ประเพณีตักบาตรนํ้าผึ้ง จังหวัดสมุทรสาคร



"ตักบาตรน้ำผึ้ง" เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายรามัญ(มอญ) จะจัดขึ้นในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือประมาณเดือนกันยายน ซึ่งชาวมอญจะเรียกว่า " บังฮะเบี้ยงต๊าดซาย " แปลว่าการทำบุญตักบาตรน้ำผึ้ง(หล่องฮะเปียงดาจซาย) สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อย และน้ำผึ้งคอยถวายต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อย มาบริโภคเป็นยาได้



การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตร และนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหารคาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตรได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล



การถวายน้ำผึ้งหรือประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งของชาวมอญนั้นเป็นความเชื่อที่มีผลพวงมาจากการที่ชาวมอญนั้นมีความเคารพ ศรัทธาในพระสีวลีไม่มีผิดเพี้ยน และความศรัทธานั้นก็ยังคงมีให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้



ที่มา : เทศกาล การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ทั่วไทย ๒๕๖๔, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย