หน้าแรก ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[ Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news28_1.php on line 188 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news28_1.php on line 188 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news28_1.php on line 188 ]

"ดร.สุเมธ"ชี้ทางแก้คอร์รัปชั่น ยึดหลักธรรมมะ"ในหลวง"


     นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บรรยายพิเศษเรื่อง "บทบาทพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น" ว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของสังคมไทยในปัจจุบัน รากเหง้าของการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ฝังลึกลงไปสู่สังคมทุกภูมิภาค เพิ่มปัญหาทั้งปัญหาการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ พระภิกษุในฐานะผู้เผยแพร่หลักธรรมทางพุทธศาสนา ควรจะต้องหาแนวทางการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตให้ลดน้อยลงหรือบรรเทาเบาบางลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยต่อปัญหาการคอร์รัปชั่นเป็นอย่างยิ่ง โดยทรงเห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะนำอันตรายมาสู่ประเทศไทย ทรงเรียกร้องให้ยุติการทุจริต โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมในการเผยแพร่อบรมศีลธรรมแก่บุคคลต่างๆ ปราการสำคัญในการต้านการทุจริต คือจริยธรรมและคุณธรรมประจำใจ เป็นเรื่องของอุปนิสัย เรื่องของการอบรม ซึ่งเป็นผลผลิตของกระบวนการระยะยาว ไม่เพียงแต่จะอบรมศีลธรรมแก่เด็กเพียงอย่างเดียว ผู้ใหญ่ในสังคมต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย

นายสุเมธกล่าวต่อว่า การอบรมสั่งสอนโดยใช้หลักพุทธศาสนา ต้องเผยแพร่ต่อชาวไทยทุกคน ทุกสาขาอาชีพให้ปฏิบัติตาม โดยใช้สื่อต่างๆ องค์กร สมาคมที่เผยแพร่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สื่อบุคคล ได้แก่ พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับถือของคนทั่วไป สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และที่สำคัญ คือ การเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ให้ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและธรรมะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการทุจริตด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย คือการเสริมสร้างกลไกโครงสร้างในระดับป้องกันให้มาก กฎหมายเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการกำกับดูแลป้องกัน

"การเสริมสร้างกลไกใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัจจัยเก่าที่สนับสนุนให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง ให้การกระทำทุจริตทำได้ยากขึ้น เสี่ยงมากขึ้น เสี่ยงในทางกฎหมายและเสี่ยงในชื่อเสียงฐานะของตนเองในสังคม ที่เรียกว่า Social Sanction แต่ในสังคมไทยไม่มีกระบวนเหล่านี้ คนที่ยิ่งร่ำรวย ยิ่งมีหน้าตา ทั้งๆ ที่เรารู้ แต่ก็ไม่มีใบเสร็จว่าความรวยของคนๆ นั้นมีที่มาอย่างไร เป็นมาอย่างไร อัตราเสี่ยงแทบไม่มี เราต้องมีกลไก มีมาตรการที่จะทำให้ความเสี่ยงมีมากขึ้น" เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนากล่าว


ที่มา : ข่าวสด (วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
[ จำนวนคนอ่าน 777 คน ]

ความคิดเห็นจาก : สวัสดิ์ พรมน้อย [11 มี.ค. 2548 เวลา 16:25 น.]
เห็นด้วยกับท่านเป็นอย่างยิ่ง และอยากให้พระสงฆ์ตามวัดปฏิบัติกิจให้เหมาะสมด้วย

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้
ชื่อ :
ความคิดเห็น :


ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม อื่นๆ
หัวข้อข่าวทั้งหมด
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
 
© ๒๕๔๑ - ๒๕๔๘ ธรรมะไทย - dhammathai.org