ความเสมอภาคที่แท้ มากับความเป็นธรรม ที่สร้างสามัคคี มิใช่มีไว้เพื่อให้แก่งแย่งความเป็นธรรม


ความเสมอภาคที่แท้ มากับความเป็นธรรม ที่สร้างสามัคคี มิใช่มีไว้เพื่อให้แก่งแย่งความเป็นธรรม

ยังมีความหมายของสมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายหลักเลย ท่านเน้นไว้โดยใช้คำบาลีว่า “สมานสุขทุกขตา” แปลว่า มีสุขทุกข์เสมอกัน หมายความว่า เธอสุข ฉันก็สุขด้วย เธอทุกข์ ฉันก็ไม่ทิ้ง ทั้งร่วมความสุข ความเจริญ และร่วมเผชิญร่วมแก้ปัญหา หรือว่า ทุกข์ก็ทุกข์ด้วย สุข ก็สุขด้วย ภาษาไทยเรียกว่า “ร่วมสุขร่วมทุกข์” แง่นี้เป็นลักษณะสำคัญของสมานัตตตา ที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยดี เมื่อเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกับเขา ก็ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน โดยมีความหมายครบมาทุกแง่ตั้งแต่สามข้อแรก ความเสมอภาคจึงจะสมบูรณ์

แล้วก็ไม่ใช่เสมอภาคกันเฉย ๆ ยังช่วยเหลือดูแลกันด้วย ทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา ครบทุกด้าน ทุกสถานการณ์

แล้วก็ไม่ใช่มีเพียงแค่การแสดงออกภายนอก แต่การแสดงออกนั้นมาจากใจจริง โดยมีคุณธรรมในใจเป็นฐานที่มาอีกด้วย ทั้งเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา

เวลานี้ แม้แต่ความเสมอภาค ก็ตรงข้ามกับความเสมอภาคที่พระสอน คือไม่เป็นความเสมอภาคเชิงสมาน แต่เป็นความเสมอภาคที่เน้นในด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ใจโน้มไปในทางแก่งแย่ง แบ่งแยก ที่คอยเพ่งคอยจ้องกันว่า เอ๊ะ...ฉันได้เท่าเธอหรือเปล่า พวกนั้น ตาคนโน้นได้ ๕๐๐ แล้วเราล่ะ ได้ ๕๐๐ หรือเปล่า จะเห็นชัดว่า ความเสมอภาคของคนปัจจุบัน มักมองกันที่เรื่องลาภผลเงินทองและประโยชน์ส่วนตัว แล้วก็โน้มไปทางแบ่งแยก และแก่งแย่ง ขอให้สังเกตดูเถิด สังคมปัจจุบันเป็นอย่างนั้นจริงไหม ถ้าจริง ก็แน่นอนว่าจะขาดสามัคคี และยุ่งไม่หยุด

หนังสือ ผู้พิพากษา ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

3,341







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย