ความพึงพอใจสมความปรารถนานั้น ต้องนำไปสู่ หนึ่ง ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ สอง สันติสุขของมนุษย์ ถ้าไม่บรรลุ ๒ สิ่งนี้ ก็ไม่ควรเป็นหลักการของเศรษฐศาสตร์


เศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นมาเพื่อทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่เมื่อได้มีพัฒนาการสืบต่อมา ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องแปลกแยก หรือแยกตัวเองออกจากสาระดั้งเดิม ซึ่งอาจเป็นไปโดยไม่รู้ตัว และเศรษฐศาสตร์พูดบ่อยๆ ถึงการกระทำการให้เกิดความพอใจ หรือไปสู่ความพอใจของมนุษย์ ซึ่งก็มีปัญหามากกับความพอใจ (ให้ประสาน) กับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และในความเป็นมนุษย์ทั้งหมด

ดังนั้น อย่างน้อยที่สุด เศรษฐศาสตร์ควรตระหนักถึงความเป็นจริงในแง่นี้ว่า สิ่งนี้คือการเน้นย้ำไปถึงความพึงพอใจสมความปรารถนา ซึ่งความพึงพอใจสมความปรารถนานั้น ต้องนำไปสู่ หนึ่ง ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ สอง สันติสุขของมนุษย์ ถ้าไม่บรรลุ ๒ สิ่งนี้ ก็ไม่ควรเป็นหลักการของเศรษฐศาสตร์

หนังสือ พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

3,111







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย