หน้าแรก นิทานชาดก ชวสกุณชาดก
นกหัวขวานกับราชสีห์


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวันเมืองราชคฤห์ ทรงปรารภความอกตัญญูของพระเทวทัต ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีราชสีห์ตัวหนึ่งเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณเดียวกัน วันหนึ่ง ราชสีห์กินเนื้อด้วยความมูมมามจึงทำให้กระดูกติดคอจนคอบวม มันไม่สามารถจับเหยื่อหากินได้นอนปวดร้าวทรมานอยู่ หลายวันต่อมานกหัวขวานบินเที่ยวหากินไปพบมันเข้าจึงจับกิ่งไม้ร้องถามไปว่า
     " ท่านราชสีห์ ท่านนอนร้องครวญครางอยู่ เป็นอะไรหรือ ? "
     " กระดูกติดคอเรานะสิ เรานอนเจ็บปวดทรมานมาหลายวันแล้ว ช่วยเราด้วย " มันร้องตอบ

นกหัวขวานพูดว่า " เราอยากจะช่วยท่านอยู่ แต่ไม่กล้าจะเข้าไปในปากท่าน กลัวท่านจะกินเรา" ราชสีห์อ้อนวอนว่า " ท่านอย่ากลัวไปเลย เราไม่กินท่านดอก ช่วยเราด้วยนะ"

นกหัวขวานใจอ่อนด้วยความกรุณาสงสารราชสีห์จึงรับคำช่วยเหลือ ให้ราชสีห์นอนตะแคงแล้วใช้ท่อนไม้ค้ำปากของมันให้อ้าปากไว้ เพื่อไม่ให้มันหุบปากได้ แล้วเข้าไปในปากราชสีห์ ใช้ปากจิกกระดูกให้เคลื่อนเข้าไปในท้องของมันแล้วจิกท่อนไม้ให้ล้มลง บินขึ้นไปจับบนกิ่งไม้ตามเดิม ทำให้ราชสีห์หมดทุกข์เที่ยวจับเหยื่อกินได้เป็นปกติ

อีกหลายวันต่อมา นกหัวขวานบินหากินไปพบราชสีห์กำลังนอนแทะเนื้ออยู่ คิดจะทดสอบจิตใจของราชสีห์ จึงจับบนกิ่งไม้เหนือราชสีห์นั้นแล้วพูดว่า " ท่านจอมแห่งไพร ขอแสดงความเคารพ เราเคยได้ช่วยเหลือท่านอย่างหนึ่ง แล้วท่านจะมีอะไรตอบแทนกันบ้างหนอ"

ราชสีห์ตอบว่า " เจ้านกหัวขวานเอ๋ย ในวันนั้น ขณะที่เจ้าอยู่ในปากของเรา เจ้าเอาชีวิตรอดออกมาได้ก็นับว่าเป็นบุญของเจ้าแล้วละ เจ้าจะเอาอะไรอีก "

นกหัวขวานได้ฟังเช่นนั้นแล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
     " ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำแล้ว ผู้ที่ไม่เคยทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ใคร
       ผู้ที่ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้แล้ว
       น่าตำหนิ ความกตัญญูไม่มีในผู้ใด การคบหาผู้นั้น ก็ไร้ประโยชน์ .
       แม้อุปการคุณที่กระทำต่อหน้า มิตรธรรมยังหาไม่ได้ในบุคคลใด
       บัณฑิตไม่ริษยา ไม่ด่าบุคคลนั้น พึงค่อย ๆ หลีกห่างออกจากบุคคลนั้นไปเสีย "

กล่าวจบก็บินหนีเข้าป่าไป


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
ผู้ไม่รู้บุญคุณที่เขาทำไว้แล้ว ไม่ควรคบสมาคมด้วย
* เรื่องที่ ๘ ในกาลิงควรรค หน้า ๔๒๖ - ๔๒๙ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
[ เปิดอ่าน ครั้ง ]
Share |

  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• ตักบาตรวันฉัตรมงคล (๔ พ.ค. ๒๕๖๗)
• สถานปฏิบัติธรรม วัดชลประทาน นนทบุรี (ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨
• (บุญด่วน!!ต้องการเจ้าภาพ..)กุลบุตร,ยากไร้ไม่มีเจ้าภาพ ๒ กองฯ...# ร่วมเป็นเจ้าภาพอุปสมบทบวชพระกัมมัฏฐาน ๒ รูป *ไม่ลาสิกขา*
• ร่วมทำบุญบูรณะซ่อมแซมพื้นรอบอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ณ วัดไทยลอสแอลเจลิส

  สนทนาธรรม
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย




หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย