พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด จูฬเวทัลลสูตร - เจตภูต

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


จูฬเวทัลลสูตร - เจตภูต

จูฬเวทัลลสูตร ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิม นิกาย มูลปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงโดยพระธรรมทินนาเถรี เป็น
คำตอบปัญหาที่วิสาขอุบาสกถาม

จูฬสังคาม ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก

จูฬสุทธันตปริวาส สุทธันตปริวาสอย่างเล็ก หมายความว่า ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกัน
จำจำนวนอาบัติและวันที่ปิดได้บ้าง อยู่ปริวาสไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์

เจดีย์ ที่เคารพนับถือ, บุคคล สถานที่หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา, เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี ๔ อย่างคือ ๑. ธาตุเจดีย์
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย ๓. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระ
ธรรม คือพุทธพจน์ ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป; ในทางศิลปกรรมไทยหมายถึงสิ่งที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่
บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือเช่น พระธาตุและอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้น

เจตนา ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตน์จำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัว
นำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นประธานในสังขารขันธ์ และเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมที
เดียว ดังพุทธพจน์ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่าเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

เจตภูต สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่า
ออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาต
มัน หรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย