"ความวู่วามโผงผาง" (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)

 วิริยะ12  

.
 "ความวู่วามโผงผาง"

" .. "อารมณ์วู่วามนั้น หากบุคคลใดรู้ตัวก็ต้องถือว่าเป็นคนมีปัญญาแล้วและหากถ้ามันเห็นว่าไม่มีประโยชน์มันก็จะวางไปเอง" แต่ถ้าหากเห็นว่ามีประโยชน์มันก็วางไม่ได้ "อย่างไรก็ตาม มันจะถึงกับฆ่าหรือตีเขาหรือไม่ ข้อนี้ก็เป็นส่วนที่จะต้องรู้อีก" ถ้ามันหมายจะฆ่าจะตีเขาก็ส่อแสดงให้เห็นว่า "มันยังมีกิเลสมากอยู่ เรื่องนี้เราต้องพิจารณา" ใคร ๆ ในโลกนี้ก็เหมือนกัน "ถ้าหากเห็นว่าโลภ โกรธ หลง มันเป็นของอร่อยอยู่ มันก็ลดละไม่ได้ มันต้องไปสังเวยเป็นอาหารของกิเลสต่อไป"

เรื่อง "ความวู่วามโผงผางนี้" พระบรมศาสดากล่าวว่า "เป็นตามนิสัยก็มี" เพราะบางคนอุปมาเหมือน "น้ำใสกลาง ขุ่นขอบ" คือมารยาทไม่งามพูดจาโผงผาง แต่จิตใจเป็นธรรมอยู่ "บางคนเหมือนน้ำใสทั้งขอบทั้งกลาง" หมายความว่าจิตใจก็เป็นธรรม มารยาทก็เป็นธรรม "ส่วนบางคนที่เหมือนน้ำขุ่นทั้งกลางทั้งขอบ" ก็หมายความว่าจิตใจก็ไม่เป็นธรรม คำพูดก็ไม่เป็นธรรม

เรื่องของธรรมะของพระพุทธศาสนา "ความจริงแล้วเราควรจะต้องปฏิบัติให้ควบคู่กับอารมณ์ของเราไป" ดีกว่าที่จะปล่อยให้อารมณ์ไหวไปทางอื่น ยกอุทาหรณ์ "คนเราจะสะอาดหรือไม่สะอาดขาดตัวก็ตาม แต่ก็ต้องได้อาบน้ำอยู่นั่นเอง" ถ้าไม่อาบน้ำก็ยิ่งไปใหญ่ เข้าสังคมใด ๆ ก็ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น "ถ้าเราไม่ประพฤติศีลประพฤติธรรมแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะมาล้างหัวจิตหัวใจให้สะอาดได้" .. "

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
ต.หนองสูงใต้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 
.
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8683

5,565







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย