๗.ปางทรงพระสุบิน


พระพุทธรูปปางทรงพระสุบิน วัดปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระพาหา ( ต้นแขน ) ขวาแนบกับพื้น ยกหลังพระหัตถ์ขึ้นแนบพระหนุ ( คาง ) งอนิ้วพระหัตถ์แนบกับพระปราง ( แก้ม ) หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย เป็นกิริยาบรรทมหลับในลักษณะสีหไสยาสน์

ความเป็นมาของปางทรงพระสุบิน

ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะทรงเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งพระโพธิญาณ ทรงเปลี่ยนมาใช้มัชฌิมาปฏิปทา หรือ การปฏิบัติโดยทางสายกลาง จึงเสด็จออกบิณฑบาตดังเดิม ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ เข้าใจว่า บัดนี้ พระบรมโพธิสัตว์ได้ละความเพียรแล้วหันมาบริโภคอาหารดังเดิม ไหนเลยจะพบธรรมวิเศษได้ จึงพากันเดินทางจากไป พระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตมาจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ขณะบรรทมทรงปัญจมหาสุบิน ( ฝัน ) เป็นบุพนิมิตรมหามงคล ๕ ประการ เมื่อตื่นบรรทมพระบรมโพธิสัตว์ทรงทำนายมหาสุบินนิมิตรด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงเบิกบานพระทัยเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

8,490






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย