พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ทวิบท - ทักขิณาบถ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ทวิบท - ทักขิณาบถ

ทวิบท สัตว์สองเท้า มี กา ไก่ นก เป็นต้น

ทศพลญาณ ดู ทสพลญาณ

ทศพิธราชธรรม ดู ราชธรรม

ทศมาส สิบเดือน

ทศวรรค สงฆ์มีพวกสิบ คือ สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อยจึงจะครบองค์ ทำสังฆกรรมประเภทนั้นๆ ได้ เช่น การอุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องใช้สงฆ์ทศวรรค

ทสกะ หมวด ๑๐

ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ ๑. ฐานาฐานญาณ ๒. กรรมวิปากญาณ ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ๔. นานาธาตุญาณ ๕. นานาธิมุตติกญาณ ๖.อินทริยปโรปริยัตตญาณ ๗ ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ๘. ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ๙. จุตูปปาตญาณ ๑๐. อาสวักขยญาณ; นิยมเขียน ทศพลญาณ; ดู ญาณ ชื่อนั้น ๆ

ทองอาบ ของอาบด้วยทอง,ของชุบทอง, ของแช่ทองคำให้จับผิว

ทอด ในประโยคว่า “ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย” ทิ้ง, ปล่อย, ละ

ทอดกฐิน ดู กฐิน,กฐินทาน

ทอดธุระ ไม่เอาใจใส่,ไม่สนใจ, ไม่เอาธุระ

ทอดผ้าป่า เอาผ้าถวายโดยทิ้งไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง ดู ผ้าป่า

ทักขิณ, ทักษิณขวา, ทิศใต้

ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา หมายถึงอาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖) ดู ทิศหก

ทักขิณา, ทักษิณา ทานที่ถวายเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

ทักขิณานุปทานทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

ทักขิณาบถ เมืองแถบใต้,ประเทศฝ่ายทิศใต้




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย