Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย อินเดียยุคพุทธกาล
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India

<๘. กษัตริย์องค์สำคัญยุคพุทธกาล (The Great Buddhist Kings)


ในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ และ ๕ แคว้นเล็ก ยุคพุทธกาลนั้น มีพระราชาใน ๔ แคว้นเท่านั้นที่มีอานุภาพมากกว่าองค์อื่น ๆ ซึ่งต่อมาได้แผ่บารมีปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดยุคสมัยของพระองค์ทั้ง ๔ พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัดนั้นคือ พระเจ้าพิมพิสาร ,พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้าจันฑปัชโชต, พระเจ้าอุเทน โดยมีรายละเอียดดังนี้

face="Tahoma" size="4" color="#990000">ก. พระเจ้าพิมพิสาร (King Bimbisara)

พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำถวาย
เวฬุวนารามแด่พระพุทธองค์

พระเจ้าพิมพิสารในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า เป็นพระโอรสของพระเจ้ากษัตราชาส แห่งราชวงศ์ไศศุนาค (Sisunaga Dynasty) ได้ปกครองอาณาจักรมคธต่อจากปิดา เมื่อพระชนมายุ ๑๕ ปี โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองราชคฤห์ หลังจากขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์เลื่อมใสในเจ้าลัทธิหลายองค์ในสมัยนั้น แม้กระทั้งชฎิลสามพี่น้อ งคืออุรุเวละกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาที่สวนตาลหนุ่ม นอกเมืองราชคฤห์แล้ว พระองค์บรรลุพระโสดาบัน จึงกลายเป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็ง ประกอบกับแคว้นมคธเป็นรัฐมหาอำนาจในยุคนั้น จึงทำให้พุทธศาสนากระจายไปอย่างรวดเร็ว ในตำนานของศาสนาเชนกล่าวว่าพระองค์นับถือศาสนาเชน แต่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมหากษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนามักถวาย ความอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนาด้วยจนถูกทึกทักว่านับถือศาสนานั้นด้วย เช่น พระเจ้าอโศก ศาสนาเชนก็กล่าวว่าพระองค์เป็นเชนศาสนิก หรือพระเจ้าหรรษวรรษนะก็ถูกทึกทักว่า เป็นผู้นับถือฮินดูที่ยิ่งใหญ่ด้วย พระเจ้าพิมพิสาร มีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่ที่สำคัญคือ
     ๑. พระนางเวเทหิ พระธิดาพระเจ้ามหาโกศล เมืองสาวัตถี ต่อมาให้กำเนิดเจ้าชายอภัยราชกุมาร และชัยเสนกุมาร
     ๒. พระนางเขมา เป็นพระธิดาเจ้าครองนครสาคล แห่งมัทรัฐ มีสิริโฉมงดงามยิ่ง ต่อมาอุปสมบทเป็นภิกษุณี จนได้บรรลุพระอรหัต
     ๓. พระนางอมรปาลี เป็นธิดาเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี มีโอรส ๕ พระองค์ คือ ๑. เจ้าชายกุณิกะ ๒.เจ้าชายอชาตศัตรู ๓. เจ้าชายวิมาลา โกณฑัญญะ ๔.เจ้าชายเวหัลละ ๕.เจ้าชายสีลวัต และถ้านับเจ้าชายชัยเสนกุมารตามหนังสือภูมิประวัติพุทธศาสนาแล้วก็รวมเป็น ๖ พระองค์

พระองค์ปกครองมคธถึง ๕๒ ปี ก่อนจะถูกพระโอรสองค์โต คือเจ้าชายอชาตศัตรูยึดอำนาจและสิ้นพระชนม์ในคุก ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานเพียง ๘ ปีในยุคพุทธกาล แคว้นมคธเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุด

face="Tahoma" size="4" color="#990000">ข. พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasinadi or Prasenajit)

พระเจ้าปเสนทิโกศล ในปกร์ฝ่ายสันสกฤตเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าประเสนชิต เป็นพระราชาปกครองแคว้นโกศล โดยมีเมืองสาวัตถึ (Savatthi) หรือศราวัสตี (Sravasti) ในภาษาสันสกฤตเป็นราชธานี เป็นพระโอรสของพระเจ้ามหาโกศล ในวัยเด็กพระองค์ได้รับการศึกษาจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมืองตักกสิลา หลังการสำเร็จการศึกษาจากตักกสิลามาแล้ว พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ต่อจากพระบิดา ราชอาณาจักรมีความกว้างขวางรองจากอาณาจักรมคธ จากแม่น้ำคุมติ (Gumti) ถึงเมืองคันฑัก (Gandak) และจากชายแดนเนปาลในปัจจุบันถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ต่อมาพระองค์ก็ได้ผนวกแคว้นกาสี อันมีเมืองพาราณสีอยู่ในราชอาณาจักรอีกด้วย พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนมายุเท่ากับพระพุทธองค์ และในบรรดาพระมหากษัตริย์หลายเมืองพระองค์นับว่ามีความใกล้ชิดกับพระพุทธองค์มากที่สุด พระทุทธองค์ประทับอยู่เมืองสาวัตถีนานที่สุด พระองค์มีสรีระที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ แม้จะเสด็จไปไหนก็ไม่สะดวก ทรงอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเคยทำสงครามกับพระเจ้าอชาตศัตรู แคว้นมคธผู้เป็นหลาน ๔ ครั้ง แต่ก็ต้องแพ้ทั้ง ๔ ครั้งเช่นกัน สาเหตุเพราะแย่งอาณาเขตแคว้นกาสี แต่ครั้งที่ ๕ พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ เพราะจารบุรุษของพระองค์ได้แอบฟังเทคนิคการรบจากพระธนุคคหติสสะสนทนากับพระทันตเถระ ที่เชตวันมหาวิหาร ด้วยว่าพระธนุคคหติสสะก่อนบวช เป็นนายทหารที่ฉลาดหลักแหลมและออกรบอย่างอาจหาญมาตลอด พระเจ้าอชาตศัตรูจึงถูกจับขังคุกที่สาวัตถีหลายปี แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเห็นว่าเป็นหลานก็เลยปล่อยกลับไป พระองค์มีพระมเหสีหลายพระองค์ แต่ที่เด่น ๆ คือ ๑. พระนางมัลลิกา ๒. พระนางวาสภขัตติยา มีพระโอรส หลายพระองค์ คือ ๑.เจ้าชายพรหมทัต(Brahmadatta) ๒. เจ้าชายวิฑูฑภะ (Vidudabha) ต่อมาเจ้าชายพรหมทัตก็ได้ออกบวชจนบรรลุพระอรหันต์ ส่วนเจ้าชายวิฑูฑภะยึดอำนาจจากพระองค์แล้วครองราชย์สมบัติต่อมา ก่อนที่เจ้าชายวิฑูโภะจะสวรรคตที่ริมฝั่งแม่น้ำ หลังนำทัพเข้าโจมตี เมืองกบิลดุ์ได้ไม่นาน

face="Tahoma" size="4" color="#990000">ค. พระเจ้าจันฑปัชโชต (Candapajjota)

พระเจ้าจันฑปัชโชต หรือ ปรัทโยตะ (Pradyota) ในภาษาสันสกฤตเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อวันตี (Avaanti Dynasty) โดยมีเมืองหลวงชื่อเมืองอุชเชนี (Ujjeni) หรืออุชชายินี (Ujjayini) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้อยู่ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย พระองค์มีนิสัยดุร้ายจนมีคำว่า จัณฑะ (ดุร้าย) นำหน้าทรงเอาแต่ใจตัวเอง มีทรัพย์สมบัติที่มั่นคั่งเมืองหนึ่ง ในสมัยนั้นเป็นมิตรสหายของพระเจ้าปรันตปะแห่งเมืองโกสัมพี ครั้งหนึ่งพระองค์ประชวรอย่างหนัก หมอทั่วราชอาณาจักรเข้ารักษาก็ไม่มีมครรักษาสำเร็จ จนได้หมอชีวกโกมารภัจจ์จากรุงคฤห์มาช่วยรักษาอาการจึงหายเป็นปกติ พระองค์มีพระธิดาที่เลอโฉมนาว่าวาสุลทีตตา หรือ วาสวทัตตา (Vasavadatta)

face="Tahoma" size="4" color="#990000">ง. พระเจ้าอุเทน (Udena or Udayan)

พระเจ้าอุเทน(Udena) ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตเรียกว่า พระเจ้าอุทยัน (Udayan) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์วัตสะ (Vatsa Dunasty) ทรงปกครอง แคว้นวังสะ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโกสัมพี (Kosambi) หรือเกศัมพี (Kaushambi) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้เมืองอัลลาหบาดหรือประยาคในปัจจุบัน พระบิดานามว่าปรันตปะ

พระเจ้าอุเทนทรงช้างเลียบนครโกสัมพี

พระเจ้าอุเทนประสูติในป่าเพราะพระมรดาถูกนกหัสดีลิงค์โฉบไปสู่ป่า แต่ได้รับการช่วยเหลือจากดาบสอัลลกัปปะ พระนางประสูติพระโอรสตอนใกล้รุ่ง จึงตั้งนามว่า อุเทน โดยได้รับการดูแลจากดาบสผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง และพระมารดา เจ้าชายอุเทนได้ศึกษามนต์ฝึกช้างจนช่ำชอง และสามารถควบคุมช้างเป็นจำนวนมากได้ด้วยมนต์ที่ศึกษามาและยึดราชบัลลังก์นคร โกสัมพีจนสำเร็จ ด้วยการยกทัพช้างล้อมพระนคร

พระเจ้าอุเทนมีพระมเหสี ๓ พระองค์ คือ ๑.พระนางสามาวดี ๒.พระนางวาสุลทัตตา ๓. พระนางมาคันทิยา ต่อมาพระมเหสีทั้งสอง คือพระนางสามาวดีก็สิ้นพระชนม์จากการลอบวางเพลิงของพระนางมาคันทิยา ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้อิจฉาก็ถูกราชอาญา เพราะทำผิดร้ายแรงด้วยการถูกเผาทั้งเป็นเช่นกัน

ในตำนานฝ่ายเชนกล่าวว่าพระองค์มีพระโอรสพระองค์เดียวจากพระนางวาสวทัตตา คือเจ้าชายโพธิ (Prince Bodhi) ซึ่งต่อมาได้ปกครองราชบัลลังก์โกสัมพีแทนพระบิดา พระเจ้าอุเทนได้หันมานับถือพุทธศาสนาเพราะพระนางสามาวดีพุทธสาวิกาที่มั่นคงพระองค์มีความสนิทสนมกับพระปิณโฑลภารทวาชะมาก จนต่อมาโกสัมพีก็กลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ครั้งสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอารามใหญ่ ๆ ในเมืองนี้คือ ๑. โฆสิตาราม สร้างโดยโฆสิตเศรษฐี ๒. กุกกุฏาราม สร้างโดย กุกกุฏเศรษฐี และ ๓. ปาวาริการามโดยเศรษฐีปาวริกะ

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter02_5.php on line 461 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter02_5.php on line 461 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter02_5.php on line 461