ความจำเป็นอันสำคัญที่สุดในเบื้องต้นของการศึกษาธรรมะ
เราต้องพิจารณาความหมายของธรรมะให้ละเอียดลออตามความจริงเสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือปฏิบัติ
มิฉะนั้นจะกลายเป็นทำตาม ๆ กันไปผิดก็ไม่รู้ ถูกก็ไม่รู้ ถ้าการกระทำนั้นเผอิญถูกก็ดีไป
ถ้าเผอิญผิด ก็จะกลายเป็นผลร้ายยิ่งขึ้นเสียเวลาและเสียแรงเปล่า ดังลัทธิเถรส่องบาตร
ที่เราท่านได้เคยฟังจากผู้หลักผู้ใหญ่พูดให้ฟังมาแล้ว
เรื่องมีอยู่ว่า
นานมาแล้วมีพระเถระรูปหนึ่งเป็นสมภารวัดปกครองพระเณรมากเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
ตามปกติพระคุณเจ้ารูปนี้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร จะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบ
บาตรที่ท่านอุ้มออกบิณฑบาตเป็นวัตร จะเป็นประจำทุกวันเกิดร้าวขึ้น
ท่านมีความประสงค์จะเปลี่ยนบาตรใหม่ แต่ก็ยังเปลี่ยนไม่ได้เพราะบาตรในสมัยนั้นแพงมาก
ซื้อเปลี่ยนเอาเองไม่ได้เพราะไม่มีวัตถุแลกเปลี่ยน ญาติและปวารณาก็ไม่มีครั้นจะขอบาตรใหม่จากคฤหัสถ์ก็ยังขอไม่ได้
เพราะในพราะ วินัยสิกขาบทที่สองแห่งปัตตวรรคมีบัญญัติไว้ว่า
ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่พึงสิบนิ้ว ขอบาตรใหม่จากคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณาได้มา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ดังนั้น
หลังบิณฑบาตรและฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านยกบาตรขึ้น ส่องดูรอยร้าวทุกวัน
เพื่อจะได้รู้ว่ามันร้าวไปกี่นิ้วแล้วครบสิบนิ้วหรือยัง จะได้ขอบาตรเขาใหม่
พระลูกวัดไม่ทราบเหตุผลต้นปลาย
พากันคิดเอาเองเป็นว่าพระฉันเสร็จแล้วต้องส่องบาตร เลยพากันส่องบาตรทั้งวัด
วัดอื่นไม่รู้เหนือรู้ใต้ เห็นวันหนึ่งส่องบาตรวัดของเราก็ต้องส่องบาตรบ้าง
เลยส่องกันใหญ่ลัทธิผู้น้อยเอาอย่าง ผู้ใหญ่หรือลูกปูเดินเหมือนแม่ปูนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา
หรือเป็นกฎธรรมดาทีเดียว
คติอันเป็นสาระที่ได้จากเรื่องนี้
คือ การกระทำอะไร โดยไม่สอบถามให้รู้จริงหรือกระทำไปโดยเข้าใจผิด
ย่อมเสียเวลาและเสียแรงเปล่า ไม่บังเกิดผลดีอะไรขึ้นมาเลย เหมือนพระส่องบาตรตามกันไปในเรื่องนี้

|