"การรักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"


"รักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"

"การรักษาศีล" ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ คือ

- สมาทานวิรัติ ๑
- เจตนาวิรัติ ๑
- สัมปัตตวิรัติ ๑
- สมุทเฉจวิรัติ ๑

- "สมาทานวิรัติ" หมายถึง "การตั้งสัจจะต่อหน้าพระสงฆ์" กรณีขอศีลจากพระสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้น ในศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ "เหมาะสำหรับท่านที่ ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง" ต้องการระลึกถึงบ่อย ๆ "คือเอาพระสงฆ์เป็นพยาน"

- "เจตนาวิรัติ" คือ "ตั้งสัจจะกับตัวเอง" ว่าจะรักษาศีลให้ครบถ้วน ให้บริบูรณ์ "เอาตัวเองเป็นพยาน" อย่างนี้ สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความมั่นใจสูง มีศรัทธาแก่กล้ามากขึ้น

- "สัมปัตตวิรัติ" หมายถึง ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม แต่เป็นครั้งเป็นคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น "คนที่เคยยิงนก ตกปลา พอเห็นนกเห็นปลาติดอวนติดแห ก็เกิดความสงสาร จึงปล่อยนกปล่อยปลานั้นไป" อย่างนี้เรียกว่า "ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม"

- "สมุทเฉจวิรัติ" คือศีลของบรรดาท่านพระอริยะเจ้า(ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป) "เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องสมาทาน ไม่ต้องกำหนด" เกิดขึ้นโดยธรรมและสม่ำเสมอ ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีเศร้าหมอง คงอยู่ตลอดชีวิต

อนิสงค์ของศีล ที่ว่า "สีเลน สุคติงฺยันฺติ สีเลนโภคสัมปทา" นั้น "เกิดจากการรักษาศีล" ไม่ได้เกิดจากการสมาทานศีล

เหตุนั้น "การรักษาศีล จะสมาทานหรือไม่สมาทาน หากงดเว้นตามข้อห้ามของศีล ก็เรียกว่า ได้บุญได้กุศล ได้อานิสงส์เสมอกัน เพราะที่สุดของศีล คือเจตนางดเว้น" (วิรัติ) ..

   

7,538







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย