ค้นหาในเว็บไซต์ :

"การขอโทษคือการป้องกันมิให้มีการผูกเวร" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)

 ธรรมโฆษ  

.
"การขอโทษคือการป้องกันมิให้มีการผูกเวร"

" .. "การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดีในทางหนึ่ง" หรือจะกล่าวว่า "การขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการผูกเวรกันก็ไม่ผิด"

เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด "อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะเพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน" แม้ไม่อาจแก้โทสะนั้นได้ "ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้" เป็นการสร้างอภัยทานขึ้นแทน "อภัยทานก็คือการยกโทษให้" คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

"อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ" เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คือ "อภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ"

"โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน" โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด "แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น" ดีขึ้น มีค่าขึ้น

ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต "จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ" เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม "พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้" ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

"ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก" ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่" และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป "ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้"

ในทางตรงกันข้าม "ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้" เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน "อันใจนั้นฝึกได้" ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น "ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย" .. "

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

10







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย