"จิตอันใดใจอันนั้น" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12  

.
 "จิตอันใดใจอันนั้น"

" .. พุทธศาสนาสอนให้เข้ามาถึงจิต "จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จึงสอนเข้ามาถึงจิต" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมด "ที่วุ่นวายส่งส่ายนั่นมันออกไปจากจิตตัวเดียว" แล้วก็สอนให้รวมเข้ามาที่จิตอันเดียว "หยุดนิ่งไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงแต่ง เลยรวมเป็น "ใจ"

ครั้นรวมเป็นใจแล้ว "ที่นี้จะให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดก็ได้" แม้จะคิดก็อยู่ในขอบเขต คิดเสร็จแล้ว เดี๋ยวก็เข้ามารวมเป็นใจ "จะคิดปรุงแต่งอะไรสารพัดทุกอย่างก็รู้จักอยู่ว่ามันออกไปจากใจ" เมื่อคิดไปจนหมดเรื่องนั้นก็กลับเข้ามาเป็นใจอีก "จิตกับใจมันคนละอันกันอย่างนี้" ใช้การคนละอย่างกัน

"จิตเป็นผู้คิดผู้นึก ใจไม่คิดไม่นึก" อยู่เฉย ๆ แต่มีความรู้สึกอยู่ "เมื่อสติควบคุมให้อยู่ในขอบเขตแล้ว มันก็รวมเข้ามาเป็นหนึ่ง เข้ามาเป็นใจ" จิตกับใจมันต่างกันอย่างนี้ แต่แท้ที่จริงท่านก็พูดว่า "จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น" .. "

"ธรรมะเปรียบเหมือนดวงประทีป"
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ 

5,593







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย