การอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก เมื่อมีสิ่งที่ทำให้เราหงุดหงิด จะปล่อยวางอย่างไร???

 ลูกโป่ง  




 ผู้ถาม : การอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก เป็นการฝึกขันติซึ่งเราก็รู้อยู่
แต่เมื่อมีสิ่งที่ทำให้เราหงุดหงิด
เช่นเสียงกรนที่ดังมากจนไม่สามารถทำใจให้ยอมรับได้ง่ายนัก
อยากเรียนถามหลวงพ่อว่าแม้จิตผู้รู้จะรับรู้ในสิ่งที่มากระทบอารมณ์แล้ว
แต่ก็ยังไม่วายรำคาญ ไม่ชอบใจอยู่ดี ปล่อยวางยาก
กรณีนี้ถือว่าผู้รู้ดูผู้รู้แล้วใช่ไหม ทำไมยังไปรู้ในอารมณ์นั้นอีก
ควรทำเช่นใดจึงจะปล่อยวางได้โดยไม่ติดค้าง 



 หลวงพ่อ :  นี่เป็นการท้าทาย สติ ความระลึก
เป็นความสามารถของเราที่จะรับปัจจุบันธรรมได้ เป็นอะไรก็แล้วแต่
เป็นคนกำลังกรน หรือมีหมาเห่า ที่ห้องที่เราพักข้างหลังมีหมาตัวเล็กๆ
เสียงดังมากหลายตัว ก็มีนาฬิกาด้วย แล้ว ก็มีเสียง ติ๊ก ติ๊ก หรือมีอะไรเกิดขึ้น
ถ้าเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ เป็นทุกข์
เราจะสร้างทุกข์กับเสียงหมาเห่า หรือนาฬิกาดังอะไรอย่างนี้


อาตมาก็เคยฝึกอย่างนี้มาก มีอะไรในปัจจุบันเราจะยอมรับมันเป็นอย่างนี้
เราจะรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น ในกุฏิที่ อมราวดีก็มีนาฬิกา
ธรรมดาเราไม่เคยสังเกตนะ มีเสียงติ๊ก ติ๊ก อย่างนั้น
และเวลาเรานั่งสมาธิ สังเกต นั่งสมาธิก็ได้ฟังแต่สิ่ง ติ๊ก ติ๊ก ได้
แต่ความจริงธรรมดาอยู่ในกุฏิก็ไม่เคยสังเกต เพราะสมาธิมันไม่มาก
และก็มีสติอยู่ ไม่เคยจับเสียงอย่างนี้ที่จะรังเกียจได้


แต่ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิ อยากจะได้สมาธิ อยากได้ผลในการนั่งสมาธิจริงๆ
มีอะไรเกิดขึ้น ก็จะทำให้เรารังเกียจสิ่งเหล่านั้นได้
บางทีก็ โอ้ คน พระ แม่ชีอะไรก็โกรธใหญ่ เพราะมีคนกรนในห้องกรรมฐาน
บางทีคนก็มีเสียงคนพูดดังเกินไป ก็เกิดอารมณ์โกรธก็ได้


แต่เป็นโอกาสดีที่จะพิจารณาสิ่งเหล่านี้ บางทีถ้าเรามีความโกรธว่าคนพูดดังเกินไป
เราก็ตามอารมณ์นี้ นี่เป็น ความยึดมั่นถือมั่นของเรา
ให้เรารับรู้ พิจารณานี่เป็นโอกาสดีที่จะเห็นกิเลส
ความประสงค์ของเราอยากได้สมาธิจริงๆ อยากได้ความสงบ
นี่เป็นตัณหาจริงๆ อยากได้สิ่งที่เราไม่มี และเราก็พิจารณา
มีสมาธิมากๆ สงบมากๆ เราก็จะอยากให้เป็นคนมีสมาธิมากๆ สงบมากๆ
นี่ก็เป็นตัวตนอีก อยากได้สิ่งที่เป็นภวตัณหา อยากได้สิ่งที่เราไม่มีในปัจจุบัน


พิจารณาอย่างนี้ ปัญญาจะช่วยให้เราปล่อยความทะเยอทะยานในตัณหา
ภวตัณหาที่เกิดขึ้นในเวลาปฏิบัติได้
อาตมาก็ตั้งใจ อยู่ที่ไหนก็เป็นที่วิเวกที่สงบหรือเป็นอยู่ กลางเมือง
หรือที่มีเสียงดัง เสียงไม่ดีอะไร หรือเป็นอย่างไร ให้เรารับรู้มันเป็นอย่างนี้
แล้วก็ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น เวลาเสียงดังกระทบหูของตนเอง


นี่ก็เป็นทางที่ใช้ได้ เราจะปฏิบัติเรื่อยไป อยู่ในกรุงเทพฯก็ได้
อยู่บ้านนอก อยู่วัดป่าอะไร วัดป่าก็มีเสียงดังเหมือนกันนะ
มีนก มีแมลง บางองค์ก็รังเกียจนก เสียงนก หรือแมลง เป็นสัตว์ป่า
บางองค์ก็อยากได้สมาธิจนรังเกียจสิ่งที่มาทำให้ไม่ได้สิ่งที่อยากได้


อาตมาเดือนมกราปีหน้าจะไปเชียงใหม่ และโยมนิมนต์เป็นหลายปี
เคยสอนกรรมฐานที่โป่งแยง อยู่แม่ริมเป็นสถานที่สวยงาม
เป็นรีสอร์ทมีน้ำตก มีลำธาร แล้วมีศาลาปฏิบัติก็ไม่ใหญ่
โยมมี ๒๐ ดีนะ แล้วก็มีเสียงน้ำตกเสียงลำธารตลอด
เพราะอยู่ใกล้เสียงเหล่านี้ และก็กุฏิของเรา มันอยู่ใกล้น้ำตกด้วย
และลำธาร ทำให้เรามีเสียงแบบลำธาร
มีเสียงแบบน้ำตกตลอดทั้งกลางวันกลางคืน


วันหนึ่งพระฝรั่งองค์หนึ่งไปด้วย แล้วก็ปฏิบัติ ๒-๓ วัน
ท่านบอกว่าปฏิบัติที่นี่ไม่ได้ เสียงดังไม่มีความสงบ
มีแต่เสียงลำธาร เสียงน้ำตก เสียงดังมากปฏิบัติที่นี่ไม่ได้


เราบอกว่าถ้าเรารังเกียจเสียงน้ำตก นี่มันเป็นกิเลสของเรา
เสียงน้ำตก เสียงลำธารก็เป็นธรรมชาติ
เราไม่ได้สร้าง เราไม่ได้ทำให้ มันเป็นอย่างนี้เอง


ถ้าเราสังเกต ฟังเสียงลำธารไหลไป แล้วก็น้ำตก
เสียงเหล่านี้ก็มีเสียงที่จะทำให้เราสงบได้ง่าย
ถ้าเราสร้างความรังเกียจ ความเกลียดต่อเสียงนั้น
เราก็จะอยู่ที่สวยงาม ที่สงบ
แต่เราเป็นผู้สร้างความวุ่นวายในจิตของเราเอง


ถ้าหากว่าเราปล่อยไป และไปอยู่กับเสียงที่ไหลไป
เสียงที่มีเสียงลำธารไหล ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสงบได้ง่าย
ถ้าเราพิจารณาเสียงน้ำตก เสียงลำธารได้
องค์นั้นก็สร้างเป็นกิเลส นี่เป็นอวิชชา และมีอะไร
นกที่อยู่ในต้นไม้ หรือหมาเห่า
เราจะควบคุมโลกให้ตามความคิดความเห็นของเรานี่
คนเราก็สงสัยจะมีความทุกข์ในชีวิตตลอดไป
เราจะควบคุมบังคับโลกตามความคิด


 อาตมาก็ทำไม่ได้เลย เวลาเป็นพระใหม่ๆ
ก็อยากจะเป็นอยากจะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างตามความคิดของตนเอง
แล้วก็ยิ่งพยายามก็ยิ่งเป็นทุกข์อยู่
ก็หลวงพ่อชาก็ค่อยๆ ปล่อยให้ ปล่อยโลกให้มันเป็นอย่างนั้น ให้อยู่กับรู้
ไม่อยู่กับอยากให้มันเป็นอย่างนี้ หรือไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ เป็นอย่างนี้
หรืออยากจะให้โลกมันดีกว่านี้ได้ เราก็จะไม่มีสิ้นสุด เราจะเป็นทุกข์ตลอด 



 คัดลอกจาก...หนังสือ อริยสัจ 4
(พระราชสุเมธาจารย์ พระอาจารย์สุเมโธ
เป็นลูกศิษย์คนแรกของ หลวงปู่ชา สุภทฺโท
ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ
หนังสือเล่มนี้เป็นคำบรรยายในการอบรมปฏิบัติธรรม
ที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙)

ที่มา...บ้านเรือนธรรม 

5,580







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย