Warning: file(../../ad468-2.txt): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/randomad468-2.php on line 4
 
 
พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย พุทธศาสนายุค พ.ศ.๑๑๐๐ - ๑๓๐๐
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย
The History of Buddhism in India


พุทธศาสนา ยุค พ.ศ. ๑๑๐๐-๑๓๐๐
   (Buddhism in B.E.1100-1300)


     ในยุคนี้อินเดียได้มีผุ้ปกครองที่เข้มแข็งสามารุรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลังจากที่ราชวงศ์คุปะตะอ่อนแอลง พระองค์คือพระเจ้าหรรษาวรรธนะ แห่งกันยากุพชะ (ลัคเนาว์ปัจจุบัน)สถานการณ์พุทธศาสนาในช่วงนี้ มีหลายสิ่งเกิดขึ้นคือ

 ๑. สร้างถ้ำเอลโลร่า (Ellora Cave)

พระพุทธรูปแกะสลักที่ถ้ำเอลโลร่า

     พ.ศ.๑๑๐๐ ในยุคนี้คณะสงฆ์โดยการสนับสนุนของกษัตริย์ ในอินเดียตะวันตกได้สร้างผลงานที่สำคัญและใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด นั่นคือการเจาะภูเขาสร้างวัดทางพุทธศาสนาขึ้นที่เอลโลร่า (Ellora Cave) ห่างจาก เมืองออรังคบาด รัฐมหราษฎร์อินเดียตะวันตกราว ๓๐ กิโลเมตร เอลโลร่าสร้างทีหลังถ้ำที่อชันตาถึง ๘๐๐ ปี เป็นถ้ำที่สวยงาม แต่เมื่อสร้างได้ราว ๑๒ ถ้ำก็หยุดก่อสร้างต่อมาศาสนาฮินดูและเชนก็มาสร้างร่วมด้วย โดยเป็นของฮินดู ๑๗ ถ้ำ ของเชน ๕ ถ้ำ รวม ๓๔ ถ้ำ และที่พิศดารที่สุดคือถ้ำฮินดู นายช่างได้ออกแบบเจาะภูเขาลงมาจากด้านบน เป็นรูปวัดฮินดูที่สวยงามหยดย้อย ในขณะที่ศาสนาพุทธและเชนใช้วิธีแกะสลักเข้าไปในภูเขา ถ้ำเอลโลร่าเป็นถ้ำของพุทธศาสนานิกายมหายานล้วน สร้างจนถึง พ.ศ.๑๔๐๐ ก็หยุดไป

     พ.ศ.๑๑๕๐ กษัตริย์ศศางกะ (Sashanka) ครองราชย์อยู่ในแคว้นเคาฑะ ในเขตเบงกอลปัจจุบัน เป็นกษัตริย์ฮินดู หัวรุนแรง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนานามว่า ราชวรรธนะ และสังหารพระภิกษุแถวเมืองกุสินาราหมดไป ทำให้คณะสงฆ์แถวนี้ขาดสูญ จากนั้นยังได้โค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๒ ที่พุทธคยา (ต้นแรกได้ตายไป เพราะพระมเหสีของพระเจ้าอโศกเอายาพิษและน้ำร้อนลวก) แล้วขุดรากขึ้นมาเผา จากนั้นได้นำเอาพระพุทธรูปออกจากวิหารพุทธคยา แล้วเอาศิวลิงค์เข้าไปไว้แทน ปัจจุบันแม้จะได้มีการร้องเรียนให้เอาออกแล้ว แต่ฐานของศิวลึงค์ยังปรากฏอยู่ ศศางกะได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างมาก แม้เหรียญตราของกษัตริย์นี้ยังเขียนว่า "ผู้ปราบพุทธศาสนา"

      เมื่ออำนาจของศศางกะหมดไปแล้วในขณะที่ราชวงศ์ใหม่ของอินเดียก็เริ่มแผ่อำนาจกว้างขวาง มากยิ่งขึ้นโดยมีราชธานี อยู่ที่เมืองธเนศวร (Danesvar) ราชวงศ์นี้คือ ราชวงศ์วรธนะ (Vardana Kynasty) สถาปนาโดยพระเจ้านรวรรธนะ (Naravardana) โดยที่พระเจ้านรวรรธนะเป็นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู พุทธศาสนาในยุคนี้จึงค่อนข้างซบเซาแต่ก็ไม่ถึงกับเสื่อมถอย ครั้นเมื่อพระเจ้านรวรรธนะสวรรคตแล้ว พระโอรสนามว่าราชยวรรธนะ (Rafyavardana) ก็ปกครองต่อมา พระองค์ก็ยังนับถือศาสนาฮินดู นิกายไศวะ ต่อจากพระเจ้าราชยวรรธนะแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมาที่ปกครองธเนศวรคือ พระเจ้าอาทิตยวรรธนะ (Adityavardana) ต่อมาเมื่อพระองค์สวรรคต แล้วพระโอรสคือพระเจ้าประภากรวรรธนะ ก็ทรงครองราชย์ต่อมา ราชวงค์นี้ทั้ง ๔ พระองค์ล้วนนับถือศาสนาฮินดู แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียนพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่ได้รับพระบรมราชูปถัภ์เท่านั้น แต่พสกนิกรส่วนมากยังนับถือพุทธศาสนา พระเจ้าประภากรวรรธนะมีพระโอรส ๑ พระองค์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคหลังของอินเดีย เป็นกษัตริย์ที่มีบุญญานุภาพแผ่ไพศาลทั่วชมพูทวีป และพระองค์มีบทบาทสำคัญที่ฟื้นฟูพุทธศาสนาที่ถูกทำลายไปหลายสมัยให้กลับมารุ่งเรืองดังเดิม พระองค์คือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ (Harsa Vardhana) หรือ พระเจ้าสีลาทิตย์ (Siladitya)

 

 ๒. พระเจ้าหรรษวรรธนะ (Harsavardhana)

     พระเจ้าหรรษวรรธนะหรือพระเจ้าศรีลาทิตย์ ประสูติราว พ.ศ. ๑๑๔๐ เป็นพระโอรสของพระเจ้าประภากรวรรธนะแห่งเมืองธเนศวร เมืองหลวงของพระองค์คือเมืองกันยากุพชะ (Kanyakubja) หรือกาโนช (ปัจจุบันอยู่ใกล้เมืองลัคเนาว์ Lucknow เมืองหลวงรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน) ต่อมาพระเชษฐาคือ พระเจ้าราชยวรรธนะถูกกษัตริย์ศศางกะจากเบงกอลลอบปลงพระชนม์เมื่อเจริญ วัยได้ถูกเชิญขึ้นครองราชย์ มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า

size="1" face="MS Sans Serif" color="#990000">พระเจ้าหรรษวรรธณะ บริจาคทานที่เมืองประจาค

ในคราวที่ทรงพระเยาว์นั้นพระองค์ทรงลำบากมาก เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระมารดาก็กระโดดเข้ากองไฟตายตามพระสวามี พระเชษฐา ชื่อว่า ราชยวรรธนะ (Rashya Vardhana) ก็ถูกพระเจ้าศศางกะปลงพระชนม์พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เมื่ออายุยังน้อยคืออายุ ๑๕ พรรษา เมื่อครองราชย์แล้ว จึงกำจัดศศางกะเป็นภัยต่อพุทธศาสนาเสีย ได้ถวายการอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้ทำมหาทานที่เมืองประยาค (Prayak) หรืออัลลาหบาด (Allahabad) ในสมัยปัจจุบัน โดยนิมนต์พระสงฆ์ในพุทธศาสนาและเชนตลอดทั้งฮินดูมาถวายทานตลอด ๗ วัน โดยทำ ๕ ปีต่อครั้ง พระองค์ดำเนินรอยตามพระจริยาวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยการประกาศห้ามกินเนื้อห้ามฆ่าสัตว์ สร้างศาลาโรงธรรม โรงพยาบาลทั้งคนและสัตว์และครองราชย์โดยทศพิธราชธรรมทำให้มีความผาสุขทั่วหน้า นอกจากเป็นนักปกครองที่มีความสามารถ แล้วพระองค์ยังเป็นนักกวีและนักวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ผลงานการประพันธ์ของของพระองค์ที่ตกทอดมาจนถึงปจจุบันที่เด่น ๆ ๓ เรื่องคือ รตนาวลี (Ratnavali) ปริยทรรศิกา (Priyadarsika) นาคานันทะ (Nagananda) เป็นต้น พระองค์ครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี จึงสวรรคต ในยุคของพระองค์ได้มีพระสงฆ์จีนที่มีชื่อเสียมากที่สุด ในบรรดาพระสงฆ์จีนที่ไปแสวงบุญที่อินเดีย ท่านคือพระถังซัมจั๋ง ซึ่งมีประวัติย่อ ๆ คือ

ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ
[ จำนวนคนอ่าน 4306 คน ]
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
ธรรมะไทย - dhammathai.org Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter07_1.php on line 431 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter07_1.php on line 431 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddhism/india/chapter07_1.php on line 431