พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๕๑.ปางชี้มาร
   พระพุทธรูปปางชี้มาร วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพักตร์ ชี้นิ้วไปข้างหน้า

ความเป็นมาของปางชี้มาร
   พระโคถิกเถระ ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์ผล เป็นพระอรหันต์ มารคิดว่าวิญญาณของท่านเพิ่งออกจากร่าง จึงแฝงกายเข้าไปในก้อนเมฆ เที่ยวตามหาวิญญาณของท่าน แต่ไม่พบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกพระหัตถ์ชี้มารให้ภิกษุทั้งหลายดูและตรัสบอกภิกษุว่า "มารผู้มีใจบาปกำลังแสวงหาวิญญาณพระโคธิกะอยู่ แต่ไม่มีวิญญาณของพระเถระในที่นั้น ด้วยเธอได้นิพพานไปแล้ว" เมื่อมารค้นหาวิญญาณของพระโคธิกเถระไม่พบ จึงแปลงเพศเป็นมาณพน้อยเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ มารทูลถามว่า พระโคธิกะอยู่ที่ใด เมื่อพระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระโคธิกะนิพพานแล้ว มารตกตะลึงด้วยคาดไม่ถึง อันตรธานหายวับไปทันที พระพุทธองค์ตรัสว่า "ผู้มีศีลบริสุทธิ์ อยู่ด้วยความไม่ประมาทย่อมถึงวิมุตติ เพราะฌานหยั่งรู้ชอบแล้ว มารจะไม่ประสบพบทางชองท่านได้เลย"


๕๒.ปางปฐมบัญญัติ
   พระพุทธรูปปางปฐมบัญญัติ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองข้างตะแคงยื่นออกไปข้างหน้า

ความเป็นมาของปางปฐมบัญญัติ
   ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นครเวสาลี สุทินกลันทบุตร ได้ฟังพระธรรมเทศนา บังเกิดความเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท แต่บิดามารดาอยากให้สึกมาดูแลสมบัติของตระกูล พระสุทินยังยินดีในพรหมจรรย์ บิดาจึงขอทายาทเพราะหากไม่มีผู้สืบสกุล ทรัพย์สินจะถูกยึดตามธรรมเนียม พระสุทินจึงได้ร่วมประเวณีกับภรรยาเก่าตามคำขอร้องและได้บุตรชายคนหนึ่ง ต่อมาท่านรู้สึกไม่สบายใจจึงเล่าให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ความทราบถึงพระพุทธองค์ ทรงติเตียนพระสุทิน ที่ทำกรรมที่ไม่สมควรอย่างยิ่งแก่สมณะ จึงบัญญัติสิกขาบทว่า "ภิกษุเสพเมถุนต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที" นับเป็นปฐมบัญญัติ คือ ข้อแรกในพระวินัยของพระภิกษุ การประพฤติของพระสุทินสมัยนั้นถือว่ายังไม่ขาดจากความเป็นภิกษุ พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาผิด เพราะยังมิได้มีสิกขาบทห้ามไว้ แต่ถ้าภิกษุใดทำเช่นนี้อีก ถือว่าปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุทันที


๕๓.ปางขับพระวักกลิ
 
    พระพุทธรูปปางขับพระวักกลิ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาตะแคงอยู่บริเวณพระนาภี ( สะดือ ) บางแบบพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) แสดงกิริยาทรงโบกพระหัตถ์ขับไล่ให้ออกไป

ความเป็นมาของปางขับพระวักกลิ
    กุลบุตรจากตระกูลพราหมณ์นามวักกลิ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดเลื่อมใสในพุทธจริยวัตรและพึงพอใจในพระสรีระของพระองค์ จึงออกบวชเพราะต้องการจะชมพระบารมีของพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามพระพุทธองค์ไปทุกแห่ง เมื่อบวชก็ไม่ได้ใส่ใจปฏิบัติและศึกษาพระธรรมวินัย พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทว่า "ดูก่อนพระวักกลิ เธอมัวติดตามดูร่างกายอันต้องเปลือยเน่านี้ด้วยเหตุอันใด ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจึงเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม" แต่พระวักกลิยังคงปฏิบัติเช่นเดิม ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ทรงขับไล่พระวักกลิ ทำให้พระวักกลิน้อยใจจนคิดฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้พระรูปของพระองค์ไปปรากฎอยู่เฉพาะหน้าของพระวักกลิ และตรัสเทศนาธรรมโปรด พระวักกลิปลื้มปีติอย่างยิ่ง และพิจารณาธรรมไปตามลำดับจนได้บรรลุอรหันผล พระวักกลิได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเลิศในด้านศรัทธาวิมุตติ คือเป็นผู้พ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา


๕๔.ปางสนเข็ม
    พระพุทธรูปปางสนเข็ม วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรุปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระอิริยาบถจับเข็ม พระหัตถ์ขวาจับเส้นด้าย เป็นกิริยาสนเข็ม

ความเป็นมาของปางสนเข็ม
    ครั้งหนึ่งพระจีวรของพระอนุรุทธเถระเก่ามาก ท่านจึงแสวงหาผ้าบังสุกุลเพื่อมาทำจีวร พระเถระพบผ้า ๓ ผืนที่กองหยากเยื่อจึงเก็บมา ในสมัยโบราณการทำจีวรต้องตัดเย็บและย้อมเอง พระสงฆ์ทั้งหลายจึงมาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียงแบ่งหน้าที่กันทำตามความเหมาะสม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยร้อยด้ายเข้าในบ่วงเข็ม ( สนเข็ม ) เมื่อพระรูปใดด้ายหมดก็ส่งเข็มถวาย พระพุทธองค์ก็ทรงสนเข็มประทาน จนการเย็บจีวรสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี


๕๕.ปางประทานพร ( นั่ง )
   พระพุทธรูปปางประทานพร ( นั่ง ) วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ( ตัก ) แบฝ่าพระหัตถ์ขวายื่นออกไปวางที่พระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางประทานพร ( นั่ง )
   เมื่อครั้งพระอานนท์ถูกสงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก ท่านได้ขอพร ๘ ประการ จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร ๔ ข้อแรก ได้แก่ ไม่ประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน ไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้มาแก่ท่าน ไม่ประทานให้ท่านอยู่คันธกุฏิเดียวกับพระพุทธองค์ และไม่ทรงพาท่านไปในที่นิมนต์ ส่วน ๔ ข้อหลังได้แก่ ขอให้พระพุทธองค์ไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้ ถ้าท่านนำพุทธบริษัทมาจากแดนไกลขอให้ได้เข้าเฝ้าทันที ถ้าท่านมีความสงสัยขอให้ถามท่านได้ทันที และข้อสุดท้ายคือ ถ้าพระพุทธองค์ทรงไปแสดงพระธรรมที่ไหน ถ้าท่านไม่ได้ฟัง ขอให้แสดงแก่ท่านอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันคำครหาว่าท่านอุปัฏฐากแล้วไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากพระพุทธองค์เลยพระพุทธองค์ได้ประทานพรทั้ง ๘ ประการ แก่พระอานนท์

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
ปางที่ ๔๖-๕๐ปางที่ ๕๖-๖๐
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย