๔.พุทธตันตระ
(Buddhatantra) |
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๕๐๐
พุทธศาสนาได้ผสมกับลัทธิตันตระของฮินดูซึ่งเป็นลัทธิของคนชั้นต่ำ
ในยุคนี้จึงได้ชื่อว่า พุทธตันตระเกิดสัทธรรมปฏิรูปกับศาสนาฮินดูทำให้พุทธศาสนาถึงแก่ความเสื่อมคำว่า
"พุทธศาสนาแบบตันตระ" นั้นโดยทั่วไปแล้ว
ได้ใช้เรียกกับพุทธศาสนาในอินเดียยุคหลังซึ่งได้แก่
มัีนตรยาน วัชรยาน หรือสหัสยาน พุทธศาสนาในยุคนี้ได้หลอมตัวเข้าหาลัทธิตันตระของฮินดูซึ่งหลักการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้
size="2" face="Tahoma"> ๑.ถือการท่องบ่นเวทมนตร์
และลงเลขยันต์ซึ่งได้แก่มนตราและธารณีการออกเสีงสวดมนต์
นั้นก็ได้บัญญัติคำสวดอันสึกลับขึ้นมาผู้ปฏิบัติมีภาษาที่มีความหมายเป็นสองแง่ในทำนองคำคม
ความหมายจริง ๆ ของคำเหล่านั้น เมื่อคนสามัญทั่วไปได้ยินเข้าถึงกับสะดุ้ง
แต่นักปฏิบัติได้แปลความหมายไปในแง่หนึ่งซึ่งเป็นที่รู้กัน
โดยเฉพาะและแตกต่างจากความเข้าใจของสามัญชนทั่วไปอย่างมากมาย
จึงทำให้มีความเข้าใจผิดกันเกิดขึ้นในหมู่นักปฏิบัติและสาวกของลัทธิลึกลับ
size="2" face="Tahoma"> ๒.ถือเหมือนชั้นต้นแต่เพื่อที่จะให้พิเศษออกไปเกิดมีการนับถือฌานิพุทธและพระโพธิสัตว์
ยิ่งยวดขึ้นไปมีความเชื่อในเทพเจ้าและเทพีเป็นจำนวนมาก
และเห็นว่าการโปรดปรานของเทพเจ้าและเทพีเหล่านั้นสามารถทำให้ผู้อ้อนวอนบรรลุความสำเร็จได้
จึงนิยมการสร้างรูปขึ้นมาให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรงกลางเทพีทั้งหลาย
ได้นำเอาลัทธิศักติของฮินดูมารวมนับถือและอ้อนวอนด้วยศักดิ
คือ การนับถือในชายาของพระเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งอันเป็นอำนาจของเทพเจ้าผู้สามี
เช่นพระนางอุมา เป็นศักติของพระศิวะ พะรนางลักษมี
เป็นศักติของพระวิษณุ เมื่อนับถือพระศิวะและพระวิษณุ
ก็ต้องนับถือหรือจงรักภักดีในพระนางอุมาและพระนางลักษมีด้วย
ส่วนศักติของพระฌานิพุทธและพระโพธิสัตว์ก็คือพระนางผู้เป็นคู่บารมีของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
ยิ่งกว่านั้นลัทธินี้ยังมีการสมมติให้พระนิพพาน
มีรูปร่างลักษณะขึ้นสำหรับบูชาสิ่งที่สมมติกันขึ้นนี้เรียกว่า
"นิราตมเทวี" ผู้ที่เข้าถึงพระนิพพานก็คือเข้าถึงองค์เทวีหรือรวมอยู่ในองค์เทวีลัทธินี้เรียกว่า
วัชรยาน ผู้ที่อยู่ในลัทธินี้เรียกว่า
วัชราจารย์
size="2" face="Tahoma"> ๓.มีการเพิ่มการเซ่นสรวงผีสางเข้าไปด้วยถือว่าการบูชาบวงสรวงและอ้อนวอนจะทำให้ได้รับความสุข
และยังได้ทำรูปของพระฌานิพุทธให้มีปางดุร้ายอย่างนางกาลี
ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระนางอุมาลัทธินี้เรียกว่ากาลจักร
พระศาสนาที่ผสมกับลัทธิตันตระของฮินดูได้นำเอาประเพณีพีธีกรรมอันลึกลับกลับน่ากลัวและลามกอนาจารมาปฏิบัติเช่นข้อปฏิบัติ
๕ ม. คือ ๑.มัทยะ ดื่มน้ำเมา ๒.มางสะ
รับประทานเนื้อ ๓.มัตสยา ทานปลา ๔.มุทรา
ยั่วให้กำหนัด ๕.ไมถุนะ เสพเมถุน ในหนังสือคุรุสมาสได้สอนให้มีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล
๕ สนับสนุนให้มีการฆ่า การลัก การเสพเมถุนธรรมและการดื่มของเมาผู้ที่จะเข้าทำพิธีตามลัทธิตันตระจะต้องปฏิบัติ
๕ ข้อนี้อย่างเคร่งครัดถือว่าเป็นการบูชาพระศักดิ
ในสถานที่บางแห่งเมื่อผู้หญิงจะไหว้พระจะต้องเปลื้องเครื่องแต่งตัวออกทั้งหมดแล้วแสดงการร่ายรำไปจนเสร็จพิธี
เมื่อเสร็จพิธีใหม่ ๆ จะมีการเล่นกันหลากหลาย
size="2" face="Tahoma"> นักปฏิบัติยอมรับว่าลัทธิ
๕ ข้อนี้ไม่ดีเป็นมายาและเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้คนไปสวรรค์นิพพานได้
คนโดยมากมักจะติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นจึงต้องหาความชำนาญในสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ไม่มากเข้าก็จะเกิดเบื่อไปเอง
เมื่อยังไม่รู้ไม่ชำนาญ และยังมิได้มีประสบการณ์มาด้วยตนเองอย่างช่ำชอง
แล้วก็เป็นการยากที่จะเกิดความเบื่อหน่ายได้
ต้องเล่นวิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง มีนักปฏิบัติบางท่านถือยิ่งขึ้นไปว่าผู้ที่ยังไม่ผ่านการเสพเมถุนธรรมจะไปนิพพานไม่ได้
เพราะจิตใจยังลังเลอยู่ต้องเสพเมถุนธรรมให้ถึงที่สุดจนเกิดความเบื่อหน่าย
เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพาน
อย่างไร ก็ตามลัทธิต้นตระนี้มีผู้ปฎิบัติแพร่หลายอยู่ทางอินเดียตะวันออก
คือ ในแคว้นเบงกอล อัสสัม โอริสสา และพิหาร
มหาวิทยาลัยวิกรมศิลาเป็นศูนย์ศึกษาลัทธินี้
และต่อมาลัทธินี้ยังได้แผ่เข้าไปสู่ประเทศธิเบตด้วย
size="2" face="Tahoma"> พุทธศาสนาในยุคนี้เกิดสัทธัมปฏิรูปอย่างหนัก
พระสงฆ์ทำตัวเหมือนหมอผีขมังเวทย์มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของชาวบ้านธรรมดาที่ไม่เห็นคุณค่าหลักธรรมที่แท้จริง
พระสงฆ์ไม่ได้เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่าสิทธะ
สิทธะที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ สิทธะมาตังคี
สิทธะอานนทวันทะวัชระสิทธะญาณปาทะเป็นต้น ต่อมาสิทธะได้แบ่งออกเป็น
๒ พวกใหญ่ คือ
size="2" face="Tahoma"> ๑.พวกทักษิณาจารี
แปลว่าผู้พระพฤติด้านขวา พวกนี้ยังประพฤติพระธรรมวินัย
ยังรักษาพรหมจรรย์ ยังรักษาสถานะความพระสงฆ์ได้มากพอสมควร
size="2" face="Tahoma"> ๒.พวกวามจารี
แปลว่าผู้ประพฤติด้านซ้าย พวกนี้ประพฤติเลอะเลือนไม่รักษาพรหมจรรย์มีภรรยามีครอบครัว
ทำตัวเป็นพ่อมดหมอผีมากขึ้นชอบอยู่ป่าช้า ใช้หัวกระโหลกผีเป็นบาตร
มีภาษาลึกลับใช้สื่อสารเรียกว่า สนธยาภาษา เกณฑ์ให้พระพุทธเจ้า
และพระโพธิสัตว์มีศักติคือภรรยาคู่บารมีพระพุทธปฏิมาก็มีปางอุ้มกอดศักติ
พวกเขาถือว่าการจะบรรลุพระนิพพานได้ต้องมีธาตุชายและหญิงมาผสมผสานกัน
ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา เพราะฉะนั้นอุบายต้องบวกปรัชญาจึงจะบรรลุพระนิพพานได้แต่ลัทธินี้ก็ประพฤติเฉพาะบางส่วนของอินเดียเท่านั้น
๕.พุทธศิลป์สมัยปาละ
(Pala Art) |
 |
พระพุทธองค์ดำ
ศิลปะสมัยปาละ |
size="2" face="Tahoma"> ราว
พ.ศ.๑๒๐๐ พุทธศิลป์สมัยปาละก็ได้เกิดขึ้น นับเป็นยุคสุดท้ายของพุทธศิลป์ในอินเดีย
ก่อนที่กองทัพมุสลิมเข้ายึดครองทั้งประเทศมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนของไทย
มีพระนาสิกงุ้มลง พระกรรณ (หู)ยาวลงกว่าสมัยคุปตะ
พระวรกายอวบอ้วน พระขโนงเป็นขอบคม ห่มจีวรเฉวียงบ่า
มีริ้วแข็ง ฐานพระพุทธรูปยุคนี้มีบัวคว่ำ และบัวหงาย
พุทธศิลป์ที่สวยงามที่สุดในยุคนี้คือหลวงพ่อองค์ดำที่มหาวิทยาลัยนาลันทา
ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่เหลือรอดจาการทำลายล้างของมุสลิม
แกะสลักด้วยหินสบู่สีดำ และหลวงพ่อพุทธเมตตา
พระพุทธรูปประจำในเจดีย์พุทธคยา รัฐพิหาร เป็นต้น
พระราชาที่สนับสนุนในการจัดสร้างพุทธศิลป์ในสมัยปาละมากที่สุด
คือ พระเจ้าเทวปาละ และพระเจ้าธรรมปาละแห่งราชวงศ์ปาละนั้นเอง
ในเมืองไทยกรมศิลปากรได้ คันพบพระพุทธรูปสมัยปาละที่หายากที่วัดราชบูรณะกรุงศรีอยุธยา
ราวพ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบันได้นำประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่ง
ชาติ กรุงเทพฯ
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๕๓๕
พระเจ้ามหิปาละที่ ๑ (Mahipala1th) ขึ้นครองบัลลังก์มคธในปีที่
๖ แห่งรัชกาลนี้ พระอาจารย์กัลยาณมิตร จินดามณี
(Kalyanamitra Chintamani) พระเถระชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยนาลันทาได้ทำการคัดลอกคัมภีร์อัศฏสาหัสริกาและปรัชญาปารมิตสูตร
เพื่อถวายแด่พระองค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
นอกจากน้นพระองค์ยังซ่อมแซมมหาวิทยาลัยนาลันทาที่ถูกไฟไหม้่เพราะความประมาทให้กลับมาสวยงามดั่งเดิม
พระองค์ครองราชย์ต่อมาจนถึง พ.ศ.๑๕๘๓
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๕๗๒
กองทัพมุสลิมนำโดย มาหมุด (Manmud) ได้ยึดครองภาคเหนือของอินเดีย
คันธาระ ตักกศิลา ปัญจาป สินธุ์ได้อย่างเด็ดขาด
ต่อมาตัวมาหมุดก็สิ้นชีวิต โมฮัมหมัด ฆาสนีก็สืบต่ออำนาจแทน
มณฑลที่มุสลิมยึดครองพุทธศาสนา ศาสนาเชน ศาสนฮินดูถูกทำลายอย่างหนัก
จนแทบไม่เหลือ พุทธศาสนิกชนที่รอดมาก็อพยพเข้าสู่แคว้นมคธ
ในยุคนั้นปกครองโดยราชวงศ์ปาละได้เอาธุระเอาใจใส่ผู้อพยพทั้งสามศาสนา
โดยเฉพาะพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นก็ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.
๑๖๓๕ พระเจ้ารามปาละ กษัตริย์ราชวงศ์ปาละ แคว้นมคธ
พระองค์เป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด ได้สร้างราชธานีใหม่ชื่อว่า
รามาวดี ซึ่งเป็นที่แม่น้ำคงคามาบรรจบกับแม่น้ำกะระตัว
ต่อมาก็ทรงสร้างมหาวิทยาลัยชคัททละ (Jagaddala
University) ขึ้นในเมืองนี้ ณ ที่นี่ได้ผลิตนักปราชญ์นักกวีหลายท่านออกมา
หนึ่งในนั้นคือท่านสนธยาการ นันทิ (Sandhyakara
Nandi) เป็นนักกวีที่มีชื่อเสียง และพระสงฆ์หลายรูปได้ไปเผยแพร่พุทธศาสนาในธิเบต
เช่นพระอตีศะหรือพระทีปังกร ศรีชญาณ เป็นต้น
พระองค์ปกครองมคธจนถึง พ.ศ.๑๖๗๓ รวมครองราชย์
๔๖ ปี
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๖๓๗
กษัตริย์ราชวงศ์เจาลุกยะทางอินเดียตะวันตก (แถวคุชราต)
ได้นับถือเชน บางพระองค์นับถือเชน จึงได้สนับสนุนฮินดูและเชนแทนพุทธศาสนา
เช่นพระเจ้าชัยสิงห์ (Jayasingha) ทรงนับถือฮินดูอย่างเคร่งครัด
และสนับสนุนศาสนาเชนมากเช่นกัน ต่อมาพระเจ้ากุมารปาละพระโอรสหันกลับไปนับถือศาสนาเชน
จนศาสนานี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาในรัฐนี้นักปราชญ์เชนที่สำคัญในสมัยนี้คือพระเหมจันทร์
(Hemachandra) และพระโสมประภา (Somaprabha)
สามารถโน้มน้าวให้พระกุมารปาละมานับถือศาสนาเชนได้
ส่วนพุทธศาสนา ก็อ่อนกำลังลงอย่างมาก ประกอบกับด้านตะวันตกของรัฐนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ได้ถูกมุสลิมยึดได้แล้ว
แต่ยังไม่สามารถยึดได้อย่างเด็ดขาด
๖.ราชวงค์เสนะ
(Sena Dynasty) |
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๖๙๒
หลังจากที่พระเจ้ายักษะปาละ (Yaksapala) แห่งราชวงศ์ปาละองค์สุดท้ายได้ครองราชย์สมบัติต่อจากพระบิดาคือพระเจ้ารามปาละ
พระเจ้ายักษะปาละเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด
พระองค์ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดี มหาวิทยาลัยวิกรมศิลายังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาแบบตันตระที่โด่งดังอยู่เหมือนเดิม
แต่พระองค์ก็ปกครองได้เพียง ๑๑ ปี เสนาบดีพราหมณ์
คนหนึ่งนามว่า ลาวเสน (Lavasena) ก็ยึดอำนาจแล้วปลงพะรชนม์เสีย
สถาปนาราชวงศ์เสนะแล้วตนเองขึ้นปกครองนามว่าพระเจ้าลาวเสน
เนื่องจากฮินดู กษัตริย์พระองค์ใหม่จึงเริ่มบั่นทอนพุทธศาสนาลงจนพุทธศาสนาในเบงกอล
และมคธที่เจริญอยู่ก็ซบเซาลง วิกรมศิลาที่มีนักศึกษาเรือนหมื่นเหลือไม่ถึงพันรูป
size="2" face="Tahoma"> หลังจากพระเจ้าลาวเสนะสิ้นพระชนม์แล้ว
พระโอรสคือเจ้าชายกาสเสนะ (Kasasena) ก็ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อมา
พระองค์ไม่ใช่ฮินดูที่เคร่งครัด แม้ไม่โปรดพุทธศาสนาแต่ก็ยังไม่ทำลาย
ในยุคนี้มีสิทธะฝ่ายถือพรหมจรรย์ ที่มีชื่อเสียงหลายรูปยังเป็นที่พึ่งให้พุทธบริษัทยามคับขันคือ
๑.ท่านสุภการคุปตะ (Subhakaragupta) ๒.ท่านรวิศรีชญาณ
(Ravisrijnanan) ๓.ท่านนายกปะศรี (Nayakapasri)
๔.ท่านทสพละศรี (Dasabalasri) ๕.ท่านธรรมการสันติ
(Dharmakarasanti) ๖.ท่านศรีวิกยาตเทวะ (Srivikyatadeva)
๗.ท่านนิสกาลังกาเทวะ (Niskalankadeva) ๘.ท่านธรรมการคุปตะ
(Dharmakargupta) ในยุคราชวงศ์เสนะครองเบงกอลและมคธนี้
พระเจ้าปรักกมหากษัตริย์แห่งลังกา ได้อาราธนาพระสงฆ์และคัมภีร์จำนวนมากจากอาณาจักรโจฬะเมื่อ
พ.ศ.๑๖๙๕ เพื่อไปปรับปรุงพุทธศาสนาที่ลังกา
วรรณกรรมหลาย ๆ เล่มได้ถูกถ่ายทอดไปสู่ภาษาลังกา
เช่น คัมภีร์มหาวงศ์ ตอนท้ายจุลวงศ์ทาฐวงศ์
รูปสิทธิ เป็นต้น วรรณกรรมเหล่านี้เป็นผลงานของพระเถระชาวอินเดียใต้ในอาณาจักรโจฬะนี้
size="2" face="Tahoma"> หลังจากพระเจ้ากาสะเสนะสวรรคตแล้ว
พระโอรสนามว่า มณิตาเสนะ (Manitasena) ก็ปกครองราชสมบัติต่อมา
ในยุคนี้พุทธศาสนาในจักวรรดิเสนะก็ยังสืบต่อไปได้
ครั้นพระเจ้ามณิตา เสนะสวรรคต แล้วพระโอรสนามว่า
ราฐิกาเสนะ (Rathikasena) ก็ปกครองต่อมาในยุคของพระองค์ได้มีนักบวชทางพุทธศาสนาหรือสิทธะมีชื่อเสียงหลายคนคือ
๑.ท่านศากยศรีภัทร (Sakyasribadra) แห่งแคชเมียร์
๒. ท่านพุทธศรี (Buddhasri) จากเนปาล ๓.ท่านรัตนรักษิตะ
(Ratnaraksita) ท่านชญาณการคุปตะ (Jnanakaragupta)
๕.ท่านพุทธศรีมิตร (Buddhasrimitra) ๖.ท่านสังฆามชญาณ
(Samghamajnana) ๗.ท่านรวิศรีภัทร (Ravisribadra)
๘.ท่านจันทรการคุปตะ (Candrakaragupta) เพื่อที่จะคุ้มครองมหาวิทยาลัยโอทันตบุรีและวิกรมศิลา
พระราชาได้รับสังให้สร้างป้อมปราการขึ้นและจัดเวรให้ทหารเฝ้าดูแลอย่างดี
ในระหว่างนี้จำนวนพุทธศาสนิกชนในแคว้นมคธลดน้อยลงแต่ศาสนิกชนอื่นเริ่มมีมากขึ้น
ส่วนพุทธศาสนาในภาคเหนือได้ถูกทำลายลงหมดแล้ว
พุทธบริษัทส่วนมากได้บังคับให้นับถือศาสนาอิสลามไปเกือบหมด
ผู้ที่ไม่ยอมรับจะถูกประหารหรือไม่ก็ต้องหลบหนีเข้ามาแคว้นมคธ
size="2" face="Tahoma"> พ.ศ.๑๗๓๔
กองทัพมุสลิมนำโดยโมหัมหมัด โฆรี (Muhammad
Ghori) ชาวเติร์กมุสลิม ได้ยกกองทัพโจมตีภาคเหนือของอินเดีย
และปะทะกับก่องทัพของพระเจ้าปฤฐวีราช เจาฮัน
(Prithaviraj Chauhan) ผลการรบโฆรีแพ้ราบคาบต้องหลบหนีไปอัฟกานิสถานอย่างบอบช้ำ
ในการรบครั้งนี้พระเจ้าปฤฐวีราชได้กษัตริย์หลายพระองค์ของอินเดียเป็นพันธมิตรเข้าช่วยเหลือ
เช่นพระเจ้าชายาจันทรา (พ่อตา) จึงได้รับชัยชนะ
แต่โฆรีก็สาบานว่าจะกลับมาอีกครั้ง การรบครั่งที่สองพระเจ้าปฤฐวีราชพ่ายแพ้
เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกษัตริย์พระองค์อื่น
โฆรีจึงยึดกรุงเอินทปัตถ์หรือเตลลีได้อย่างเด็ดขาดและเริ่มรุกลงมาทางใต้
size="2" face="Tahoma"> ต่อมาสุลต่าน
โมหัมหมัด กาซนี (Muhammad Ghazni) ก็เข้าทำลายอารามที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เมืองพาราณสี ในสมัยรุ่งเรืองอารามที่นี้มีพระสงฆ์มากถึง
๑,๕๐๐ รูป กเนาว์ พราณสีและที่สารนาถวัด วิหาร
พระสงฆ์ก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ความจริงสารนาถถูกทำลายมาหลายครั้ง
ครั้งแรกจากพวกหูระ แต่ต่อมาพระนางกุมารีเทวี
พระมเหสีของพระเจ้าโควินทจันทร์พระราชินีแห่งกเนาว์ก็มาซ่อมแซมจนกลับมาดีดั่งเดิม
ในขณะที่กองทัพมุสลิมกำลังรุกเข้ามา บรรดาสิทธะแห่งนิกายมนตรยานหรือพุทธตันตระทั้งหลายต่างช่วยกันเสกเป่าเวทย์มนต์
เพื่อให้กองทัพมุสลิมถอยกลับออกไป แทนที่จะตระเตรียมกองทัพให้เข้มแข็งเพื่อต่อต้าน
แต่กษัตริย์ราชวงศ์ปาละกลับเชื่อคำสิทธะทั้งหลาย
จึงไม่ได้เตรียมการเต็มที่ สุดท้ายก็ถูกยึดได้และโดนทำลายลงอย่างสิ้นเชิง
size="2" face="Tahoma"> ในหนังสือของท่านตรานถกล่าวว่า
ราชวงศ์เสนะสมัยพระเจ้าลวังเสนะหรือลักษมันเสนะต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของแม่ทัพตรุกี
มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้ และพระราชาแห่งราชวงศ์นี้ก็ยังดูแลพุทธศาสนาอยู่บ้าง
ในยุคนี้ยังมีสิทธะที่มีชื่อเสียงเช่น ท่านราหุลศรีภัทร
ท่านภูมิศรีภัทร อุปายศรีภัทำ กรุณาศรีภัทร
และท่านมุนินทรศรีภัทร ท่านภูมิศรีภัทรอุปายศรีภัทร
กรุณาศรีภัทร และท่านมุนินทรศรีภัทร เป็นต้น
ปกครองมคธอยู่จนถึงสมัยพระเจ้าประติตเสนะก็สูญสลาย
แต่เมื่อเวลาผ่านไปถึง ๑๐๐ ปี ได้มีกษัตริย์องค์ใหม่นามว่า
จิงคละราชา (Cingalaraja) กลายเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจมากขึ้น
ในเบื้องต้นพระองค์ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกษัตริย์ฮินดูและสุลต่าน
มุสลิมตรุกีในช่วงต้นพระองค์นับถือฮินดู แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นชาวพุทธ
จึงทำให้พระองค์หันเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาในที่สุดพระองค์ได้บูชาพระแท่นวัชรอาสน์ที่พุทธคยา
ซ่อมแซมวัดวาอารามหลายแห่งที่ถูกทำลายลงโดยกองทัพมุสลิม
ในยุคของพระองค์ยังมีนักปราชญ์ที่สำคัญอีกท่าน
คือท่านสารีบุตร (Sariputra) พระองค์มีพระชนมายุที่ยาวนาน
หลังจากพระองค์สวรรคแล้ว ได้มีกษัตริย์นามว่ามุกุนทเทวะ
(Mukundadeva) เข้าปกครองมัธยมประเทศทั้งหมด
พระองค์ได้สร้างวัดหลายแห่งขึ้นในรัีฐโอริสสาและมคธ
เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว อาณาจักรแถบนี้ก็ไร้ผู้ปกครองจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมุสลิมที่กรุงเดลลีอย่างสมบูรณ์
size="2" face="Tahoma"> จากหลักฐานเหล่านี้ทำให้เราทราบว่า
หลังจากกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองอินเดียภาคเหนือ
ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคกลางแล้ว พุทธศาสนาไม่ได้ดับวูบลงเสียทีเดียว
ยังมีผู้ปกครองท้องถิ่นพยายามค้ำชูพุทธศาสนาอยู่บ้าง
ดังเช่นพระเจ้าจังคลราชา พระเจ้ามุกุนทเทวะ
เป็นตัวอย่าง แต่ค่อย ๆ เสื่อมสูญไปทีละน้อย
แม้ว่าอินเดียเกือบทั้งหมดถูกยึดครองโดยอิสลามแล้ว
แต่ภาคใต้กองทัพมุสลิมยังรุกไปไม่ถึง พุทธศาสนาและฮินดูเชนก็ยังมีชีวิตรอดได้อยู่
ดั่งเช่นที่เมืองนาคปัฏฏินัม และกาญจีปุรัมพุทธศาสนายังมีลมหายใจจนถึง
พ.ศ. ๒๑๐๐
สรุปราชวงศ์ปาละ
(Pala Dynasty) (ปกครองมคธ,เบงกอล)
|
size="2" face="Tahoma"> ๑.พระเจ้าโคปาละ
(Gopala) ผู้สถาปนาวงศ์ปาละ พ.ศ.๑๒๐๓-๑๒๔๘ รวม
๔๕ ปี
๒.พระเจ้าเทวปาละ
(Devapala) ปกครอง พ.ศ.๑๒๔๘-๑๒๙๖ รวม ๔๘ ปี
๓.พระเจ้ารสปาละ
(Rasapala) ปกครอง พ.ศ.๑๒๙๖-๑๓๐๘ รวม ๑๒ ปี
๔.พระเจ้าธรรมปาละ
(Dharmapala) ปกครอง พ.ศ.๑๓๐๘-๑๓๗๒ รวม ๖๔ ปี
๕.พระเจ้ามสุรักษิต
(Masuraksita) ปกครอง พ.ศ.๑๓๗๒-๑๓๘๐ รวม ๘ ปี
๖.พระเจ้าวนปาละ
(Vanapala) ปกครอง พ.ศ.๑๓๘๐-๑๓๙๐ รวม ๑๐ ปี
๗.พระเจ้ามหิปาละ
(Mahipala) ปกครอง พ.ศ.๑๓๙๐-๑๔๔๒ รวม ๕๒ ปี
๘.พระเจ้ามหาปาละ
(Mahapala) ปกครอง พ.ศ.๑๔๔๒-๑๔๘๓ รวม ๔๑ ปี
๙.พระเจ้าสมุปาละ
(Samupala) ปกครอง พ.ศ.๑๔๘๓-๑๔๙๕ รวม ๑๒ ปี
๑๐.พระเจ้าเศรษฐปาละ
(Srestapala) ปกครอง พ.ศ.๑๔๙๕-๑๔๙๘ รวม ๓ ปี
๑๑.พระเจ้าคณกะ
(Canaka) ปกครอง พ.ศ.๑๔๙๘-๑๕๒๖ รวม ๒๘ ปี
๑๒.พระเจ้าภยะปาละ
(Bhayapala) ปกครองพ.ศ.๑๕๒๖-๑๕๕๘ รวม ๓๒ ปี
๑๓.พระเจ้าญายะปาละ
(Nyayapala) ปกครองพ.ศ. ๑๕๕๘-๑๕๙๓ รวม ๓๕ ปี
๑๔.พระเจ้าอัมระปาละ
(Amrapala) ปกครอง พ.ศ.๑๕๙๓-๑๖๐๖ รวม ๑๓ ปี
๑๕.พระเจ้าหัสดีปาละ
(Hastipala) ปกครอง พ.ศ.๑๖๐๖-๑๖๒๐ รวม ๑๔ ปี
๑๖.พระเจ้ากศานติปาละ
(Ksantipala) ปกครอง พ.ศ.๑๖๓๕-๑๖๘๑ รวม ๑๕ ปี
size="2" face="Tahoma">๑๗.พระรามปาละ
(Ramapala) ปกครอง พ.ศ.๑๖๓๕-๑๖๘๑ รวม ๔๖ ปี
๑๘.พระเจ้ายักษะปาละ
(Yaksapala) ปกครองพ.ศ. ๑๖๘๑-๑๖๙๒ รวม ๑๑ปี
(ราชวงศ์นี้ปกครองรวม
๔๘๙)
สรุปราชวงศ์เสนะ
(Sena Dynasty)
|
size="2" face="Tahoma"> ๑.พระเจ้าลาวเสนะ
(Lavasena) มีอำนาจปกครองตนเอง
๒.พระเจ้ากาสเสนะ
(Kasasena) มีอำนาจปกครองตนเอง
๓.พระเจ้ามณิตเสนะ
(Manitasena) มีอำนาจปกครองตนเอง
๔.พระเจ้าราถิกเสนะ
(Rathikasena) มีอำนาจปกครองตนเอง
๕.พระเจ้าลวังเสนะ
(Lavamsena) มีอำนาจปกครองตนเอง
๖.พระเจ้าพุทธเสนะ
(Buddhasena) ปกครองภายใต้ตุรกี
๗.พระเจ้าหริตเสนะ
(Haritasena) ปกครองภายใต้ตุรกี
๘.พระเจ้าประติตเสนะ
ZPratotasena) ปกครองภายใต้ตุรกี
size="2" face="Tahoma"> (ราชงศ์นี้ปกครองรวม
๘๐ ปี)
size="2" face="Tahoma">
size="2" face="Tahoma"> ๑.สมัยคันธาระ
ศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นคันธาระ ราวพ.ศ. ๖๐๐-๑๐๐๐
๒.สมัยมถุรา
ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมถุรา แคว้นสุรเสนะ พ.ศ.
๖๐๐-๙๐๐
๓.สมัยทวารวตี
ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอมราวดี รัฐอันธรประเทศ
พ.ศ. ๗๐๐-๑๐๐๐
๔.สมัยคุปตะ
ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ พ.ศ.
๘๐๐-๑๒๐๐
๕.สมัยโจฬะ
ศูนย์กลางอยู่ที่ตัญชาวุร์แคว้นโจฬะภาคใต้ พ.ศ.
๑๐๐๐-๒๐๐๐
๖.สมัยปาละ
ศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นมคธและเบงกอล พ.ศ. ๑๒๐๗-๑๗๐๐
|