วัดไผ่ล้อม จันทบุรี





วัดไผ่ล้อม จันทบุรี พระอารามหลวง ชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2320
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2325


วัดไผ่ล้อม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 17 หมู่ 6ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี วัดมีเนื้อที่ 45 ไร่ อยู่ติดแม่น้ำจันทบุรี

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2320 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2325 และยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเมื่อปี พ.ศ. 2539 สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โบราณสถานที่สำคัญของวัด คือ พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และพระเจดีย์ใหญ่

พระอุโบสถหลังเก่าสร้างเมื่อไร ไม่ปรากฏศักราช ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีช่องทางเข้า ฉนวนด้านหลังมีเสารองรับ 5 ต้น ไม่มีบัวหัวเสา ฐานอาคารเป็นเส้นตรง มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็กอยู่ภายในกำแพงแก้ว ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพต้นไม้ประเภทบอนไซและดอกไม้แบบจีน เรื่องทศชาติชาดก และพุทธประวัติที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ กุฏิพระและศาลาการเปรียญ มีไม้ฉลุแบบขนมปังขิงประดับตกแต่งอย่างสวยงาม วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก เป็นพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 32.49 เมตร ยาว 54.19 เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยนายมนัส กลิ่นขจร จากกรมศิลปากร

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธไสยาสน์ •



พระอุโบสถจตุรมุข



พระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถ



วิหารพระพุทธไสยาสน์



พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร เป็นพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 32.49 เมตร ยาว 54.19 เมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยนายมนัส กลิ่นขจร จากกรมศิลปากร และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรลงกรณสยามมกุฎ ราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีสวมพระเกศ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2531



เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็กอยู่ภายในกำแพงแก้ว ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพต้นไม้ ประเภทบอนไซและดอกไม้แบบจีน เรื่องทศชาติ และพุทธประวัติที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ลักษณะการเขียนน่าจะเป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นหลังรัชกาลที่ 3 ลงมา เนื่องจากมีชาวต่างชาติปรากฏจำนวนมากในภาพวาด



พระวิหาร (อุโบสถเก่า)



พระประธานในพระวิหาร



ศาลากลางน้ำ



ศาลาการเปรียญ




11,545







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย