Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g74.php on line 7 Warning: include(google_analytics.php): failed to open stream: No such file or directory in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g74.php on line 7 Warning: include(): Failed opening 'google_analytics.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/lib/php') in /home/dhammathai/domains/dhammathai.org/public_html/buddha/g74.php on line 7
พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี

"รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี"

          ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนอยู่หนาแน่นมีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลีมีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่าป่ามหาวันมีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

          ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทพวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

          เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

          เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

          เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

          พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

          ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

          ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

          บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

          พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

          เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

          ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

          พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา


<
>

  สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป
• บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ✨บุญใหญ่ปิดทองพระประธาน✨
• ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสมทบทุนถมดินถวายวัด ณ วัดท่าทองน้อย หลวงพ่อโต (ซำปอกง) ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
• ตักบาตรวันฉัตรมงคล (๔ พ.ค. ๒๕๖๗)
• สถานปฏิบัติธรรม วัดชลประทาน นนทบุรี (ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์)
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨
• ร่วมทำบุญบูรณะซ่อมแซมพื้นรอบอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ณ วัดไทยลอสแอลเจลิส
• “ตักบาตรในสวน” วันจักรี (๖ เม.ย. ๒๕๖๗)

  กระทู้ธรรมะไทย
• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัครนักศึกษา บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา ประชาชนทั่วไป0.
• นาฏมวยไทย ประเพณีไทย
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย
• ประเพณีไทยตักบาตรดอกไม้
• ด่วน เจ้าภาพปิดยอด เหลือ 3 กองบุญ


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย