พระชตุกัณณีเถระ

ประวัติ / พระชตุกัณณีเถระ

    ท่านพระชตุกัณณี เป็นบุตรพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยา ในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลา พระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต

    เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตาม ลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพท แก่หมู่ศิษย์

    ชตุกัณณีมาณพอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

    ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาศาสดาทรงอนุญาตแล้ว อชิตมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนแรก เพราะเป็นหัวหน้า เมื่อกัปปมาณพทูลถามปัญหา ได้ฟังปัญหาพยากรณ์แล้วบรรลุพระอรหัตตผล

   ลำดับนั้น ชตุกัณณีมาณพ ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบเอ็ดว่า

ข้าพระองค์ได้ทราบว่า พระองค์ไม่ใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามพ้นห้วงกิเลสเสียแล้ว จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้หากิเลสกามมิได้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดุจดวงตาอันเกิดพร้อมกับตรัสรู้ จงแสดงธรรมสำหรับระงับกิเลสแก่ข้าพระพุทธเจ้า เหตุว่า พระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ดุจพระอาทิตย์อันส่องแผ่นดินให้แห้งด้วยรัศมี ขอพระองค์ผู้มีปัญญากว้างขวางราวกับแผ่นดิน ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด

   พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกามให้หมดสิ้นไป เห็นความหมดไปแห่งกามเป็นความเกษมเถิด กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดถือไว้ด้วย ตัณหา และทิฏฐิซึ่งควรจะละเสีย อย่าเสียดแทงใจของท่านได้ กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน ท่านจงให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวลในท่ามกลางท่านจักเป็นคนสงบระงับ กังวลได้ อาสวะ(กิเลส) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกามโดยอาการทั้งปวงก็มีไม่ได้

   พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลง ชตุกัณณีมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตนผล

    เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์ ชตุกัณณีมาณพ พร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ท่านพระชตุกัณณี ได้ช่วยทำกิจพระพุทธศาสนา ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระแล้วดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาล ก็ดับขันธปรินิพพาน



   ความคิดเห็น



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย