หน้าแรก ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[ Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news11_2.php on line 188 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news11_2.php on line 188 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news02/news11_2.php on line 188 ]

"พระพยอม" ให้คาถาเด็ดวาเลนไทน์ อย่ารักแบบจิ้มดูด-ต้องรักแบบแช่อิ่ม

พระพยอม กัลยาโณ

     วันวาเลนไทน์ หรือ วันแห่งความรัก ได้กลายเป็นวันที่มีความหมายที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนหลายๆ คน รวมทั้งวัยรุ่นไทย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ววันวาเลนไทน์มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับเรื่องราว วิถีชีวิตหรือประวัติศาสตร์ของคนไทยน้อยมาก

     อย่างไรก็ตาม จากกระแสสังคมที่นำพาให้เด็กและเยาวชนก้าวไปสู่สังคม “เซ็กซ์เสรี” มากเป็นลำดับ ได้ทำให้วาเลนไทน์ถือเป็นอีกวันหนึ่งซึ่งเกิดอุบัติการณ์ของ “การเสียตัว” มากกว่าวันปกติ ถึงขนาดมีการพูดกันว่า เป็นวันเสียตัวแห่งชาติเลยทีเดียว

     เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทางสถาบันเอ็นคอนเซ็ปท์ของ “ครูพี่แนน” อริสรา ธนาปกิจ ได้พาเยาวชนไปเรียนรู้เรื่องความรักแบบลงลึกกลางโบสถ์ธรรมชาติ วัดสวนแก้ว โดยนิมนต์ พระราชธรรมนิเทศ หรือ ท่านเจ้าคุณพระพยอม กัลยาโณ มาตอบคำถามเกี่ยวกับความรักทุกรูปแบบ ซึ่งในวันนั้นพระพยอมก็ได้คาถาเอาไว้เตือนใจเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างน่าสนใจทีเดียว

     ท่านเจ้าคุณได้เทศน์สอนเยาวชนว่า ถ้าคนเราใจอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น คิดจะชอบใครก็จะยับยั้งชั่งใจ มีความตั้งมั่นยั่งยืนได้มากกว่าใจที่ไม่ได้ฝึกเลย ถ้าใจวอกแวกพลิกไปพลิกมาอย่างกับลิง มันก็รักกันอย่างกับลิง แป๊บๆ ถ้าเราฝึกใจให้มั่นคง เวลาความรักมันเกิดก็เกิดอย่างมั่นคง แล้วก็เกิดอย่างฉลาด ฉลาดว่ารักอย่างไรให้มั่นคง รักแล้วมีสัจจะต่อกัน...

     ถ้าเราเป็นนักเรียนนักศึกษา ควรให้สัจจะต่อกันว่า ถ้าเราเรียนไม่จบ เราจะไม่แต่งงาน ไม่อยู่ร่วมกัน เอาความรักเป็น motivation ผลักดันให้เกิดตั้งมั่น เอาความรักมาเป็นสมาธิ เอามาเป็นตัวขับเคลื่อนให้อยากเรียน ให้ก้าวหน้า ให้สำเร็จ เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างสมบูรณ์ด้วยปัญญาทั้งคู่

     “ความรักของคนสมัยก่อนนั้นยืดยาว ยั่งยืน กว่าปัจจุบันที่รักแบบแป๊บเดียว รักง่ายหน่ายเร็ว รัก 2 วัน 3 วันทิ้ง เขาเรียกรักแบบจิ้มดูด โบราณเค้ารักแบบแช่อิ่ม เพราะเขาต้องการให้เกิดครอบครัวประเสริฐ เขาอยู่กันยันตาย ฉะนั้น ความรักต้องมีสติปัญญา อย่าปล่อยให้ใจวูบง่ายๆ”

     เจ้าคุณพระพยอมเทศน์ต่อด้วยว่า อย่าให้วันวาเลนไทน์เป็นวันทำลายพรหมจรรย์ เป็นวันทำลายอนาคต อยากให้เป็นวันที่ลูกทุกคนหวนกลับไปรักพ่อแม่ รักจารีตประเพณี รักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เขาโดนอะไรที่ตรอมตรม ขนขื่น หยิบยื่นความช่วยเหลือให้ดีกว่า ไม่ต้องไปคอยให้ใครมาให้ความสุขกับเรา เราควรเป็นผู้ให้เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เพราะฉะนั้นทำให้โลกนี้มีความรักด้วยการให้ อย่าเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะเวลานี้ขอให้รักตัวเอง อย่าให้ตัวเองสุขภาพเสื่อมเพราะกิน เล่น เที่ยวจัด

     ขอให้รักตัวเอง รีบเรียนรู้ให้ฉลาด รักตัวเอง คุมความประพฤติตัวเอง รักตัวเอง ไหว้ตัวเอง ดีกว่าจะไปไหว้ขอความรักจากใคร ทำตัวเราให้ดี ประพฤติตัวให้ดี ไปไหนคนเขาก็ให้ศีลให้พร ไม่ใช่ให้คนตำหนิติเตียน ประพฤติตัวให้เขาสาปแช่ง

     “ถ้าพ่ออยู่ แม่อยู่ เชื่อฟังท่าน อย่าทำตัวเหมือนคนไม่มีพ่อแม่ไว้ตักเตือนสั่งสอน คนที่มาทีหลังไปเชื่อเขาหมด แม่พูดร้อยคำไม่เท่ากับแฟนพูดคำเดียว เชื่อเขาหมด หัวปักหัวปำ แล้วก็มาโกรธเกลียด ฆ่ากันแบบหัวฟัดหัวเหวี่ยงอีก”

     ฟังท่านเจ้าคุณพระพยอมแล้ว วัยรุ่นวัยทีนทั้งหลายก็คงจะได้แง่คิดและกลับไปคิด ก่อนที่วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.48 จะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้


ที่มา : ผู้จัดการ (วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
[ จำนวนคนอ่าน 814 คน ]

ความคิดเห็นจาก : เจตวัฒน์ [17 ก.พ. 2548 เวลา 12:27 น.]
ดีครับ

ความคิดเห็นจาก : แป้ง [17 ก.พ. 2548 เวลา 11:34 น.]
เป็นคำแนะนำที่ทันสมัยสำหรับวัยรุ่นวุ่นด่วนควรนำไปปฏิบัติ

ความคิดเห็นจาก : กระต่ายทอง [14 ก.พ. 2548 เวลา 05:56 น.]
สาธุ.. วัฒนธรรมไทย เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด กาเม...

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้
ชื่อ :
ความคิดเห็น :


ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม อื่นๆ
หัวข้อข่าวทั้งหมด
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
 
© ๒๕๔๑ - ๒๕๔๘ ธรรมะไทย - dhammathai.org