พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ประทีป - ประมุข

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ประทีป - ประมุข

ประทีป
ตะเกียง, โคม, ไฟที่มีเปลวสว่าง

ประทุม บัวหลวง

ประทุษร้ายสกุล ดู กุลทูสก

ประเทศบัญญัติ บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย

ประเทศราช เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น

ประธาน หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่บ้าน

ประธานาธิบดี หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ

ประนม ยกกระพุ่มมือ

ประนีประนอม ปรองดองกัน,ยอมกัน,ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย

ประพฤติ ความเป็นไปที่เกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติ, ปฏิบัติตน, ดำเนินชีวิต

ประพฤติในคณะอันพร่องเป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ หมายถึงประพฤติมานัตในถิ่นเช่นอาวาสที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือหย่อน ๔

ประพาส ไปเที่ยว, เที่ยวเล่น, อยู่แรม

ประเพณี ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย

ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์; บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมสน ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ

ประมาท ดู ปมาทะ

ประมุข ผู้เป็นหัวหน้า




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย