พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ปรมัตถสัจจะ - ประทาน

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ปรมัตถสัจจะ - ประทาน

ปรมัตถสัจจะ
จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตรงข้ามกับสมมติสัจจะ จริงโดยสมมติเช่น สัตว์ ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาง ข. เป็นต้น

ปรมัตถโชติกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ธรรมบทสุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษจารย์รจนาหรือเป็นหัวหน้าในการจัดเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐

ปรมัตถทีปนี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา และเถรีคาถา พระธรรมบาลรจนาขึ้นในสมัยภายหลังพระพุทธโฆษาจารย์ไม่นาน

ปรมัตถมัญชุสา ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา

ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรืออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือบรมอัตตาเป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเองเมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไปสิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรื่องใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน แลเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป ; ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ หรหมัน นั่นเอง

ปรหิตปฏิบัติ ดู ปรัตถปฎิบัติ

ประคด ผ้าใช้คาดเอวหรือคาดอกสำหรับพระ (เรียกประคดอก ประคดเอว) มี ๒ อย่าง คือ ประคดแผ่น ๑ ประคดไส้สุกร ๑

ประเคน ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งให้ถือมือ; องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ ๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้ ๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง ๓. เขาน้อมของนั้นเข้ามาให้ ๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้ ๕. ภิกษุรับด้วยการก็ได้ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)

ประจักษ์ ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, ต่อหน้าต่อตา

ประชวร เจ็บ,ป่วย

ประชวรพระครรภ์ ปวดท้องคลอดลูก

ประณต น้อมไหว้

ประณม ยกกระพุ่มมือแสดงความเคารพ, ยกมือไหว้ (พจนฯ = ประนม)

ประณาม . การน้อมไหว้ . การขับไล่ . พูดว่ากดให้เสียหาย

ประณีต ดี, ดียิ่ง, ละเอียด

ประดิษฐ์ ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น

ประดิษฐาน ตั้งไว้, แต่งตั้ง, การตั้งไว้, การแต่งตั้ง

ประเด็น ข้อความสำคัญ,ห้วข้อหลัก

ประถมวัย ดู ปฐมวัย

ประทม นอน

ประทมอนุฏฐานไสยา นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก

ประทักษิณ เบื้อขวา, การเวียนขวาคือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ

ประทับ อยู่ เช่นประทับแรม (สำหรับเจ้านาย), แนบอยู่เช่นเอาปืนประทับบ่า, กดลง เช่น ประทับตรา

ประทาน ให้




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย