๒.๑.๒ หลักธรรมเกี่ยวกับสังสารวัฏ /ต่อ

 dharma    2 มิ.ย. 2554

ปุริมโกฏิปัญหา ๕๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เหตุที่ปลายสุดข้างต้นไม่ปรากฏ
อธิบายว่า ปลายสุดข้างต้นของกาลไกลไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่ง
เพาะปลูกพืชลงในแผ่นดิน หน่อก็จะแตกออกจากพืชแล้วเจริญงอกงามไพบูลย์โดยลำดับจน
เผล็ดผล เขานำเอาเมล็ดพืชจากต้นนั้นไปเพาะปลูกอีก หน่อก็แทงขึ้นมาถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์จนเผล็ดผล ที่สุดของความสืบต่อย่อมไม่มี ด้วยอาการอย่างนี้ เหมือนฟองไข่เกิดจาก
แม่ไก่ แม่ไก่ก็เกิดจากฟองไข่ และฟองไข่ก็เกิดจากแม่ไก่อีกเหมือนเดิม เมื่อเป็นอย่างนั้น ที่สุด
ของความสืบต่อย่อมไม่มี หรือเหมือนจักรซึ่งมีรูปเป็นวงกลม ที่สุดของจักรก็ไม่มีปรากฏ
จักรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เหมือนกัน คือ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตากับรูป
โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูกับเสียง ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกกับกลิ่น
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรส กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายกับโผฏฐัพพะ
มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจกับธรรม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการ ๕๙
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงเกิด ๖๐ ตัณหา
เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน และอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ย่อมเกิดขึ้นแต่กรรมนั้นอีก เมื่อเป็นเช่นนั้น ที่สุดของความสืบต่อจึงไม่ปรากฏ ด้วยอาการ
อย่างนี้ ปลายสุดข้างต้นแห่งกาลไกลก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน
โกฏิปัญญายนปัญหา ๖๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อะไร คือ ปลายสุดข้างต้นที่
ไม่ปรากฏอธิบายว่า ปลายสุดข้างต้นที่ไม่ปรากฏ คือ กาลไกลที่เป็นอดีต ก็ปลายสุดข้างต้น
นั้นบางอย่างปรากฏ แต่บางอย่างก็ไม่ปรากฏ ก่อนหน้านี้ อวิชชาไม่ได้มีโดยสิ้นเชิง
โดยประการทั้งปวง ชื่อว่า ปลายสุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ ส่วนสิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมเกิดมี ที่มีแล้ว
กลับไปปราศ ชื่อว่า ปลายสุดข้างต้นย่อมปรากฏ แม้สิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมเกิดมี ที่มีแล้วกลับไป
ปราศ สิ่งนั้นถือว่าขาดทั้งสองข้าง คือ ข้างเกิด และข้างดับ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แต่สิ่งที่ขาด
แล้วทั้งสองข้างก็ยังสามารถเชื่อมต่อได้เพราะปลายสุดสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยปลายสุด
เหมือนกัน เหมือนต้นไม้แรกปลูกยังไม่มีใบไม่มีดอก เมื่อเกิดมีลำต้นก็ทำให้มีใบมีดอกด้วย
อำนาจของลำต้น ใบและดอกจึงเกิดติดต่อกันขึ้นมา และในที่สุดก็ร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
จะเหลืออยู่ก็เพียงลำต้นเท่านั้น เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ใบและดอกก็จะเกิดขึ้นมาอีกครั้ง
เพราะฉะนั้น ขันธ์ทั้งหลายจึงเป็นพืชแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
สังสารปัญหา ๖๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สังสารวัฏ
อธิบายว่า สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด บุคคลเกิดมาในที่นี้และก็ตายในที่นี้
เมื่อตายจากที่นี้ก็ไปเกิดในที่อื่น เมื่อเกิดในที่นั้นก็ตายในที่นั้นนั่นเอง เมื่อตายจากที่นั้นก็ไป
เกิดขึ้นในที่อื่นต่อไป การเกิดเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้แหละ ชื่อว่า สังสารวัฏ เปรียบเหมือน
บุคคลบริโภคมะม่วงสุกแล้ว นำเอาเมล็ดไปเพาะพันธุ์จนกลายเป็นมะม่วงต้นใหญ่เจริญเติบโต
ผลิดอกออกผล เขาเก็บมาบริโภคอีก และนำไปเพาะพันธุ์ใหม่ จนถึงเผล็ดผลเป็นลำดับมา
ปลายสุดของต้นมะม่วงมิได้ปรากฏ ด้วยอาการที่สืบเนื่องต่อกันมา
สังขารชายนปัญหา ๖๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สังขารบางอย่างที่เกิดอยู่
มีหรือไม่
อธิบายว่า สังขารบางอย่างที่เกิดอยู่ก็ย่อมมีอยู่ คือ เมื่อตาและรูปมี จักขุวิญญาณ
ก็ย่อมเกิดมี เมื่อจักขุวิญญาณมีจักขุสัมผัสก็ย่อมเกิดมี เมื่อจักขุสัมผัสมีเวทนาก็ย่อมเกิดมี
เมื่อเวทนามีตัณหาก็ย่อมเกิดมี เมื่อตัณหามีอุปาทานก็ย่อมเกิดมี เมื่ออุปาทานมีภพก็ย่อมเกิดมี
เมื่อภพมีชาติก็ย่อมเกิดมี เมื่อชาติมีชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะก็ย่อมเกิดมี
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมเกิดมีด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อตาและรูปไม่มีจักขุวิญญาณก็ไม่มี เมื่อจักขุ
วิญญาณไม่มีจักขุสัมผัสก็ไม่มี เมื่อจักขุสัมผัสไม่มีเวทนาก็ไม่มี เมื่อเวทนาไม่มีตัณหาก็ไม่มี
เมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานก็ไม่มี เมื่ออุปาทานไม่มีภพก็ไม่มี เมื่อภพไม่มีชาติก็ไม่มี เมื่อชาติไม่มี
ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะก็ไม่มี กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมดับไปด้วยอาการ
อย่างนี้
ภวันตสังขารปัญหา ๖๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สังขารบางอย่างที่ไม่เคยเกิด
มีมาก่อน จะเกิดมีขึ้นหรือไม่
อธิบายว่า สังขารบางอย่างที่ไม่เคยเกิดย่อมไม่เกิดขึ้น สังขารที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
เท่านั้นจึงจะเกิดขึ้นได้ เหมือนพืชคามและภูตคามบางอย่างที่ปลูกบนผืนดิน ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์โดยลำดับ เผล็ดดอกออกผล ต้นไม้เหล่านั้นไม่ใช่จะไม่เคยเกิดมาก่อนแล้วถึง
มาเกิดทีหลัง แต่ล้วนเคยเกิดมาก่อนแล้วทั้งสิ้น จึงทำให้เกิดขึ้นมา
เวทคูปัญหา ๖๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เวทคู
อธิบายว่า สภาวะที่เรียกว่า เวทคู คือ อาศัยตาเห็นรูปเกิดจักขุวิญญาณ อาศัยหูกับ
เสียงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยจมูกกับกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ อาศัยลิ้นกับรสเกิดชิวหาวิญญาณ
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ อาศัยใจกับธรรมเกิดมโนวิญญาณ ธรรมเหล่านี้ คือ
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการ ซึ่งเกิดพร้อมกับวิญญาณย่อม
เกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนี้อนึ่ง เจตภูต (เวทคู) ไม่มีอยู่ในธรรมเหล่านี้
เวทคูปัญหา ๖๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เจตภูตมีอยู่หรือไม่
อธิบายว่า เจตภูตไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์
ปัญจายตนกัมมนิพพัตตปัญหา ๖๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อายตนะทั้ง ๕
อย่าง เกิดขึ้นจากกรรมต่างกัน หรือกรรมอย่างเดียวกัน
อธิบายว่า อายตนะทั้ง ๕ อย่าง เกิดขึ้นจากกรรมที่ต่างกัน ไม่ได้เกิดขึ้นจากกรรม
อย่างเดียวกัน เปรียบเหมือนบุคคลหว่านพืชต่างชนิดกันลงในไร่เดียวกัน ผลของพืชที่ต่างกัน
ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่างกันอยู่นั่นเอง
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร
ถ้าบุคคลยังมีกิเลสเป็นเหตุให้ต้องทำกรรม ก็ต้องเสวยวิบากกรรมอย่างไม่สิ้นสุด แม้บุคคลผู้
ตามไปอยู่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นที่สุดและเบื้องต้นสังสารวัฏได้ เพราะเป็นสภาพที่ยาวนานจน
ไม่สามารถกำหนดได้ว่าเริ่มต้นมาจากไหน และจะไปสิ้นสุดลงที่ไหน กรรมที่แต่ละบุคคล
กระทำไว้จะติดตามตัวไปในทุกภพทุกชาติเหมือนเงาที่คอยติดตามตัวอยู่ตลอดเวลา ทุกคนที่
เกิดขึ้นมาล้วนมีกรรมเป็นของตัวเองทั้งนั้น ต่างกันก็แต่เพียงว่ามากหรือน้อย เลวหรือดีเพราะ
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดี ๖๘ บุคคลผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว
ย่อมได้รับผลชั่ว อนึ่ง สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไป
อยู่ ๖๙ เพราะฉะนั้น กรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา บุคคลควรศึกษาให้เข้าใจอย่าง
ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ความหมายของคำว่า กรรม โดยนัยหมายถึง กระบวนการสืบเนื่องแห่งพฤติกรรม
ของบุคคล ซึ่งเป็นพลังทำ ให้โลกส่วนตนและโลกส่วนรวม สามารถดำ เนินไปได้
ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ๗๐ กรรมเป็นพฤติกรรมสากลที่เป็น
ตัวหมุนโลก ไม่ใช่เพียงแค่การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
โลกจำเป็นต้องอาศัยสัตว์ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเพื่อเป็นตัวหมุนโลก เหมือนรถยนต์วิ่งได้
เพราะอาศัยเครื่องยนต์ซึ่งมีอะไหล่แต่ละตัวคอยทำหน้าที่ของตน นอกจากนั้น กรรมยัง
หมายถึง แหล่งรวมพฤติกรรมของสัตว์โลกที่เคยกระทำไว้ในอดีต กรรมที่สั่งสมไว้ในอดีตจะ
กลายมาเป็นตัวกำหนดชีวิตตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบ แก้ไขก็ไม่ได้หรือทำกลับคืนก็ไม่ได้
เพราะชีวิตถูกลิขิตด้วยกรรม
กรรมนิยามในพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
(๑) กฎศีลธรรม คือ กฎแห่งกรรม หมายถึง บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล
เช่นนั้น คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ๗๑ แสดงถึงการกระทำกรรมและผลของกรรมว่า
มีสภาพเหมือนกัน ไม่แตกต่างไปจากกัน บุคคลกระทำกรรมเช่นไรก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้นเป็น
การตอบแทน กรรมดีให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์ ซึ่งเป็นการอธิบายตามหลัก
ศีลธรรมในพระพุทธศาสนา(๒) กฎธรรมชาติ คือ กฎแห่งเหตุผล หมายถึง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้
เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ๗๒ แสดงถึง
กฎทั่วไปของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีผู้กระทำกรรม
ไม่มีผู้รับผลของกรรม และไม่มีผู้ที่จะมาดลบันดาลให้คนเราดีหรือชั่ว เพราะขึ้นอยู่กับกฎแห่ง
เหตุผล ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการแห่งเหตุและผลตามหลักสากล
กรรมในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นพฤติกรรม
ทางกาย วาจา และใจ พระพุทธศาสนามีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องกรรมว่า กรรมที่กระทำไว้ในอดีต
ทั้งหมด ไม่สามารถจะกำหนดวิถีชีวิตของคนเราได้หมด แต่กำหนดได้เพียงบางส่วน
แม้บุคคลจะไม่สามารถแก้ไขกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต แต่สามารถกระทำกรรมดีให้เพิ่ม
มากขึ้น เพื่อให้กรรมดีปรากฏผลออกมามาก ก็ทำให้กรรมในอดีตที่ไม่ดีรอคอยเวลาที่จะ
ให้ผล เมื่อเวลาล่วงเลยไป ผลของกรรมที่ไม่ดีก็จะเจือจางเบาบางลงกลายเป็นอโหสิกรรม   


ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

DT011129

dharma

2 มิ.ย. 2554
 เปิดอ่านหน้านี้  5326 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย