หน้าแรก ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม
[ Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news01/news21_1.php on line 185 Warning: include(../../useronline.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news01/news21_1.php on line 185 Warning: include(): Failed opening '../../useronline.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/news2005/news01/news21_1.php on line 185 ]

วัดเทวราชกุญชรบูรณะใหญ่ "พระราชสุธี"ทุ่มเทเต็มกำลัง

วัดเทวราชกุญชร

วัดเทวราชกุญชร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกกันว่า "วัดสมอแครง" เล่ากันว่าที่เรียกชื่อนี้เพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก แต่บางท่านสันนิษฐานว่า คำว่า "สมอ" เพี้ยนมาจาก คำว่า "ถมอ" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "หิน" วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า "ถมอแครง" แปลว่า "หินแกร่งหรือหินแข็ง"

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า "วัดเทวราชกุญชร" โดยนำพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทเวศรมาตั้ง เพราะท่านทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้

การบูรณปฏิสังขรณ์เริ่มสมัยตั้งกรุงเทพฯ โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมัยต่อมากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ต้นสกุลมนตรีกุล พระโอรสของสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณะ

ถัดจากนั้นกรมพระพิทักษ์เทเวศร ต้นสกุลกุญชร ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ทรงอุปถัมภ์บำรุง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วพระโอรสของพระองค์พระนามว่าพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงฤทธิ์ ได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงต่อมา

ปัจจุบันวัดเทวราชกุญชร ได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้ง ด้วยดำริของ "พระราชสุธี" หลังจากได้รับบัญชาให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสก็เร่งพัฒนาวัดแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นแหล่งธรรมที่สมบูรณ์แบบ จากเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างของเดิมที่หนาแน่น และส่วนใหญ่ได้ชำรุดผุพังตามกาลเวลา ท่านได้พัฒนาทีละเล็กทีละน้อย ด้วยปัจจัยที่ได้รับความสนับสนุนจากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา

เห็นเป็นรูปธรรมตั้งเด่นเป็นสง่า อาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ ซึ่งได้งบประมาณไปทั้งสิ้น 17,400,000 บาท และขณะนี้ได้ทำการบูรณะพระวิหาร 1 หลัง ศาลารายรอบพระอุโบสถ 2 หลัง เจดีย์ 4 มุม ซุ้มประตู 4 ซุ้ม และกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถตามแบบฉบับของกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์

"พระราชสุธี" ได้ประสานงานไปยังกรมศิลปากรให้ทำแบบประกอบการบูรณะพระวิหาร ศาลาราย เจดีย์ ซุ้มประตู และกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ โดยมี นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ เป็นประธานตรวจการจ้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการ มีนายธนชัย สุวรรณวัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตย์และหัตถศิลป์ และนายนพรัตย์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนสถาน เป็นกรรมการ

การบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ ตามโครงการบูรณะพระอารามเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ซึ่งมี ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานอำนวยการ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน เป็นรองประธานอำนวยการ พระราชสุธี เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นประธานดำเนินการ และจะแล้วเสร็จตามสัญญาว่าจ้างภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2548


เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญ เช่น พระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา 9 องค์ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง โดยมี อาจารย์ประดิษฐ์ ยุวพุกะเวส ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบเขียนด้านนอก ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับกระจกหลากสีสวยงาม ส่วนศาลารายรอบพระอุโบสถก็เช่นเดียวกัน ภายในเป็นห้องโถงใช้เป็นสถานที่ไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติธรรมและแสดงธรรม ทั้งหมดเมื่อแล้วเสร็จ จะเป็นสถานที่สำหรับพักพิงทางใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ท่านที่ประสงค์จะร่วมทำบุญรับเป็นเจ้าภาพร่วมบุญตามกำลังศรัทธา ติดต่อได้ที่วัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร.0-2281-2430 กรณีบริจาคผ่านบัญชีธนาคารในนามวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร (กองทุนบูรณะพระอุโบสถ) ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงศึกษาธิการ เลขที่บัญชี 059-1-34179-4

ที่มา : ข่าวสด (วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๘)
[ จำนวนคนอ่าน 1667 คน ]

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้
ชื่อ :
ความคิดเห็น :


ข่าวธรรมะและวัฒนธรรม อื่นๆ
หัวข้อข่าวทั้งหมด
หน้าแรก พระพุทธศาสนา ประวัติพระพุทธสาวก หัวข้อธรรม ธรรมปฏิบัติ ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทศชาติชาดก วิทยุธรรมะไทย
พุทธศาสนสุภาษิต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ทำเนียบวัดไทย คลังแสงแห่งธรรม พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ข่าวธรรมะ กิจกรรมธรรมะ สมุดเยี่ยม
 
© ๒๕๔๑ - ๒๕๔๘ ดูแลพื้นที่และออกแบบโดย
โทรศัพท์ ๐๒-๖๔๑-๕๑๐๕-๖, โทรสาร ๐๒-๖๔๕-๐๓๔๕, เมลติดต่อ: dhamma @ dhammathai.org