วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร (วัดทองบางพรม) กรุงเทพมหานคร





วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร (วัดทองบางพรม) กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2300
วันรับวิสุงคามสีมา : ѹ 21 ѹҤ .. 2535


ประวัติความเป็นมา

วัดกาญจนสิงหาสน์ เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดทอง ตั้งคู่กันกับวัดเงิน สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีทรงสถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามว่า วัดกาญจนสิงหาสน์และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาถึงปัจจุบัน

สถานะและที่ตั้ง

วัดกาญจนสิงหาสน์ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๖๘๖ ริมคลอง บางพรม แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑๖ ตารางวา


- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธศิริกาญจโนภาส พระประธานในพระอุโบสถ , หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอยุธยา •


{ อุโบสถหลังเก่า (พระวิหาร) }
มีลักษณะแบบศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีพาไลด้านหน้าและด้านหลัง ยาว 14 วา กว้าง 5 วา 1 คืบ สูงตั้งแต่พื้นถึงเพดาน 3 วา 2 ศอก ตั้งแต่เพดานถึงอกไก่ 3 วา ด้านในกว้าง 4 วา 15 นิ้ว ยาว 8 วา 1 ศอก 11 นิ้ว เพดานเขียนลวดลายดาว มีหน้าต่าง 12 หน้าต่าง เขียนลายรดน้ำเป็นลายดอกลอยพุ่มข้าวบิณฑ์ มีประตู 4 ประตู เขียนลายรดน้ำเป็นภาพต้นไม้และรูปสัตว์ต่าง ๆ หน้าบรรณเป็นปูนปั้นลายพรรณพฤกษา ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ มีประตูกำแพงแก้ว 4 ประตู ซุ้มประตูเป็นลายอย่างฝรั่งและจีน มุมกำแพงแก้วเป็นเสาหัวเม็ด ทรงมัณฑ์ ภายในกำแพงแก้วมีพระปรางค์แลเจดีย์ พระอุโบสถหลังนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานตั้งแต่ พ.ศ. 2495 และมีการวางแนวเขตใน พ.ศ. 2528 ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่านี้ได้ทำพิธีถอนสีมาแล้ว ใช้เป็นพระวิหาร และได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทน


{ พระอุโบสถ }
กว้าง 30 เมตร ยาว 50 เมตร มุงกระเบื้องเกล็ดปลา ลักษณะ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงจีนแบบโบราณ มีระเบียงครอบหลังคาเป็นแบบหลังคากันสาด ภายในสร้างเลียนแบบพระอุโบสถหลังเดิม


{ พระพุทธศิริกาญจโนภาส พระประธานในพระอุโบสถ }
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง 4 ศอก สูงตลอดพระรัศมี 5 ศอก 10 นิ้ว


{ หลวงพ่อทอง }
พระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอยุธยา


{ โรงเรียนพระปริยัติธรรม }
อาคารก่ออิฐถือปูน 4 ชั้น แบบสถาปัตยกรรมไทย มีมุขด้านหน้า แต่ละชั้นมีคันทวยรองรับหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องปิดเครื่องมุงเป็นรวยระกา


{ พระปรางค์ }
ลานพระอุโบสถมีพระปรางค์ ตั้งอยู่มุมกำแพงแก้วทั้ง ๔ มุม และมีพระเจดีย์ราย เป็นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ด้านละ ๒ องค์ รวม ๘ องค์



ทิศใต้ ติดคลองบางพรม ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร (วัดเงิน)


{ พระวิหาร วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร (โบราณสถาน) }




16,214







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย