พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ความค้ำ - คันโพง

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ความค้ำ - คันโพง

ความค้ำ ในประโยคว่า “เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน” เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน

ความไม่ประมาท ดู อัปปมาท

คว่ำบาตร การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสกผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วยคือ ไม่
รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม คู่กับ หงายบาตร

คหปติกา “เรือนของคฤหบดี” คือเรือนอันชาวบ้านสร้างถวายเป็นกัปปิยกุฎี ดู กัปปิยภูมิ

คหปติมหาสาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง หมายถึงคฤหบดีผู้ร่ำรวย มีสมบัติมาก

คัคคภิกษุ ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหาย
เป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้น ๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้ จบ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้
ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก

คณฺโฑ โรคฝี

คันธกุฎี “กุฎีอบกลิ่นหอม”, ชื่อเรียกพระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่นพระคันธกุฎีที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง
ถวายที่พระเชตวัน ในนครสาวัตถีเป็นต้น พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็เรียกว่าคันธกุฎี เช่น
เดียวกัน (เช่น ขุ.อป.๓๒/๑๘/๘๕; ๑๗๒/๒๗๒; ๓๓/๑๓๑/๒๒๐) อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้า
พระองค์ปัจจุบันว่าคันธกุฎีนั้น มีใช้แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

คันถะ 1. กิเลสที่ร้อยรัดมัดใจสัตว์ให้ติดอยู่ 2. ตำรา, คัมภีร์

คันถธุระ ธุระฝ่ายคัมภีร์, ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์, การศึกษาปริยัติธรรม; เทียบ วิปัสสนาธุระ

คันถรจนาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์

คันธาระ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญ
จาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวงชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับ
แคว้นกัษมีระ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์ พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระ
นามว่าปุกกุสาติ

คันโพง คันชั่งที่ถ่วงภาชนะสำหรับตักน้ำ เพื่อช่วยทุ่นแรงเวลาตักน้ำขึ้นจากบ่อลึกๆ (คัน = คันชั่งที่ใช้ถ่วง, โพง =
ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อลึกๆ), เครื่องสำหรับตักน้ำ หรือโพงน้ำ มีคันยาวที่ปลายเพื่อถ่วงให้เบาแรง เวลาตักหรือ
โพงน้ำขึ้น (โพง = ตัก, วิด)




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย