พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ปาสาทิกสูตร - ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ปาสาทิกสูตร - ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ

ปาสาทิกสูตร
ชื่อสูตรที่ ๖ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก

ปาหุเนยฺโย ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับคือของสำหรับรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงเบ้านเช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)

ปิงคิยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ปิฎก ตามศัพท์แปลว่า กระจาด หรือตระกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเห็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑. วินัยปิฏก รวบรวมพระวินัย ๒. สุตตันตปิฏก รวบรวมพระสูตร ๓. อภิธรรมปิฏก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓) ดู ไตรปิฏก

ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง ปิณฑปาติกังคะนั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้ (ข้อ ๓ ในธุดงค์ ๑๓)

ปิณโฑล ภารทวาชะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า "ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้างเจ้าเถิด" พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบันลึกสีหนาท

ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน

ปิตตะ น้ำดี, น้ำจากต่อมตับ, โรคดีเดือด

ปิตุฆาต ฆ่าบิดา (ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)

ปิปผลิ, ปิปผลิมาณพ ชื่อของพระมหากัสสปเถระ เมื่อก่อนออกบวช ส่วนกัสสปะ เป็นชื่อที่เรียกตามโคตร




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย