พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก ปางพระพุทธรูป
พระพุทธศาสนาในไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
สมเด็จพระสังฆราช
นิกายคณะสงฆ์ไทย
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระประจำวัน
พระประจำเดือน
พระประจำปี
พระพุทธรูปสำคัญ
ปางพระพุทธรูป

๓๑.ปางชี้อัครสาวก
   พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ( ตัก ) พระหัตถ์ขวาชี้ไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงประกาศอัครสาวกให้ปรากฏในที่ประชุมสงฆ์

ความเป็นมาของปางชี้อัครสาวก
   อุปติสสะและโกลิตะเป็นสหายรักกัน วันหนึ่งอุปติสสะ ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ และได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จึงไปแสดงธรรมแก่โกลิตะจนได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน ทั้งสองจึงพาบริวารไปยังพระเวฬุวันมหาวิหาร เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นอุปติสสะและโกลิตะนำบริวารเดินมา พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายว่า ทั้งสองคือคู่แห่งอัครสาวกผู้เป็นธรรมเสนาบดี พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทให้ทั้งสองด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออุปสมบทแล้วนิยมเรียกพระอุปติสสะว่า "พระสารีบุตร" พระโกลิตะว่า "พระโมคคัลลานะ" ตามชื่อมารดาของท่าน ต่อมาพระสารีบุตรได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย


๓๒.ปางประทานโอวาทหรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
   พระพุทธรูปปางประทานโอวาทหรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ ( อก ) เป็นกิริยาทรงประทานโอวาทปาติโมกข์

ความเป็นมาของปางประทานโอวาทหรือปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
   ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ ๙ เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมที่ครบองค์ ๔ ได้แก่
( ๑ ) วันนั้นเป็นวันดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ( วันเพ็ญเดือน ๓ )
( ๒ ) พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
( ๓ ) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
( ๔ ) พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ คือ เป็นผู้ที่พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
ในวันนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ใจความสำคัญแห่งพระโอวาทนั้น ได้แก่ ละเว้นความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส วันเพ็ญเดือน ๓ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า "วันมาฆบูชา"


๓๓.ปางประทับเรือ
 
    พระพุทธรูปปางประทับเรือ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) บนพระแท่น พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำ บนพระชานุ ( เข่า ) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายคว่ำที่พระชานุ พระหัตถ์ขาวจับชายจีวร พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว

ความเป็นมาของปางประทับเรือ
    ครั้งหนึ่งได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ณ นครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่
( ๑ ) ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย
( ๒ ) อมนุษยภัย คือ เหล่าภูติผีปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง
( ๓ ) อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น

ในเวลานั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาจำพรรษาณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลอาราธนาไปช่วยดับทุกข์ เมื่อเรือพระที่นั่งของพระพุทธองค์มาถึงท่าเรือนครเวสาลี เจ้าชายมหาลิจึงเชิญเสด็จพระพุทธองค์ขึ้นจากเรือ และถวายการต้อนรับอย่างมโหฬาร


๓๔.ปางห้ามพยาธิ
    พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงแนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ( อก ) แบฝ่าพระหัตถ์ตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม

ความเป็นมาของปางห้ามพยาธิ
    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย่างพระบาทสู่พื้นดินนครเวสาลี ทรงรำลึกถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่อดีตชาติ ทันใดนั้น มหาเมฆเริ่มตั้งเค้า สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฝนกระหน่ำลงมา บังเกิดสายน้ำพัดพาซากศพมนุษย์และสิ่งปฏิกูลทั้งหลายออกสู่ทะเล เมื่อฝนหยุด พื้นแผ่นดินก็สะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูลอากาศที่ร้อนก็พลันเย็นลง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์สวดพระปริตรรัตนสูตร และปะพรมน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรี บรรดาภูติผีปีศาจตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหนีไปจนหมดสิ้น มหาชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างเกิดศรัทธา พากันประกาศตนเป็นพุทธมามกะ


๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
   พระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้องเสมอพระอุระ ( อก ) พระหัตถ์ขวาห้อยลงแนบพระวรกาย บางแบบพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงตามปกติ บางแบบพักพระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
   เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระประยูรญาติครั้งแรก พระญาติผู้ใหญ่ไม่ทำความเคารพ เพื่อให้พระญาติเหล่านั้นลดทิฐิมานะลง พระพุทธองค์จึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์โดยเหาะขึ้นไปบนอากาศ ประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นสู่เศียรเกล้าของเหล่าพระประยูรญาติ พระเจ้าสุทโธทนะ จึงประณมพระหัตถ์แล้วกราบทูลว่า “เมื่อพระองค์ประสูติวันแรก หม่อมฉันให้พี่เลี้ยงพามานมัสการกาฬเทวิลดาบส พระองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ขึ้นไปสถิตบนชฎาของดาบส หม่อมฉันได้ถวายนมัสการเป็นครั้งแรก ครั้นถึงงานพระราชพิธีวัปปมงคลแรกนาขวัญ พระองค์ประทับ ณ ใต้ต้นหว้า เงาร่มไม้หว้านั้นมิได้เลื่อนขยับไปตามแนวดวงตะวันแม้เป็นเวลาบ่าย หม่อมฉันได้ถวายนมัสการเป็นครั้งที่สอง และครั้งนี้เป็นคำรบสามที่หม่อมฉันถวายนมัสการ ” เหล่าพระประยูรญาติจึงได้คลายทิฐิมานะ ถวายนมัสการพระพุทธองค์ ด้วยบุญญาภินิหาร พลันเกิดมหาเมฆขึ้นในอากาศ ยังผลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา น้ำฝนโบกขรพรรษนี้มีสีแดง ถ้าผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกายจึงเปียก หากไม่ปรารถนาให้เปียกก็ไม่เปียก เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ฝนโบกขรพรรษนี้ก็เคยตกมาแล้ว พระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดกแก่พระประยูรญาติด้วย

หน้าหลัก - พระพุทธรูปปางต่างๆ
 ปางที่ ๒๖-๓๐ ปางที่ ๓๖-๔๐
ข้อมูล/ภาพ : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน โดย ระพีพรรณ ใจภักดี

หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย