องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ

องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๐ ในรัชกาล ๖-๗-๘ รวมเป็น เวลา ๑๗ ปี
พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์
พระฉายา สิริวฑฺฒโน
นามสกุล ชมพูนุช
พระชนก กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
พระชนนี หม่อมปุ่น
ประสูติ วันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๒๒
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา ๕๘
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงอิสริยยศ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๖ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระชนมายุได้ ๗๙ พรรษาพระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนเจริญผลกุล สวัสดิ์ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ศึกษาที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา

ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดราชบพิธ ฯ ศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออุปสมบทแล้วได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสถาพรพิริยพรต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงเป็นคณะกรรมการชุดแรก ของมหามงกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖

พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เป็นพระราชาคณะ ผู้ใหญ่เสมอ ชั้นเทพ

พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์

พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ ฯ เป็นพระองค์ที่ ๒

พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลางและได้รับสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า

พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพระวงรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง

พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปรินายก นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์แรก

พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ นับว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ตำรา และหนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้มาก เช่น พจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย มหานิบาตชาดกต้นบัญญัติสามเณรสิกขาเป็นต้นพระนิพนธ์เหล่านี้ ยังใช้เป็นคู่มือในการศึกษาภาษาบาลี และศึกษาพระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรมาจนถึงปัจจุบัน

เลือกอ่านพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชองค์อื่นๆ ได้ที่นี่

   ความคิดเห็น



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย