คุณธรรมสามัคคี ๔ ข้อ โดย พระเทพสิงห์บุราจารย์

 alfred  



๑. ทานัง ความเป็นผู้อัธยาศัย อารีอารอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เจือจานแก่กัน ตามกำลังของตน อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความเป็นคนใจจืดเหนียวแน่น เห็นแต่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
๒. เปยฺยวชฺชํ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน นุ่มนวลชวนดื่มไว้ในใจ ถึงแม้ว่าวาจาจะหยาบคาย แต่เป็นเครื่องเตือนใจให้ประพฤติดี วาจาเช่นนี้ ก็ควรดื่มไว้ในใจ อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง การพูดเสียดสีกระทบกระทั่ง บริภาษให้บาดใจ เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
๓. อตฺถจริยา ความประพฤติกิจ ที่เป็นประโยชน์ต่อกัน คือความเป็นผู้โอบอ้อม เห็นเขาได้ทุกข์ยากก็เอาใจช่วยและคอยถามข่าวคราวทุกข์สุขแห่งกันและกัน สิ่งใดที่ควรแก่กำลังก็ช่วยเหลือไม่ดูดาย เห็นสิ่งใดผิดก็ช่วยตักเตือน ถ้าความเสื่อมเสียจะมีมาถึงก็ช่วยแก้ไขป้องกัน โดยเต็มกำลัง อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความดูดายเพิกเฉย ต่อผู้ตกอับหรือกลับซ้ำเติมส่งเสริมโทษภัย เป็นเหตุทำลายความสามัคคี
๔. สมานตฺตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ คือเป็นคนมีมารยาทเรียบร้อย ไม่หยาบคาย แม้จะมีโภคสมบัติ และอำนาจคุณวุฒิ วิทยาความรู้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ก็ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นว่าเลวทรามกว่าตนเกินไป ประพฤติพอเหมาะแก่คุณสมบัติแห่งตน เป็นผู้คงที่ไม่เอียงเพราะอคติ ผู้ใดประพฤติดีก็ชมตามความดี ผู้ใดประพฤติทุจริตผิดจากครองธรรมก็ว่ากล่าวสั่งสอนตามความผิดของผู้นั้น อันนี้เป็นทางให้เกิดความสามัคคีประการหนึ่ง ความเป็นผู้ถือตัวดูหมิ่นผู้อื่นเกินไปและประพฤติตนเอนเอียง ไม่เที่ยงธรรม เป็นเหตุทำลายความสามัคคี


18,897






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย