พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ปราโมทย์ - ปริพาชก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ปราโมทย์ - ปริพาชก

ปราโมทย์
ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ

ปรารภ ตั้งต้น, ดำริ, กล่าวถึง

ปรารมภ์ เริ่ม, ปรารภ, เริ่มแรก, วิตก, รำพึง,ครุ่นคิด

ปราศรัย พูด้วยความเอ็นดู, กล่าว

ปราสาท เรือนหลวง, เรือนชั้น

ปริกถา คำพูดหว่านล้อม, การพูดให้รู้โดยปริยาย, การพูดอ้อมไปอ้อมมาเพื่อให้เขาถวายปัจจัย ๔ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ ถ้าทำปริกถาเพื่อให้เขาถวายจีวรและบิณฑบาต ชื่อว่ามีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ท่านว่าทำปริกถาในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่าในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่า "เสนาสนะของสงฆ์คับแคบ" อย่างไรก็ตาม ถ้าถือธุดงค์ ไม่พึงทำปริกถาอย่างหนึ่งอย่างใดเลย

ปริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขี้นตระเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐานได้แก่สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น (ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)

ปริกัป ๑. ความตรึก, ความดำริ, ความคำนึง, ความกำหนดในใจ ๒. การกำหนดด้วยเงื่อนไข, ข้อแม้

ปริกัมม ดู บริกรรม

ปริจเฉท กำหนดตัด, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ , ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นหมวดๆ, บท,ตอน; การกำหนดแยก, การพิจารณาตัดแยกออกให้เห็นแต่ละส่วน (พจนานุกรมเขียน ปริเฉท)

ปริจเฉทรูป รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่อากาสธาตุ หรืออากาศ คือช่องว่าง เช่น ช่องว่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน มี ๓ คือ ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก ๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา . ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้

ปริณายก ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า

ปริเทวะ ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ

ปริเทวนาการ ดู ปริเทวะ

ปรินิพพาน การดับรอบ, การดับสนิท, ตาย (สำหรับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์) ดู นิพพาน

ปรินิพานบริกรรม การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อนแล้วเสด็จปรินิพพาน

ปรินิพพานสมัย เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

ปริปุจฉา การสอบถาม, การค้นคว้า, การสืบค้นหาความรู้

ปริพาชก นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาพวกหนึ่งในชมพูทวีปชอบสัญจรไปในที่ต่างๆ สำแดงทรรศนะทางศาสนาปรัชญาของตน




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย