โทษของการโกหกข้อหนึ่งว่าไม่มีใครเชื่อคำพูดของเรา คำพูดไม่มีน้ำหนัก เราจะเป็นที่ระแวงของคนอื่นแม้ในกรณีที่พูดความจริงก็ตาม


"มีนักปราชญ์คนหนึ่งเคยบอกว่าถ้าอยากพูดเท็จควรมีความจำดี เหตุผลคือเพราะโกหกคนนั้นคนนี้ ถ้าความจำไม่ดีแล้วจะสับสนว่าพูดอะไรกับใคร ไม่นานจะพบโทษของการโกหกข้อหนึ่งว่าไม่มีใครเชื่อคำพูดของเรา คำพูดไม่มีน้ำหนัก เราจะเป็นที่ระแวงของคนอื่นแม้ในกรณีที่พูดความจริงก็ตาม

ผู้ที่โกหกจนเป็นนิสัยยังต้องการเคารพนับถือตัวเอง ไม่อยากคิดว่าตัวเองเป็นคนขี้โกหก คนประเภทนี้หลายคนก็เลยหลอกลวงตัวเองว่าสิ่งที่พูดเป็นความจริงทั้งหมดจนกระทั่งความทรงจำเปลี่ยนไป เมื่อมีใครตักเตือนว่ากล่าวเพราะการโกหกจะน้อยใจเสียใจมากพอๆ กับคนที่ไม่เคยโกหก เมื่อการโกหกถึงขั้นนี้แล้วเป็นปัญหาต่อสุขภาพจิต เพราะเส้นแบ่งระหว่างความจริงกับความไม่จริงเริ่มเลอะเลือน

สรุปแล้วพูดความจริงดีกว่า พูดความจริงที่เป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ ด้วยความหวังดี และความสุภาพอ่อนโยน ถ้าพูดอย่างนี้พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่าเป็นวาจาสุภาษิต"

พระอาจารย์ชยสาโร

3,275







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย