดที่บั่นทอนพระพุทธศาสนา เราจะเห็นได้ว่า
ที่ทรงบัญญัตินั้นคือมันเป็นจุดที่เขาตำหนิ เขาตำหนิ
แค่ไปนั่งฉันรวม ๆ กันนิไปขอ ๆ เขาแล้วก็รวมกัน เขาก็ตำหนิว่าทำไม
เอ๊ะ...แต่ก่อนไม่เคยมีนิ พระที่มาหาขอข้าวขออาหารแล้วก็มารวมกันฉันอย่างนี้
แต่ก่อนไม่มี มีแต่เดินภิกขาจารบิณฑบาต เขาไม่ให้
ก็ไม่ได้ไปมุ่งเจตนาต้องไปขอต้องไปหาอุบายวิธีเพื่อที่จะให้เขาให้
ได้ก็ฉันไม่ได้ก็อดเอา อันนี้คือการขอของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
แต่ทีนี้ พอ...กลุ่มของพระเทวทัตไปหาขอ เพราะว่าไม่สามารถ
ที่จะดูแลเลี้ยงดูบริวารของตนเองซึ่งมีมากมาย
ก็ต้องใช้วิธีขอแบบเจาะจงเลย ว่าพระมีตั้งเป็นร้อย..ก็ขอโยมว่า
โยมรับเป็นเจ้าภาพสักองค์สององค์ได้ไหม อาหารสักสำรับสองสำรับได้ไหม
ทำนองนี้ ชาวบ้านเขาไม่เคยเห็นอย่างนี้ เขาก็เลยติเตียน
พอเขาติเตียน เขาไม่ได้ติเตียนเฉพาะพระเทวทัตนิ
เขาติเตียนมาลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าทำไมถึงเป็นอย่างนี้
อด ๆ อยาก ๆ ไม่พออยู่พอกินแล้วหรือ...ลักษณะอย่างนี้
ไม่เคยเห็นเขาก็ตำหนิติเตียน ถึงจะให้แล้วก็ตาม
แต่ก็ให้แบบไม่ได้ศรัทธาเลื่อมใสแหละ ให้เพราะรำคาญ
ให้พอผ่าน ๆ ไป แล้วก็บ่นตามหลัง หรือนินทาตามหลัง
ตำหนิติเตียนตามหลัง ทีนี้พระผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ท่านได้ยิน
เช่นนั้นท่านก็ไม่สบายใจเพราะเขาตำหนิไม่ใช่ตำหนิเฉพาะองค์ที่มารับ
เท่านั้นแต่ตำหนิไปถึงผู้เป็นศาสดา สมณะจากศากยตระกูล
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เขาด่าถึงต้นตระกูลนู้นนะ
ต้นตระกูลก็คือพระพุทธเจ้า
พอเหตุเกิดขึ้นจึงได้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระที่ได้ยินไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงห้าม
ประกาศห้ามไม่ให้ฉันเป็นคณะ คณะโภชเน
ตอนนั้นก็มีเหตุที่ว่าพระไม่สบาย ลักษณะอย่างนี้
หรือพระทำงานทำจีวรเดินทางไกลไปทางเรือ
หรือว่ามีจำนวนมาก อาหารการฉันไม่พอ หรือว่า หมู่คณะ
ที่เป็นสมณะด้วยกัน ท่านใช้คำว่าสมณะด้วยกัน
สมณะภัตตสมโย หมายถึงว่าภัตของสมณะ
ก็เป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่า ยกย่อง ยกย่องปริพาชก
หรือลัทธิอื่นว่าเป็นสมณะเหมือนกัน
ที่เขาไปนิมนต์ เขาใช้คำว่า ท่านก็เป็นบรรพชิต
ข้าพเจ้าก็เป็นบรรพชิต จะรับอาหารจากบรรพชิตกลุ่มหนึ่งถวายไม่ได้เลยหรือ
จึงเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นน้ำใจ ว่าอยู่ในโลกอันเดียวกัน
อยู่ในเมืองอันเดียวกัน อยู่ประเทศอันเดียวกันนิ
แม้จะไม่ศรัทธาเลื่อมใสลึกซึ้ง ต่อข้อธรรมที่พระองค์ตรัสสอน
ไม่ได้ยอมมอบกายถวายตนเข้ามาบรรพชาอุปสมบท
หรือทิ้งลัทธิเดิม ๆ ของตนเองก็ตาม แต่ก็ว่าให้อยู่ด้วยกันด้วยความมีน้ำใจ
คบหาสมาคมกัน แบบผู้บำเพ็ญสมณะแม้จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน
เปรียบเทียบให้เห็น ก็เหมือนกับในยุคปัจจุบันเนี้ย
ที่เราอยู่ด้วยกันนี้ ไม่ว่าจะเป็นคณะธรรมยุต คณะมหานิกาย
คณะจีนนิกาย คณะอนามนิกาย อย่างนี้ หรือลัทธิอื่นศาสนาอื่น
ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้ามีน้ำใจที่ไม่คิดที่จะเบียดเบียนทำร้าย
ตำหนิติโทษ กล่าวร้ายซึ่งกันและกัน ก็อยู่ด้วยกันได้
ไม่ได้มีข้อครหานินทา หรือบันทอนลิดรอนความศรัทธาเลื่อมใส
แต่ที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมา ลัทธิเหล่านี้ มีหลายลัทธิที่พยายามจะแกล้ง
พระพุทธศาสนา แกล้งพระพุทธเจ้า ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า
ซึ่งถ้าเราได้เข้าไปศึกษาในบทบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตลอดระยะเวลาของการวางรากฐานพระพุทธศาสนา
เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่ขวางกั้นก็มากมาย ผู้ที่จะคอยทำลาย
คอยโจมตีก็มากมาย หรือแม้แต่ในสงฆ์สาวกอันเดียวกัน
ยังถึงขึ้นว่าแตกแยกนะ เป็นเหตุที่ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ต้องหลีกเร้นไปอยู่เฉพาะพระองค์ก็มีนะ
หรืออย่างกลุ่มใหญ่ของพระเทวทัต ถือว่าเป็นการแตกแยกครั้งใหญ่หลวงเลย
ที่จะยกตนขึ้นมาเพื่อที่จะตีเสมอกับพระพุทธเจ้า
แทนที่จะน้อมกายน้อมจิตเข้าหาธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว
แต่กลับอยากจะเป็นใหญ่เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเป็น
เนี้ยมันมีลักษณะอย่างนี้ พอมีความคิดขึ้นมาแล้วมันก็ขวางกั้น
การประพฤติปฏิบัติ เพราะว่าการประพฤติปฏิบัติไม่ใช่เพื่อปฏิบัติเพื่อความมักมาก
เพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูง เพื่อความสะสมลาภสักการะ ยศถาบรรดาศักดิ์
แต่เป็นการปฏิบัติเพื่อลดละ มันจึงแตกต่างกัน ฉะนั้น
เมื่อปราถนาอย่างนั้นการที่จะประสบผลสำเร็จกับการประพฤติปฏิบัติมันก็เกิดขึ้นไม่ได้
เราจะเห็นได้ว่ากว่าที่พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเป็นธรรมเป็นวินัย
ไม่ใช่ของง่ายนะ

ฉะนั้นตกมาถึงยุคของพวกเรานี้เพียงแต่เรียนรู้ศึกษา
ประพฤติตามปฏิบัติตาม ก็จงพยายามทำให้มันได้
เราเดินตามเส้นทางที่พระอริยเจ้าท่านพาเดิน ถือศีลประพฤติวัตร
ปฏิบัติธรรม อันนี้แหละคือเส้นทางที่ประเสริฐ รักษาไว้
ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง มันก็จะได้ไปเรื่อย ๆ
เหมือนเราฟังธรรมะ ฟังทุกวัน ๆ ก็ได้ข้อคิด เราเดินจงกรมทุกวัน
นั่งภาวนาทุกวัน พุทโธ ๆ ก็ได้ ธรรมะขึ้นมาเรื่อย ๆ ข้อดี ขึ้นมาเรื่อย ๆ
ความสงบได้ตามลำดับ ๆ ความรู้ความเข้าใจ
เหล่านี้ มันจะเกิดขึ้นแหละถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจ
จดจอจริง ๆ อย่าไปทะเหล่ทะไหลออกนอกกรอบ
มันก็จะไปในทางที่ผิด พอไปในทางที่ผิดก็กลับกลายเป็นดูถูกดูแคลน
สิ่งที่ถูกเหมือนกับดูถูกดูแคลนว่าการไหว้พระสวดมนต์
จะได้อะไร สู้ไปค้าไปขายไม่ได้ โน้นไปทำการทำงานแล้วได้เงินได้คำ
มาบำรุงบำเรอมันก็คิดไปทางนั้นแหละกิเลส
ซึ่งมันมีความคิดที่แตกต่างกัน
ก็พยายามเรียนรู้ศึกษา มีโอกาสได้ฟัง ซึ่งเป็นบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกนิ
น้อย....ที่นะที่จะหยิบยกขึ้นมาประกาศ เช่นนี้ทุกวัน ๆ
มีแต่สำนักของเรานี่แหละถือว่าเป็นพื้นฐานบรรทัดฐาน
ที่สำคัญ กับการเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
ก็เผยแผ่กันเรื่อยไป
พรุ่งนี้วันพระวันมาฆบูชา ตอนเช้า ๘ โมงก็มีการแสดงธรรม
พรุ่งนี้ไม่ต้องบิณฑบาต ญาติโยมมาตักบาตรที่วัด
๘ โมงก็แสดงธรรมวันมาฆบูชา เที่ยงก็ลงสังฆกรรมปาฏิโมกข์
ปกติแหละ ตอนบ่ายทำวัตรสวดมนต์ประกอบพิธีเดินเทียน
ก็สวดสรรเสริญพุทธธรรมสงฆ์ ทำกิจกรรมไปจนครบสมบูรณ์ตามรูปแบบ
ฉะนั้นพรุ่งนี้เป็นวันมาฆบูชาก็ตั้งจิตตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติในศีลในธรรม
บูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระอริยสาวกสงฆ์ บูชาพ่อแม่ครูบาอาจารย์
บูชาท่านเหล่านั้นแหละ เราเป็นคนได้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าได้
ไม่ใช่พระอริยสาวกสงฆ์ได้นะ พวกเราเป็นคนได้
เพราะทำการบูชาก็แสดงออกให้เห็นถึงภาวะทางจิตใจที่ดีงาม
เคารพ นบนอบ จิตใจโอนอ่อน เรียกว่าจิตใจดีงามแหละ
จิตใจดีงามโอนอ่อน ไม่โกรธไม่เกลียดไม่เคลียดแหละ
บุญก็เกิดขึ้นกับใจ พอบุญเกิดขึ้น ราศีสิริมงคลมันก็เกิดตามมา
ไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นหรอก เพียงแต่ทำใจของเรานี้ให้ดีงามเท่านั้นแหละ
ความเป็นมงคลทั้งหลายมันจะเข้ามาเอง
ไม่ต้องไปหาขอที่ไหนแหละของดี ๆ อยู่ในใจของเรานิ
อ้าววันนี้ฝนตกพรำ เดินจงกรมไม่สะดวกก็พากันนั่งภาวนานะ
ไปที่พักก็พากันนั่งภาวนา


ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
อังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 65   


ที่มา : นัยของพระธรรมเทศนา เกี่ยวกับคณะโภชนา หรือคณโภชน์ พูดเป็นคำตามพระวินัยเรียกว่า คณโภชน์ ซึ่งคำว่าคณะโภ


 6,653 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย