การแสดงความเคารพแบ่งได้เป็นหัวข้อดังนี้
- การแสดงความเคารพมีหลาย
ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้
การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ
การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ
แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่
จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด
หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก
ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง
นี้คือ
-
- 1.
การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน
ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น
แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง
ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน
การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์
ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา
และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น
ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
-
-
- 2.
ไหว้ (วันทนา
) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม
มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้
การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3
แบบ ตามระดับของบุคคล ดังนี้
-
-
- ระดับที่ 1
การไหว้พระ ได้แก่ การ
ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย
สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่
สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย
นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
- ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น
ไหว้
- หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย
ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด
พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
- ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส
ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ
อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง
คิ้ว
- ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ
การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
- หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ
โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ
ขึ้นไหว้
- ระดับที่ 3
การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส
รวมทั้งผู้ที่เสมอกัน โดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย
นิ้วจรดปลายจมูก
- ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง
น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ
พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
- หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง
น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ
โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย
พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
- ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย
และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน
หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น
หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
- การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้
ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม
- 3.
การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย
วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้นหรือจรดมือ
ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น
เช่น กราบลงบนตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ
ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า
หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ
คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
และการกราบผู้ใหญ่
- 3.1 การกราบแบญจางคประดิษฐ์
ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ
พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง
5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2
และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี
3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
- ท่าเตรียมกราบ
- ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง
นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง
สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
- หญิง นั่งคุกเข่าปลาย
เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน
หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
- จังหวะ
ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก
ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
- จังหวะที่
2 (วันทนา) ยกมือขึ้น
พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า
ผาก
- จังหวะที่
3 (อภิวาท) ทอดมือลง
กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน
มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด
พื้นระหว่างมือได้
- ชาย ให้กางศอกทั้งสอง
ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น
หลังไม่ โก่ง
- หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก
น้อย
- ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง
แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก
แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ
เร็วเกินไป
- 3.2 การกราบผู้ใหญ่
ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส
รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่
พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา
เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย
และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง
พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน
ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า
ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม
ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
- 4.
การคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ
ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น
การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย
และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก
- 5.
การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์
- 5.1 การถวายบังคม
เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์
ในงานพระราชพิธีสำคัญ
- ก่อนที่จะถวาย
บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ
นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย
และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง
ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย
หญิงนั่งเข่าชิด
- การถวายบังคมแบ่งออกเป็น
3 จังหวะ ดัง นี้
- จังหวะที่ 1
ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
- จังหวะ ที่ 2
ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว
แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
- จังหวะที่ 3
ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่
ในจังหวะที่ 1
- ทำให้ครบ 3
ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่
1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
- การถวายบังคม
ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย
จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน
ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
- 5.2 การหมอบกราบ
ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง
มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า
โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้
ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง
เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ
ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่
ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง
หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
- 3. การถวายความเคารพแบบสากล
ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
- ชาย ใช้วิธี
การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
- หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า
( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ
คือ
- แบบสากลนิยม ยืนตรง
หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก
น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง
ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง
ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
-
-
- แบบพระราชนิยม
ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน
วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด
พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า
ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า
ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง
เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
- 6.
การแสดงความเคารพโดยทั่วไป
- 6.1 การแสดงความเคารพศพ
จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ
ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก
หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ
ที่ประสงค์จะบูชา
- การเคารพศพพระ
ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด
3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์
3 ครั้ง
- การเคารพศพคฤหัสถ์
ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี
ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก
กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี
อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ
ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว
ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ
หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
- ในกรณีที่ศพได้
รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป
เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ
ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ
แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม
แล้วจึงเคารพ ศพ
- ส่วนผู้ไปในงาน
กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ
หรือคำนับ
- 6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ
อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น
ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้
ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ
หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
- ในโอกาสพิเศษ
หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด
หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้
พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก
ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา
- ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ
โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้
- 6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน
ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป
บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น
และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน
ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น
ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก
น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา
ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว
ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง
ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ
บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว
ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่
ในและนอกเครื่องแบบ
- เมื่อจบพิธีแล้วประธาน
ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง
หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม
แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี
แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง
เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม
หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย
เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย
- 6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ
ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น
ๆ
- 7.
การรับความเคารพ เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ
ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม
ควรแก่กรณี
|