จริต ของผู้ปฏิบัติธรรม
สวัสดีค่ะทุกท่าน
วันนี้ขอตอบคำถามของผู้ที่สนใจถามมาเกี่ยวกับ จริต ของผู้ปฏิบัติธรรม จากคำบรรยายของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺ) และความในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ดังนี้ค่ะ
จริต หรือ จริยา
คือ ความประพฤติปกติของบุคคลซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน
ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา
บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต
.....................................
สำหรับจริตของผู้ปฏิบัติ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มสมถภาวนา และกลุ่มวิปปัสสนาภาวนา
- สมถภาวนา นิยมแบ่งจริตของผู้ปฏิบัติเป็น ๖ จริต คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต พุทธิจริต วิตกจริต และ ศรัทธาจริต ชึ่งการทำสมถะควรเลือกอารมณ์ที่เหมาะกับจริตอัธยาศัยของผู้นั้น
- วิปัสสนาภาวนา แบ่งจริตออก ๒ จริต คือ ตัณหาจริต กับทิฏฐิจริต และในจริตทั้ง ๒ ยังแบ่งออกไปอีกอย่างละ ๒ ตามปัญญาอ่อน ปัญญากล้า จึงมีทั้งหมด ๔ จริต คือ ตัณหาจริตที่มีปัญญาน้อย ตัณหาจริตที่มีปัญญากล้า ทิฏฐิจริตที่มีปัญญาน้อย ทิฏฐิจริตที่มีปัญญากล้า
--------------------
ค้นหาตัวเองแล้วพิจารณาตามความเป็นจริง อย่างที่เป็น (ไม่ใช่อย่างที่อยากเป็น) แล้วเลือกกัมมัฏฏฐานให้ถูกกับจริตของตนๆ นะคะ
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรม จงดํารงมั่นตลอดกาล
ขอสาธุชนท้ังหลาย จงมีความเคารพในธรรม
นิษวัน วรานุสาสน์