เชิญร่วมปฏิบัติธรรม แบบเจโตวิมุติ 19 ตค. - 23 ตค. 2555 ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ

 เธชเธธเธกเธฅ     10 ต.ค. 2555

เชิญร่วมปฏิบัติธรรม แบบเจโตวิมุติ 19 ตค. - 23 ตค. 2555 ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
และเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและเครื่องดื่ม

ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ
คือการปฏิบัติธรรมด้วยความสุขในธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
คือการมีปีติสุสุขหรืออุเบกขาในกุศลธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
เพราะจิตตั้งอยู่ในกองกุศลตลอดเวลา กุศลให้ผลเป็นสุข และอุเบกขาเท่านั้น
คือการปฏิบัติแบบตรัสรู้เร็วพลัน
คือการใช้ปัญญาที่เฉียบคม ดับทั้งกิเลสสังโยชน์ ดับทั้งขันธ์ ด้วยสัญญาเวทยิทนิโรธสมาบัติ

อย่างน้อยผู้เข้าร่วมปฏิบัติจะบรรลุจตุตถฌานภายใน 1 ชั่วโมง
.



ผู้สนใจเป็นเจ้าภาพค่าอาหารและเครื่องดื่ม
โอนเงินร่วมบุญได้ที่
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา โลตัส พัทยาใต้
ชื่อบัญชี ศูนย์วิจัยชนบท เลขที่บัญชี 533-2-21711-0

ตารางปฏิบัติธรรมประจำปี 2555

12-15 ตุลาคม 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
19-23 ตุลาคม 2555 กรุงเทพ
26-29 ตุลาคม 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
2-5 พฤศจิกายน 2555 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
9-12 พฤศจิกายน 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
16-19 พฤศจิกายน 2555 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
23-26 พฤศจิกายน 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
30 พ.ย. 5 ธ.ค. 2555 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
7-10 ธันวาคม 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
14-17 ธันวาคม 2555 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
21-24 ธันวาคม 2555 ปัณฑิตารมย์ พัทยา
28 ธ.ค. 55 1 ม.ค. 56 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ.



ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ
คือการปฏิบัติธรรมด้วยความสุขในธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
คือการมีปีติสุสุขหรืออุเบกขาในกุศลธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
เพราะจิตตั้งอยู่ในกองกุศลตลอดเวลา กุศลให้ผลเป็นสุข และอุเบกขาเท่านั้น
คือการปฏิบัติแบบตรัสรู้เร็วพลัน
คือการใช้ปัญญาที่เฉียบคม ดับทั้งกิเลสสังโยชน์ ดับทั้งขันธ์ ด้วยสัญญาเวทยิทนิโรธสมาบัติ

อย่างน้อยผู้เข้าร่วมปฏิบัติจะบรรลุจตุตถฌานภายใน 1 ชั่วโมง



เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างมัคคผล ปิดประตูอบาย ตัดอกุศลวิบากกรรมแก่ตนเอง
และเพิ่มบุญบารมีถวายเป็นพุทธบูชา 2600 ปีแห่งการตรัสรู้

ปฏิบัติธรรม แบบเจโตวิมุติ ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ, พัทยา

กรุงเทพ 352-353 หมู่บ้านบุรีรมย์ 4 ซอยประชาอุทิศ 76/1 แขวงและเขตทุ่งครุ กทม.

พัทยา 46/38 พัทยาใต้ หมู่ที่ 4 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 - 766 - 2373 .





ตารางปฏิบัติธรรมประจำวัน

19 ตุลาคม 2555
07.00-09.00 น. ลงทะเบียน เข้าที่พัก ทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
09.00-12.00 น.
1.เจริญสมาธิในฌานสมาบัติ 8 คนที่ไม่เคยฝึกมาก่อนใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก็บรรลุฌานสมาบัติ 8
2.เจริญมัคคภาวนาอบรมปัญญาเพื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค
และเจริญปัญญาวิมุติ โดยเจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
4.เจริญเจโตวิมุติ โดยเจริญสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีฌานสมาบัติ 8 เป็นบาท ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.เจริญปัญญาวิมุติ โดยเจริญอนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท
2.ฝึกวิชชา 8 เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า
และเจริญปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน

16.00-18.00 น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
18.00-21.00 น.
1.จิตตกรีฑา ฝึกฌานสมาบัติ 8 และกสิณ 8 ฝึก 14 ข้อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า
2.วิโมกข์ 8
3.สมาบัติ 3
4.ฝึกวิชชา 8 เจริญอินทรีย์ 8 ให้แกล้า.
21.00-01.00 น. สนทนาธรรม Mind Mapเรื่อง ธรรมะคืออะไร และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
01.00-06.00 น. นอน

20 ตุลาคม 2555
06.00-07.00 น. ตื่นนอน
07.00-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
09.00-12.00 น.
1.เจริญวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์ด้วยอานาปานสติ
2.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.ฝึกปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน เป็นญาณลำดับที่ 50 เป็นบาทแก่เจโตวิมุติ
2.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า

16.00-18.00 น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
18.00-21.00 น.
1.ฝึกการสำรวมระวังอินทรีย์เพื่อยังจิตให้หลุดพ้น
2.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า.

21.00-01.00 น. สนทนาธรรมเรื่องกลุ่มจิต ทางสายกลางเรื่องมรรคมีองค์ 8 และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
01.00-06.00 น. นอน

21 ตุลาคม 2555
06.00-07.00 น. ตื่นนอน
07.00-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
09.00-12.00 น.
1.เจริญสมาธิ และสัมมาสติให้บริบูรณ์
2.ฝึกจิตตกรีฑา เพื่อเจโตวิมุติ

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.สมาบัติ 3
2.ไปเที่ยวสวรรค์และพรหมโลกด้วยมโนมยิทธิ

16.00-18.00 น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
18.00-21.00 น.
1.ฝึกการสำรวมระวังจิตให้หลุดพ้น
2.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า.

21.00-01.00 น. สนทนาธรรมถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
01.00-06.00 น. นอน


22 ตุลาคม 2555
06.00-07.00 น. ตื่นนอน
07.00-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
09.00-12.00 น.
1.เจริญสมาธิให้บริบูรณ์เพื่อบรรลุ สกาทาคมีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค โดยเจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท
2.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.อนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท
2.ฝึกปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน เป็นญาณลำดับที่ 50 เป็นบาทแก่เจโตวิมุติ
3.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า

16.00-18.00 น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
18.00-21.00 น.
1.เจริญปฏิจจสมุปบาทสายเหตุให้เกิดทุกข์มีฌาน 4 เป็นบาท
2.เจริญปฏิจจสมุปบาทสายทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์มีฌาน 4 เป็นบาท
3.ฝึกการสำรวมระวังจิตให้หลุดพ้น
4.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า.
21.00-01.00 น. สนทนาธรรมเรื่องกลุ่มจิต ทางสายกลางเรื่องมรรคมีองค์ 8 และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
01.00-06.00 น. นอน

23 ตุลาคม 2555
06.00-07.00 น. ตื่นนอน
07.00-09.00 น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
09.00-12.00 น. จิตตกรีฑา ( ฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8 ) 14 ขั้นตอน
1.ฝึกการทรงฌานในอริยาบทนั่ง นอน ยืน เดิน และการทำการงานในชีวิตประจำวัน
2.เจริญปัญญาวิมุติ โดยเจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท ด้วยการนั่งลืมตา เพื่อเจริญสมาธิและสติให้บริบูรณ์ จนบรรลุมัคค 4 ผล 4
3.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.
1.เจริญปัญญาวิมุติ และเจโตวิมุติ โดยเจริญอนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท
2.ตั้งกายเอาไว้ในจิต ตั้งจิตเอาไว้ในกาย ทรงฌาน1- 2-3-4
3.ฝึกวิชชา 8 ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ 8 มรรค 8 และพละ 7 ให้แก่กล้า
16.00-18.00 น. กลับบ้าน




สิ่งที่มีบริการให้
1.อาหารและเครื่องดื่ม 3 มื้อ
2.มีห้องนอน - ที่พักให้

รับจำนวนจำกัดเพียงแห่งละ 20 ท่านเท่านั้น
รับรองผลการปฏิบัติว่า .. อย่างน้อยผู้เข้าร่วมปฏิบัติจะบรรลุจตุตถฌานภายใน 1 ชั่วโมง

ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 - 766 - 2373..


[๓๕๙] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
ดูกรพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะเป็นไฉน?

ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.
ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด..

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบจูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐.




การปฏิบัติจริงปฏิบัติตามดังนี้

ปฏิบัติธรรม แบบเจโตวิมุติ ณ ปัณฑิตารมย์ พัทยา

1.เจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาทบรรลุปัญญาวิมุติก่อน
2.ตั้งกายเอาไว้ในจิต ตั้งจิตเอาไว้ในกาย ...
.. ตั้งไว้ยิ่งซึ่งจิตด้วยอำนาจกาย ตั้งไว้ยิ่งซึ่งกายด้วยอำนาจจิต
3.ก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา
ทำกำลังสมถะ และกำลังวิปัสสนาให้มีกำลังเท่าเทียมกัน
4..เข้าปัจเวก
5.ละนามรูป เข้าสู่ปฐมฌาน
6.เข้าปัจเวก
7.ละปฐมฌาน เข้าสู่ทุติยฌาน
8.เข้าปัจเวก
9.ละทุติยฌาน เข้าสู่ตติยฌาน
10.เข้าปัจเวก
11.ละตติยฌาน เข้าสู่จตุตถฌาน
12.เข้าปัจเวก
13.ละจตุตถฌาน เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน
14.เข้าปัจเวก
15.ละอากาสานัญจายตนฌาน เข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาน
16.เข้าปัจเวก
17.ละวิญญานัญจายตนฌาน เข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน
18.เข้าปัจเวก
19.ละอากิญจัญญายตนฌาน เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
20.เข้าปัจเวก
21.ละเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
อธิษฐานให้จิตตสังขารดับลงไปตามเวลาที่กำหนด เช่น 10 นาที
22.ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว
อรหัตตผล หรืออนาคามีผล เกิด 1 ขณะจิต
ถ้าบรรลุอรหัตตผล จะเป็นอรหัตตผลพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3

ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน บรรลุปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติทุกท่านเทอญ. .


เจริญในธรรมครับ..


3,706






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย